ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา เกิดเมื่อ5 กันยายน พ.ศ. 2484 จบการศึกษาปริญญาตรีและโทรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นได้รับทุนไปศึกษาต่อที่ The Fletcher School of Law and Diplomacy ที่มหาวิทยาลัยทัฟท์ สหรัฐอเมริกา ได้รับปริญญาโท (M.A.) เมื่อ พ.ศ. 2508 ตามด้วยปริญญาโทสาขากฎหมายและการทูต (M.L.A.D.) พ.ศ. 2509 และด้วยความสนใจด้านเศรษฐศาสตร์ ศ.ดร.ฉัตรทิพย์จึงสมัครเรียนที่มหาวิทยาลัยนอร์ทอีสเทิร์นในบอสตันขนานกันไปด้วยและได้รับปริญญา (M.A Econ.) ในปี พ.ศ. 2510 การ มุ่งศึกษาระดับปริญญาโทหลายสาขาในเวลาใกล้ๆ กันก็เพื่อมุ่งหาความรู้มาเป็นพื้นฐานในการศึกษาเรื่องที่ท่านสนใจเป็นอย่าง มากเกี่ยวกับความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันระหว่างเศรษฐศาตร์และการเมือง จากการค้นคว้าศึกษาที่ลงลึกและกว้างขวางทำให้ ศ.ดร.ฉัตรทิพย์ประสบความสำเร็จที่เห็นได้จากหัวเรื่องวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกเรื่อง "Foreign Trade, Foreign Finance and the Economic Development Of Thailand, 1956-1965" ของมหาวิทยาลัยทัฟท์เมื่อ พ.ศ. 2511
ศ.ดร.ฉัตรทิพย์เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจำในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งแต่ พ.ศ. 2505และเมื่อมีการก่อตั้งคณะเศรษฐศาสตร์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2513 อาจารย์ ฉัตรทิพย์ได้ย้ายมาประจำที่คณะนี้และร่วมบุกเบิกช่วยวางรากฐานสร้าง ความแข็งแกร่งแก่วงการวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ของประเทศไทยและในนานาประเทศ อย่างแข็งขันจนเกษียณอายุราชการเมื่อ พ.ศ. 2544 รวมเวลาราชการได้เกือบ 40 ปี
ท่านเป็นผู้ร่วมริเริ่มแนวคิดเศรษฐศาสตร์การเมือง เป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติสาขาเศรษฐศาสตร์ เมธีวิจัยอาวุโส สกว. นัก วิจัยดีเด่นของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และผู้แต่งตำราและบทความด้านเศรษฐศาสตร์ทั้งทั่วไปและเศรษฐศาสตร์การเมือง แพร่หลายในจำนวนมาก ผลงานที่สำคัญ ได้แก่ เศรษฐกิจหมู่บ้านไทยในอดี,2528วัฒนธรรมไทยกับขบวนการเปลี่ยนแปลงสังคม,2537 ลัทธิเศรษฐกิจการเมือ, 2539ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมชุมชนและชนชาติไท, 2540บ้านกับเมือง แนวคิดเศรษฐกิจชุมชน : ข้อเสนอทางทฤษฎีในบริบทต่างสังคม, 2548 ฯลฯ
อ้างอิงข้อมูลจาก - http://th.wikipedia.org/wiki/ฉัตรทิพย์_นาถสุภา
เอกสารบันทึกภาคสนามของ ศ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา จำนวน 144 ระเบียน เป็นแถบบันทึกเสียงคำสัมภาษณ์ชาวบ้านในชนบทและในเมืองท้องถิ่น จาก 4 ภาคของประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522-2526 จำแนกเป็น ภาคกลาง 41 ระเบียน ภาคเหนือ 20 ระเบียน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 48 ระเบียน และภาคใต้ 35 ระเบียน การเก็บข้อมูลใช้วิธีการที่เรียกว่า ประวัติศาสตร์บอกเล่า ในเรื่องเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐาน ความเป็นอยู่ อาชีพ ความเชื่อ เป็นต้น แถบบันทึกเสียงชุดนี้ ศ.ฉัตรทิพย์ ได้นำมาประกอบการเขียนหนังสือเรื่อง เศรษฐกิจหมู่บ้านไทยในอดีต