3221. รหัส : MM-1-21-279

ความก้าวหน้าในอาชีพตำรวจ

| 10 มิ.ย. 1969 กรมตำรวจวางแผนที่จะส่งตำรวจไปทำการทดสอบภาษาอังกฤษที่กรุงเทพฯ คนที่สอบผ่านจะถูกส่งไปดูงานที่สหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 6 เดือน | บัตรบันทึกแบบเจาะ

3222. รหัส : MM-1-21-280

สัมภาษณ์ผู้กำกับการตำรวจ จ.น่าน

| 18 มิ.ย. 1969 อ.ทุ่งช้าง (?) จ.น่าน เป็นเขตชายแดนที่สำคัญและอันตราย ดังนั้น ตำรวจ ศาล และอัยการควรร่วมมือกันทำงาน | บัตรบันทึกแบบเจาะ

3223. รหัส : MM-1-21-281

ดวง

| 18 มิ.ย. 1969 ดวงเคยเป็นผู้พิพากษาแถวภาคอีสาน ในขณะที่จอมพลถนอมเคยดำรงตำแหน่งร้อยโทอยู่ที่นั่น และผู้ว่าราชการ จ.เชียงใหม่คนปัจจุบันก็เคยเป็นตำรวจสันติบาลประจำอยู่ที่ภาคอีสานในช่วงเวลาเดียวกัน | บัตรบันทึกแบบเจาะ

3224. รหัส : MM-1-21-282

สัมภาษณ์นักเรียนนายร้อยตำรวจ

| 28 พ.ค. 1969 บดินทร์สัมภาษณ์เพื่อนของเขาซึ่งเพิ่งจะสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจเกี่ยวกับขั้นตอนการสอบสวนผู้ต้องสงสัย เทคนิคการใช้กำลังบังคับผู้ต้องสงสัยให้รับสารภาพและวิธีการป้องกันตนเองให้พ้นผิด หากผู้ต้องสงสัยฟ้องร้องกลับในข้อหาใช้กำลังทำร้ายร่างกาย | บัตรบันทึกแบบเจาะ

3225. รหัส : MM-1-21-283

การสนทนาบนรถไฟ

| 9 พ.ค. 1969 มอร์แมนสัมภาษณ์เรือง ผู้การเทพและอ้ายแก้วสนทนากันบนรถไฟโดยมีหัวข้อต่างๆ เช่น 1) เพราะเจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบเข้าไปข่มเหงชาวแม้วจึงทำให้กลุ่มคนเหล่านี้ลุกขึ้นมาต่อต้าน 2) รัฐบาลยังไม่ให้ความสำคัญกับงานข่าวกรองและพื้นที่ที่เสียงภัยอย่าง อ.เชียงคำ (ภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์) 3) เพราะเงินเดือนน้อยตำรวจส่วนใหญ่จึงต้องรับสินบน 4) ผู้การเทพมีปัญหาในการทำงานกับนายตำรวจที่อยู่ใต้บังคับบัญชาคนหนึ่งแต่ไม่สามารถสั่งการหรือโยกย้ายได้เพราะนายตำรวจคนนั้นมีนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ที่กรุงเทพฯ หนุนหลังอยู่ | บัตรบันทึกแบบเจาะ

3226. รหัส : MM-1-21-284

สัมภาษณ์ผู้การเทพ

| 16 ก.พ. 1969 ตำรวจกองปราบ (?) สามารถปฏิบัติงานข้ามท้องที่ได้ แต่ทั้งนี้การจะเข้าไปปฏิบัติงานได้ต้องได้รับคำร้องขอจากเจ้าหน้าที่ตำรวจที่รับผิดชอบในพื้นที่เสียก่อนหรือหากพบว่าตำรวจในท้องที่ปฏิบัติงานไม่ถูกต้องจึงจะสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ | บัตรบันทึกแบบเจาะ

3227. รหัส : MM-1-21-285

สัมภาษณ์ พ.ต.อ.สุชาติ เลือนฉัว

| 16 ก.พ. 1969 มอร์แมนสัมภาษณ์ พ.ต.อ.สุชาติ เลือนฉัว ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจภาคเหนือ (?) มีหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น 1) ตำรวจที่ประจำการอยู่ในเมืองใหญ่ (กรุงเทพฯ ?) จะได้เปรียบเรื่องการสืบสวนมากกว่าตำรวจที่ประจำการอยู่ต่างจังหวัดเพราะสามารถใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ต่างๆ สืบหาร่องรอยในที่เกิดเหตุได้เร็วกว่า 2) กฎหมายที่ใช้กับอันธพาลอนุญาตให้ตำรวจสามารถขังผู้ที่มีพฤติกรรมอันธพาล ซ่องโจรหรือชอบก่อความเสียหายให้ผู้อื่นโดยมิต้องส่งฟ้องศาลได้ 3) เป็นการยากที่จะพิสูจน์ว่าทรัพย์สินที่ผู้ต้องสงสัยครอบครองอยู่เป็นสิ่งของที่ได้มาจากการขโมย (รับซื้อของโจร) เพราะตำรวจต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าผู้ต้องสงสัยรับซื้อของดังกล่าวมาโดยทราบอยู่แล้วว่าเป็นสิ่งของที่ถูกขโมยมา ทั้งนี้ผู้ต้องสงสัยสามารถเลือกที่จะปฏิเสธได้ว่าตนเองไม่ทราบว่าสิ่งของดังกล่าวถูกขโมยมาก่อนที่จะนำมาขายให้กับตน 4) ในแต่ละเดือนมีตำรวจจำนวนมากที่ถูกไล่ออกเพราะคดีทุจริต แต่ทั้งนี้ในบางคดีก็เป็นการใส่ร้ายจากชาวบ้านที่เสียผลประโยชน์เพราะการจับกุมของตำรวจด้วยการส่งบัตรสนเท่ห์ไปยังกองคดี (?) | บัตรบันทึกแบบเจาะ

