เอกสารจดหมายเหตุ

ทั้งหมด : 34,847 ระเบียน

View |

301. รหัส : AG-1-1/2-20

พิธีเลี้ยงผีมด จ.แพร่

| วันที่ 12-15 มีนาคม 2529 – พิธีเลี้ยงผีปู่ย่าของกลุ่มตระกูลเชื้อสายเจ้าเมืองแพร่ เมื่อใช้ไข่ไปลูบตามตัวคนที่มีเคราะห์แล้วจะตอกไข่ดูเพื่อทำนายสาเหตุของเคราะห์ จากนั้นนำไข่ใส่ในหม้อ พรมด้วยน้ำมนต์น้ำสมป่อย แล้วนำไปฝังในดิน เป็นการดึงเคาะห์หรือโรคออกไป ในหม้อมีกล้วย ใบพลู เมี่ยง | สไลด์

302. รหัส : AG-1-1/2-21

พิธีเลี้ยงผีมด จ.แพร่

| วันที่ 12-15 มีนาคม 2529 – พิธีเลี้ยงผีปู่ย่าของกลุ่มตระกูลเชื้อสายเจ้าเมืองแพร่ ถาดใส่เครื่องเซ่นสำหรับทำพิธีปัดเป่าเคราะห์ ภายในถาดประกอบด้วยหมากพลู ดอกไม้ ธูป ไข่ กล้วย เมี่ยง น้ำส้มป่อย | สไลด์

303. รหัส : AG-1-1/2-22

พิธีเลี้ยงผีมด จ.แพร่

| วันที่ 12-15 มีนาคม 2529 – พิธีเลี้ยงผีปู่ย่าของกลุ่มตระกูลเชื้อสายเจ้าเมืองแพร่ ชายในภาพกำลังถือตะแหลว (สัญลักษณ์ทางพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการขับไล่สิ่งชั่วร้าย) ด้านหลังเป็นหอผีปู่ย่า ใต้หอผีจะมีบ่อเพื่อไว้ฝังหม้อใส่ไข่ที่ทำพิธีปัดเป่าเคราะห์แล้ว จากนั้นเอาตะแหลววางทับ | สไลด์

304. รหัส : AG-1-1/2-23

พิธีเลี้ยงผีมด จ.แพร่

| วันที่ 12-15 มีนาคม 2529 – พิธีเลี้ยงผีปู่ย่าของกลุ่มตระกูลเชื้อสายเจ้าเมืองแพร่ หอผีปู่ย่า ใต้หอผีจะมีบ่อเพื่อใช้ฝังหม้อใส่ไข่ที่ทำพิธีปัดเป่าเคราะห์แล้ว จากนั้นเอาตะแหลววางทับ | สไลด์

305. รหัส : AG-1-1/2-24

พิธีเลี้ยงผีมด จ.แพร่

| วันที่ 12-15 มีนาคม 2529 – พิธีเลี้ยงผีปู่ย่าของกลุ่มตระกูลเชื้อสายเจ้าเมืองแพร่ กลองที่ใช้ประกอบในพิธี | สไลด์

306. รหัส : AG-1-1/2-25

พิธีเลี้ยงผีมด จ.แพร่

| วันที่ 12-15 มีนาคม 2529 – พิธีเลี้ยงผีปู่ย่าของกลุ่มตระกูลเชื้อสายเจ้าเมืองแพร่ บริเวณผามประกอบพิธี (ปะรำพิธี) ตั้งอยู่บริเวณหน้าหอผีปู่ย่า ลูกหลานผู้ชายจะช่วยกันสร้างขึ้นตอนช่วงเช้ามืดของวันพิธีก่อนอาหารเช้าและจะรื้อออกทันทีหลังเสร็จพิธี หลังคาผามของพิธีเลี้ยงผีมดจะมุงหญ้าคาแบนราบคลุมพื้นที่สี่เหลี่ยม ปัจจุบันใช้ผ้าใบแทน ด้านข้างเปิดโล่ง มีต้นมะขามตั้งอยู่ตรงกลางผาม ประดับด้วยหุ่นรูปสัตว์ต่างๆ แสดงสัญลักษณ์ว่าเป็นป่า ที่ใต้ต้นมะขามจะมีอาวุธที่ใช้ล่าสัตว์วางไว้ ด้านใต้ของผามจะมีเสาปะกำที่เคบใช้เป็นที่ฆ่าควายเพื่อเซ่นสังเวย ถัดออกไปจะมีโต๊ะยาวไว้วางเครื่องเซ่น ด้านตะวันออกเป็นที่ตั้งของวงช่างม่วนหรือวงดนตรี ด้านเหนือเป็นที่นั่งของคนทรง | สไลด์

307. รหัส : AG-1-1/2-26

พิธีเลี้ยงผีมด จ.แพร่

| วันที่ 12-15 มีนาคม 2529 – พิธีเลี้ยงผีปู่ย่าของกลุ่มตระกูลเชื้อสายเจ้าเมืองแพร่ วงช่างม่วนหรือวงดนตรีจะบรรเลงดนตรีเพื่อฟ้อนผีบริเวณปะรำพิธี ลักษณะของดนตรีจะมีจังหวะที่เร้าใจ เรียกว่า “เพลงฟ้อนผี” | สไลด์

308. รหัส : AG-1-1/2-27

พิธีเลี้ยงผีมด จ.แพร่

| วันที่ 12-15 มีนาคม 2529 – พิธีเลี้ยงผีปู่ย่าของกลุ่มตระกูลเชื้อสายเจ้าเมืองแพร่ ลูกหลานจะมาขอให้ผีปู่ย่ารดน้ำมนต์ เนื่องจากเจ็บไข้ได้ป่วย และล้างสิ่งที่ไม่ดีออกไป | สไลด์

309. รหัส : AG-1-1/2-28

พิธีเลี้ยงผีมด จ.แพร่

| วันที่ 12-15 มีนาคม 2529 – พิธีเลี้ยงผีปู่ย่าของกลุ่มตระกูลเชื้อสายเจ้าเมืองแพร่ คนทรงลงมาจากเรือนเก๊า (บ้านต้นตระกูล) | สไลด์

310. รหัส : AG-1-1/2-29

พิธีเลี้ยงผีมด จ.แพร่

| วันที่ 12-15 มีนาคม 2529 – พิธีเลี้ยงผีปู่ย่าของกลุ่มตระกูลเชื้อสายเจ้าเมืองแพร่ ร่างทรงที่ร่วมพิธี | สไลด์