เว้าน์ เพลงเออ (Vagn Plenge) เป็นบรรณาธิการและเจ้าของสำนักพิมพ์ Forlaget Hjulet ชาวเดนมาร์กได้มอบหนังสือด้วยปัญญา และความรัก นิทานชาวเมืองเหนือ พิมพ์โดยสยามสมาคม และสำนักพิมพ์สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย พร้อมกับเทปรีลบันทึกเสียงการเล่านิทานที่บันทึกเสียงผู้เล่านิทานชาวไทยภาคเหนือ ชาวลื้อ ไทใหญ่ เขิน ให้แก่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ด้วยเล็งเห็นว่าผลงานชิ้นนี้ได้เก็บรักษาและเผยแพร่เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ใช้ประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าทางด้านมานุษยวิทยาภาษาศาสตร์
ในปี พ.ศ. 2505 เว้าน์ เพลงเออ ได้เคยเดินทางเข้ามาในเมืองไทย และได้มีโอกาสไปยังวัดวาอารามที่สำคัญในกรุงเทพ พร้อมกับการได้ไปใช้ชีวิตเป็นเด็กเรือบรรทุกสินค้าของบริษัท อิสต์เอเชียติคที่จะเข้ามาเทียบท่าในท่าเรือคลองเตย จึงทำให้เว้าน์ เพลงเออให้เห็นวิถีชีวิตของคนที่ทำงานบนเรือ และเห็นถึงความสวยงาม และประวัติศาสตร์ของประเทศไทย เมื่อได้กลับไปที่เดนมาร์กจึงมีความตั้งใจในการเรียนภาษาไทย เพื่อให้สามารถต่อยอดทางด้านการค้นคว้าเกี่ยวกับวรรณคดีทั้งเก่าและใหม่ตามความสนใจของเว้าน์ เพลงเออ
พ.ศ. 2512 เว้าน์ เพลงเออ ได้กลับมายังประเทศไทยอีกครั้ง และไปอาศัยอยู่ตามหมู่บ้านชนบทในภาคเหนือนานถึง 4 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2517 เพื่อศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และวรรณกรรมของชาวภาคเหนือ โดยได้ค้นคว้า รวบรวมนิทานของชาวภาคเหนือเอาไว้ โดยมีผู้ช่วยคนสำคัญ คือ คุณจรัญ อุปรานุเคราะห์ ที่ใช้ความช่วยเหลือและในการออกสำรวจและแปลภาษาเขิน และไทใหญ่เป็นภาษาไทย นิทานชาวเมืองเหนือที่ได้รวบรวมไว้มีทั้งหมด 4 ภาษา ได้แก่ คนเมือง เขิน ลื้อ และไทยใหญ่
นอกจากความสนใจเกี่ยวกับวรรณกรรมไทยแล้วเว้าน์ เพลงเออ ยังสนใจวรรณกรรมร่วมสมัย และเคยแปลเรื่องสั้น และบทกวีของลาวคำหอม ร่วมกับอังคาร กัลยานพงษ์, อุชเชนี วิทยากร เชียงกูล และกุลทรัพย์ รุ่งฤดี แปลเป็นภาษาเดนมาร์ก และได้เผยแพร่ไทยที่เว้าน์ เพลงเออสนใจผ่านวิทยุกระจายเสียงของชาวเดนมาร์ก นอกจากนี้เว้าน์ เพลงเออ และยังเคยทำงานเป็นบรรณารักษ์อยู่ที่โคเปนเฮเกน ในประเทศเดนมาร์ก
ชุดเอกสารจดหมายเหตุส่วนบุคลคลของ เว้าน์ เพลงเออ (Vagn Plenge) ประกอบด้วยไฟล์หนังสือด้วยปัญญาและความรัก : นิทานชาวเมืองเหนือ พร้อมกับเทปรีลบันทึกเสียงการเล่านิทานเป็นภาษาทางภาคเหนือ เว้าน์ เพลงเออ มีความความสนใจเกี่ยววรรณกรรมร่วมสมัย นิทานพื้นเมือง และกับวรรณกรรมล้านนา ผลงานชุดนี้ได้รับการอุปถัมภ์จากสถาบันสแกนดิเนเวียว่าด้วยเรื่องการศึกษาเรื่องของเอเชีย (Scandinavian In stitute of Asian Studies) แลคุณจรัญ อุปรานุเคราะห์ ในการช่วยแปลเรื่องราวของนิทานต่าง ๆ โดยมีความความมุ่งหวังว่าผลงานชุดนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับการศึกษามานุษยวิทยาภาษาศาสตร์
บันทึกเสียงนิทานพื้นบ้านได้ถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มดังนี้ ดังนี้ 1. คนเมือง จำนวน 151 เรื่อง 2. นิทานลื้อ จำนวน 128 เรื่อง 3. นิทานเขิน จำนวน 55 เรื่อง 4. นิทานไทใหญ่ จำนวน 159 เรื่อง รวมทั้งหมด 493 เรื่อง