131. รหัส : SK-1-2-3-07

รวมบทความเกี่ยวกับความสัมพันธ์จ้วงกับไทย [ภาษาอังกฤษ]

| พ.ศ. 2539 | หนังสือจากกงานวิจัยชนชาติจ้วงในกวางสีครอบคลุมการศึกษาทางภาษาศาสตร์ ได้แก่ การจัดประเภท คำเรียกเครือญาติ คำเรียกสี คำประสม หน่วยคำ และมิติทางวัฒนธรรม ได้แก่ เพลงพื้นบ้าน และนิทานพื้นบ้าน ซึ่งบทความต่าง ๆ เคยนำเสนอในเวทีประชุมนานาชาติวาระต่าง ๆ | หนังสือ

132. รหัส : SK-1-2-3-08

จ้วง : ชนชาติไทในสาธารณรัฐประชาชนจีน ภาคที่ 1 ภาษา และภาคที่ 2 วัฒนธรรม

| พ.ศ. 2529 | ภาค 1 ภาษา ประกอบด้วยบทความ 6 เรื่อง จากการศึกษาภาษาจ้วงและเอกสารและการทำงานภาคสนาม เพื่อแสดงให้เห็นลักษณะทางภาษาของจ้วงต่าง ๆ เช่น ภาษาจ้วงเต๋อเป่า ภาษาจ้วงตูอาน เป็นต้น ภาค 2 วัฒนธรรม ประกอบด้วยบทความ 8 เรื่อง โดยนักวิชาการไทยและจีน กล่าวถึงความเป็นมา | หนังสือ

133. รหัส : SK-1-2-3-09

คำเรียกสีและการรับรู้สีของชาวจ้วงและชาวไทย

| พ.ศ. 2538 | งานวิจัยมุ่งวิเคราะห์คำเรียกสีในภาษาจ้วงและภาษาไทย แล้วนำมาเปรียบเทียบ เพื่อสรุปความเหมือนและความต่างในเรื่องการจำแนกสีพื้นฐาน และการรับรู้สีของชาวจ้วงและชาวไทย | หนังสือ

134. รหัส : SK-1-2-3-10

ชื่อหมู่บ้านในมณฑลกวางสีและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

| พ.ศ. 2535 | วัตถุประสงค์ของงานต้องการศึกษาชื่อหมู่บ้านจ้วงในเขตมณฑลกวางสีและการตั้งชื่อ และความสัมพันธ์กับภูมิประเทศ และศึกษาเปรียบเทียบกับชื่อและการตั้งชื่อหมู่บ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย | หนังสือ

135. รหัส : SK-1-2-3-11

ลักษณนามในภาษาจ้วง

| พ.ศ. 2538 | การศึกษาลักษณนามในภาษาจ้วงถิ่นต่าง ๆ เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของภาษาถิ่น อิทธิพลของภาษาจีน และความเชื่อมโยงกับภาษาไทย | หนังสือ

136. รหัส : SK-1-2-3-12

พจนานุกรม จ้วงใต้-ไทย

| พ.ศ. 2535 | พจนานุกรม จัดเรียงตามคำเขียนด้วยตัวอักษรโรมันในภาษาจ้วง และให้ความหมายในภาษาไทย | หนังสือ

137. รหัส : SK-1-2-3-13

พจนานุกรมไทย-จ้วง

| พ.ศ. 2532 | พจนานุกรม จัดเรียงคำในภาษาไทยตามลำดับอักษร และให้คำจ้วงในระบบเขียนอักษรโรมัน | หนังสือ

138. รหัส : SK-1-2-3-14

เทศกาลร้องเพลงชาวจ้วงที่อู่หมิง

| พ.ศ. 2530 | [วารสารเมืองโบราณปีที่ 13 ฉบับที่ 3, น.91-99]บทความกล่าวถึงเทศกาลร้องเพลงในเมืองอู่หมิง เนื้อหากล่าวถึงสภาพของบรรยากาศ ลำดับเทศกาล เนื้อหาของเพลง และความสนุกสนานของผู้ที่เข้าร่วมงานเทศกาล | หนังสือ

139. รหัส : SK-1-2-3-15

สังคมและวัฒนธรรมในอุษาคเนย์

| พ.ศ. 2543 | หนังสือตีพิมพ์จากเอกสารประกอบการสอนวิชา ชาติพันธุ์วิทยาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บนแผ่นดินใหญ่ โดยแบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ แนวคิดวิวัฒนาการทางศาสนา, พัฒนาการกลุ่มชนดั้งเดิมและชนเผ่าในอุษาคเนย์, ความเชื่อและพิธีกรรม และการทำความเข้าใจความคิดของกลุ่มชนผ่านตำนาน | หนังสือ

140. รหัส : SK-1-2-3-16

คนไทยอยู่ที่นี่อุษาคเนย์

| พ.ศ. 2537 | หนังสือนำเสนอในลักษณะบันทึกการเดินทางของผู้เขียนกับนักวิชาการ ในหมู่บ้านจ้วง มณฑลกวางสี จีน เพื่อบันทึกหลักฐานทางโบราณคดี มานุษยวิทยา และเอกสารลายลักษณ์ ในการอธิบายความเชื่อมโยงระหว่างวัฒนธรรมจ้วงและอุษาคเนย์ | หนังสือ