3228. รหัส : MM-1-21-286

สัมภาษณ์ผู้กองเฉลิมชัย

| 9 ม.ค. 1969 มอร์แมนสัมภาษณ์ผู้กองเฉลิมชัยซึ่งประจำการอยู่ สภ.อ.เมือง จ.เชียงใหม่มีหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น 1) พยานส่วนใหญ่ไม่ชอบที่จะไปให้การในชั้นศาลเพราะเห็นว่าเป็นเรื่องเสียเวลาและยังหวาดกลัวญาติของผู้ต้องหาจะมาทำร้ายหากขึ้นให้การปรักปรำ 2) ส่วนใหญ่แล้วศาลจะเชื่อถือในพยานประจักษ์มากกว่าหลักฐานแวดล้อม 3) ความผิดในคดีลหุโทษ ตำรวจมีอำนาจในการสั่งขังผู้ต้องหาเป็นเวลา 1 เดือนและสั่งปรับเป็นจำนวนเงินขั้นต่ำไม่เกิน 1,000 บาท 4) ในบางครั้งความผิดบางอย่างของชาวบ้าน เช่น การเล่นการพนัน การฆ่าหมู การต้มเหล้าเถื่อน ตำรวจก็หลีกเลี่ยงที่จะทำการจับกุมเพราะถือว่าเป็นวิถีชีวิตของชาวบ้านที่มีมานานแม้ว่าจะขัดกับหลักกฎหมาย 5) ขั้นตอนการส่งฟ้องผู้ต้องหาไปยังศาลซึ่งบางครั้งศาลมักอนุญาตให้ขยายระยะเวลาในการฝากขังได้เพราะทราบว่าตำรวจต้องใช้เวลาในการเตรียมสำนวนส่งฟ้อง | บัตรบันทึกแบบเจาะ

3229. รหัส : MM-1-21-287

บทสัมภาษณ์ ทวี เกี่ยวกับกรมตำรวจ

| 8 ก.พ. 1969 มอร์แมนสัมภาษณ์ทวี มีหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น 1) ในยุคแรกเริ่มของการก่อตั้งกรมตำรวจ ได้มีการว่าจ้างนาย Eric Saint J.Lawson ชาวอังกฤษเข้ามาช่วยงานขยายงานตำรวจภูธรไปยังหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคต่างๆ 2) ครั้งหนึ่งทวีต้องการขออนุญาตศาลฝากขังผู้ต้องสงสัยเพิ่มอีก 15 วัน แต่ศาลไม่อนุญาตเขาจึงลักพาตัวผู้ต้องสงสัยจากบริเวณหน้าศาล ภายหลังจากผู้ต้องสงสัยที่ได้รับการปล่อยตัว เขาเชื่อว่าคดีดังกล่าวศาลได้รับสินบนจากผู้ต้องสงสัย 3) เหตุการณ์ต่างๆ ในช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (1932) ซึ่งพระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุย จาติกวณิช) ดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมตำรวจ 4) ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับกรมตำรวจภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 4) การทำงานของทวีในห้องทดลองเพื่อไขคดีต่างๆ ด้วยกระบวนการทางนิติวิทยาศาสตร์ 5) เทคนิคต่างๆ ในการเตรียมความพร้อมของพยานก่อนขึ้นให้การ และการรับมือกับศาล 6) ขั้นตอนและเทคนิคทางจิตวิทยาต่างๆ ที่ใช้ในการสอบสวนผู้ต้องสงสัย รวมถึงการใช้กำลังกับผู้ต้องสงสัยให้รับสารภาพ | บัตรบันทึกแบบเจาะ

3230. รหัส : MM-1-21-288

สัมภาษณ์ที่ปรึกษาชาวอเมริกัน

| 19 ก.พ. 1969 มอร์แมนสัมภาษณ์นาย Goryen (?) ชาวอเมริกันซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาให้กับสถานีตำรวจภูธรภาคเหนือ มีหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น 1) ผู้คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีใครอยากเป็นตำรวจเพราะได้เงินเดือนน้อยและมีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่ค่อนข้างยาก 2) ตำรวจต้องทำงานเกินหน้าที่ที่ตนเองรับผิดชอบ เช่น การดูแลจราจร ตามความเห็นของ Goryen ควรที่จะมีตำรวจซึ่งทำหน้าที่ในการสืบสวนโดยเฉพาะ 3) USOM (?) ได้ให้ความช่วยเหลือกับกรมตำรวจในเรื่องพาหนะและอุปกรณ์สื่อสารแต่อุปกรณ์ดังกล่าวกลับถูกนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่นำไปใช้ในเรื่องส่วนตัว | บัตรบันทึกแบบเจาะ