3231. รหัส : MM-1-21-289

Joe O’Neil

| ต้นเดือน มี.ค. Joe O’Neil ซึ่งดำรงตำแหน่งคณะกรรมมาธิการตำรวจประจำ จ.เชียงใหม่ต้องคอยต้อนรับแขกคนสำคัญที่มาเยี่ยมเยือนเพื่อให้คนพวกนี้ออกเสียงสนับสนุนเขาเพราะเขากำลังพยายามผลักดันให้ซ่องนางโลมมาอยู่ภายใต้การดูแลของตำรวจ (?) | บัตรบันทึกแบบเจาะ

3232. รหัส : MM-1-21-290

ผู้กองสุภัทร

| 4 เม.ย. 1969 บดินทร์และผู้กองสุภัทรถกเถียงกันถึงการปฏิบัติงานของตำรวจซึ่งควรที่จะมีความยุติธรรมต่อประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ตัวอย่างเช่น การปรับค่าปรับผู้ฝ่าฝืนกฎจราจรที่มีฐานะต่างกันหรือการให้บริการกับข้าราชการกับประชาชนทั่วไป ในบางครั้งตำรวจอาจจำเป็นต้องให้บริการกับข้าราชการก่อนเพราะทั้งสองฝ่ายต่างต้องถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ส่วนการให้บริการกับประชาชนนั้นต้องขึ้นอยู่กับกรณีว่ามีความเร่งด่วนมากน้อยเพียงใด | บัตรบันทึกแบบเจาะ

3233. รหัส : MM-1-21-291

สัมภาษณ์ผู้กองสิน

| 3 เม.ย. 1969 มอร์แมนสัมภาษณ์ผู้กองสิน มีประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น 1) แผนกสืบสวนมีหน้าที่ในการเก็บค่าปรับจากคดีต่างๆ ที่เสียค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท จำนวนเงินค่าปรับขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของตำรวจ หากผู้กระทำผิดไม่เคยมีประวัติมาก่อนหรือมีความสนิทสนมกับตำรวจก็อาจได้รับลดหย่อนค่าปรับ แต่ทั้งนี้หากผู้กระทำผิดปฏิบัติตนไม่สุภาพอาจต้องเสียค่าปรับเต็มอัตรา 2) ในระหว่างการสนทนานายตำรวจกลุ่มหนึ่งต้องการให้ผู้กองสินปล่อยลูกน้องของตนจากการคุมขัง แต่เขาให้การปฏิเสธและอ้างว่าตนเองไม่มีอำนาจในการสั่งการ อย่างไรก็ดีตามความเห็นของมอร์แมนหากเขาไม่ได้ทำการสัมภาษณ์อยู่ ผู้กองสินคงจะรับเงินจากตำรวจกลุ่มนั้นและยอมปล่อยตัวผู้ต้องหาไป | บัตรบันทึกแบบเจาะ

3234. รหัส : MM-1-21-292

สัมภาษณ์ผู้กองสิน

| 31 มี.ค. 1969 มอร์แมนสัมภาษณ์ผู้กองสินมีประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น 1) รายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการประกันตัวผู้ต้องหา ตำแหน่งข้าราชการโฉนดที่ดินและเงินสดสามารถนำมาใช้ค้ำประกันเพื่อประกันตัวผู้ต้องหาได้ 2) การลงบันทึกประจำวันรับเรื่องราวคำฟ้องต่างๆ จากประชาชนและการช่วยประนีประนอมคู่กรณีทั้งสองฝ่ายก่อนที่เรื่องจะไปถึงศาล 3) ขั้นตอนการสอบสวนผู้ต้องหาและปัญหาเกี่ยวกับการไม่ให้ความร่วมมือของพยาน | บัตรบันทึกแบบเจาะ

3235. รหัส : MM-1-21-293

สัมภาษณ์พันตรีสัมพันธ์ ผู้กอง สภ.อ.สารภี จ.เชียงใหม่

| 19-20 มี.ค. 1969 มอร์แมนสัมภาษณ์พันตรีสัมพันธ์มีประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น 1) จำนวนของตำรวจต่อจำนวนประชากรที่ไม่สมดุลกันทำให้การทำงานไม่ทั่วถึง อย่างไรก็ดีชาวบ้านส่วนใหญ่จะคอยเป็นหูเป็นตาช่วยสอดส่องดูและความเรียบร้อยภายในหมู่บ้านของตนให้ตำรวจ 2) คดีพ่อฆาตกรรมลูกชายของตนโดยทำไปเพื่อการป้องกันตน 3) การใช้ภาพถ่ายถ่ายประกอบสำนวนส่งฟ้องผู้ต้องหา 4) วิธีการต่างๆ ที่ตำรวจใช้เพื่อให้ผู้ต้องหารับสารภาพ 5) ประวัติการศึกษาและการทำงาน 6) คดีฆาตกรรมหญิงสาวโดยหนึ่งในชายชู้ของเธอ 7) สถิติการเกิดคดีต่างๆ ในท้องที่ 8) แนวทางการให้ความรู้กับประชาชนในการป้องกันตนเองจากเหตุร้ายและอาชญากร | บัตรบันทึกแบบเจาะ

3236. รหัส : MM-1-21-294

สัมภาษณ์พันตรีสัมพันธ์ ผู้กอง สภ.อ.สารภี จ.เชียงใหม่

| 27 มี.ค. 1969 มอร์แมนสัมภาษณ์พันตรีสัมพันธ์ มีประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น 1) ตำรวจมีอำนาจในการคุมขังบุคคลที่มีแนวโน้มว่าจะก่อให้เกิดปัญหา (อันธพาล) ได้นาน 30 วัน อย่างไรก็ดี ทั้งผู้กองและนายอำเภอไม่เห็นด้วยกับกฎหมายฉบับดังกล่าวเพราะบางคนอาจถูกคุมขังโดยมีความผิดในข้อหานี้นานถึง 10 ปี 2) ตำรวจจะได้รับส่วนแบ่งจากค่าปรับในคดีที่ได้ทำการจับกุม 3) ช่องทางต่างๆ ในการรับสินบนของตำรวจ เช่น การอนุญาตให้ประกันตัวผู้ต้องหาการช่วยเปลี่ยนแปลงผลการสอบสวน ฯลฯ 4) ขั้นตอนในการสืบสวนสอบสวนคดีพ่อฆาตกรรมลูกชายของตน | บัตรบันทึกแบบเจาะ

3237. รหัส : MM-1-21-295

สัมภาษณ์นายตำรวจ (?)

| อาจจะมีการถ่ายโอนอำนาจในการสืบสวนสอบสวนของตำรวจไปให้ทางอำเภอรับผิดชอบแทน นายตำรวจที่บดินทร์ทำการสัมภาษณ์ไม่เห็นด้วยในขั้นตอนดังกล่าวเพราะตำรวจมีความชำนาญในการสอบสวนมากกว่า ส่วนเรื่องการรับสินบนนายตำรวจคนดังกล่าวมีความเห็นว่าหากประชานเต็มใจที่จะให้และเมื่อเขารับแล้วไม่จำเป็นต้องบิดเบือนการสืบสวนเขาเองก็เต็มใจที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าว เพราะเงินเดือนที่ได้รับไม่พอใช้จ่ายและยังมีภาระต่างๆ ที่ต้องจ่ายให้กับทางครอบครัวอีกมาก | บัตรบันทึกแบบเจาะ

3238. รหัส : MM-1-21-296

สถานีตำรวจประจำ จ.เชียงใหม่

| 14 ม.ค. มอร์แมนสังเกตการณ์การทำงานของตำรวจที่สถานีตำรวจประจำ จ.เชียงใหม่ มีประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น 1) ระยะเวลาในการสั่งควบคุมตัวผู้ต้องหาของศาลแขวง 2) ระเบียบต่างๆ และระยะเวลาในการเข้าเยี่ยมผู้ต้องหาที่ถูกคุมขังอยู่ในห้องขังของโรงพัก 3) แผนผังของโรงพัก 4) สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ต้องหาภายในห้องขัง 5) พื้นที่ภายใต้ความรับผิดชอบของสถานี และขั้นตอนต่างๆ ในการออกปฏิบัติงาน 6) คดียาเสพติดและคดีค้าประเวณีเป็นคดีที่มีสถิตติการเกิดขึ้นสูงที่สุด 6) สวัสดิการต่างๆ ที่ตำรวจได้รับ | บัตรบันทึกแบบเจาะ

3239. รหัส : MM-1-21-297

สถานีตำรวจ สภ.อ.สารภี

| เม.ย. 1969 มอร์แมนสังเกตการณ์การทำงานของนายตำรวจที่ สภ.อ.สารภี ซึ่งมีตำรวจประจำการเพียง 3 นาย มีประเด็นต่างๆ ที่น่าใจ เช่น 1) บุคลิกลักษณะของคนที่มาแจ้งความ 2) ขั้นตอนในการลงบันทึกประจำวัน 3) ขั้นตอนในการสืบสวนสอบสวน ซึ่งที่นี่นายสิบตำรวจจะมีหน้าที่ในการสืบสวนและซักถามพยาน การซักถามเป็นไปอย่างคร่าวๆ 4) คดีเกี่ยวกับการเบิกเงินชดเชยจากบริษัทประกันภัยเนื่องจากการเสียชีวิตโดยอุบัติเหตุซึ่งจำเป็นต้องให้ตำรวจรับรองว่าเป็นอุบัติเหตุ มิใช่การฆ่าตัวตาย | บัตรบันทึกแบบเจาะ

3240. รหัส : MM-1-21-298

สังเกตการณ์ที่ศาลแขวง

| 15 ม.ค. 1969 มอร์แมนสังเกตการณ์ที่ศาลแขวงเพื่อดูว่าผู้คนที่มายื่นเรื่องเสียเวลาในการดำเนินการนานแค่ไหน | บัตรบันทึกแบบเจาะ