ศาสนสถานและศาลสิ่งศักดิ์สิทธิ์
67 แห่ง
วัดปัจจันตาราม เป็นวัดราษฎร์ สังกัดมหานิกาย ตั้งเมื่อ พ.ศ.2460 ตามคำบอกเล่ามาว่า ชาวรามัญร่วมกับคนไทยที่อยู่ในละแวกบ้านนั้นตั้งชื่อว่า “วัดพรมแดน” เพราะอยู่ระหว่างเขตแดนจังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดสมุทรสงคราม ต่อมาท่านเจ้าคุณสุนทรคุณากร ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “วัดปัจจันตาราม” จนกระทั่งปัจจุบัน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ.2492 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร อาคารเสนาสนะส่วนใหญ่เป็นอาคารสมัยใหม่ที่มีการก่อสร้างเมื่อไม่นานมานี้ ปัจจุบันมีการดำเนินการบูรณะซ่อมแซมวิหารหลวงพ่อพุทธศิลาแดง(หลวงพ่อแดง) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลาสีแดง มีประวัติความเป็นมาว่า สร้างมาจากหินศิลาสีแดง สร้างสมัยอยุธยาตอนกลาง อายุราว 400-500 ปี ชาวอยุธยานำมาถวาย เพื่อเป็นพระประธานในอุโบสถ ต่อมา พ.ศ.2523 สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดปทุมคงคา กรุงเทพฯ นิมิตว่า หลวงพ่อพุทธศิลาแดง ให้ท่านช่วยแจ้งเจ้าอาวาส ว่าหลวงพ่อต้องการประดิษฐานภายนอกอุโบสถ เพื่อต้องการให้ประชาชนและชาวบ้านได้สักการะ สมเด็จจึงแจ้งเจ้าอาวาส ต่อมาทางวัดจึงนำหลวงพ่อประดิษฐานไว้ที่วิหารทรงไทยจัตุรมุข หลวงพ่อศิลาแดง เป็นพระพุทธรูปหินทรายแดงปางสมาธิ
วัดปากบ่อ เดิมเป็นสำนักสงฆ์ขนาดเล็ก เรียกว่าสำนักสงฆ์สามง่าม สร้างขึ้นในราวพ.ศ.2424 ต่อมาได้มีชาวบ้านจากชุมชนวัดบางกระเจ้า ได้ย้ายมาตั้งถิ่นฐานที่นี่ ได้ตั้งและพัฒนาเป็นวัดเมื่อพ.ศ.2455 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2489 โดยมีพระครูเหลือง ธมฺมโชโต เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกปัจจุบันภายในวัดมีเจดีย์มอญสูง 20 เมตร อยู่ด้านหน้าโบสถ์ไม้สักทอง โบสถ์แห่งนี้สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2558 เริ่มสร้างในสมัยเจ้าอาวาสพระครูวิบูลธรรมโกวิท (ทองอยู่ อู่เจริญ) ภายในอุโบสถมีหลวงพ่อใหญ่ สรรเพชร ศรีชัยมงคล ประดิษฐานอยู่ วัตถุมงคลของวัด ได้แก่เหรียญพระครูวิบูลธรรมโกวิท ปัจจุบัน วัดอนุญาตให้แรงงานมอญจากพม่าเข้ามาทำกิจกรรมทางศาสนาอาคารเสนาสนะในวัด - อุโบสถ เป็นอาคารไม้สักทรงไทย สร้างเมื่อปี พ.ศ.2546 แล้วเสร็จปี พ.ศ.2558 ยังไม่ได้ผูกพัทธสีมา - ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารไม้ทรงไทย สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2552 - เจดีย์ ชเวดากองจำลอง สร้างเมื่อปีพ.ศ.2544 - กุฏิเจ้าอาวาส อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ.2539 - กุฏิสงฆ์ อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2532 และมีการสร้างต่อเนื่องเรื่อยมา - หอฉัน/หอสวดมนต์ กว้าง 10.95 เมตร ยาว 37.85 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.2535 - ศาลาบำเพ็ญกุศล เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างประมาณปี พ.ศ. 2543-2544 - เมรุ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทยประยุกต์ สร้างประมาณปี พ.ศ.2535-2539 - โรงครัวด้านข้างศาลาบำเพ็ญกุศล อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว สร้างประมาณปี พ.ศ.2543-2544 - ศาลาอเนกประสงค์ โครงเหล็ก เมทัลชีท สร้างเมื่อปี พ.ศ.2559 - ศาลพ่อปู่เทพารักษ์ ศาลาไม้ทรงไทยขนาดย่อม สร้างเมื่อปี พ.ศ.2559 ภายในประดิษฐานพ่อปู่เทพารักษ์ - ศาลาท่าน้ำ อาคารไม้ทรงไทย สร้างเมื่อปี พ.ศ.2529 - ศาลาประดิษฐานหลวงพ่อโต, หลวงพ่อพุทธอนัตะชินะชัยมงคล, รูปหล่อจำลองอดีตเจ้าอาวาสวัดปากบ่อ หลวงพ่อเหลืองและ หลวงพ่อทองอยู่ อาคารเปิดโล่ง โครงเหล็ก หลังคาเมทัลชีท สร้างเมื่อปี พ.ศ.2556พระพุทธรูปและสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญ - หลวงพ่อใหญ่ สรรเพชร ศรีชัยมงคล พระประธานประจำอุโบสถ - หลวงพ่อโต (หลวงพ่อพุทธอนันตะชินะมงคลชัย) สร้างเมื่อปีพ.ศ.2556 - หลวงพ่อพุทธอนัตะชินะชัยมงคล สร้างเมื่อปีพ.ศ.2556 - รูปหล่อจำลองอดีตเจ้าอาวาสวัดปากบ่อ หลวงพ่อเหลืองและ หลวงพ่อทองอยู่ ประเพณี/งานประจำปี - งานประเพณีประจำปีวันลอยกระทง
วัดป้อมวิเชียรโชติการาม ชาวบ้านมักเรียกว่า “วัดป้อม” เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ สังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ติดกับป้อมวิเชียรโชฎก ไม่ทราบประวัติการก่อสร้างที่แน่ชัดว่าสร้างสมัยใด เชื่อกันว่าเริ่มสร้างเมื่อประมาณ พ.ศ.2323 โดยชุมชนชาวรามัญ ซึ่งแต่เดิมพื้นที่บริเวณนี้เป็นที่อยู่ของชาวรามัญซึ่งอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นราชธานี ซึ่งชาวรามัญเป็นผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด เมื่อมาอยู่รวมกันแล้วอาจสร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนา และตั้งชื่อวัดตามหมู่บ้านหรืออาจสร้างวัดขึ้นพร้อมกับป้อมวิเชียรโชฎก ซึ่งป้อมวิเชียรโชฎก สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2371 สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ซึ่งเมื่อได้สร้างป้อมและหมู่บ้านแล้ว จึงได้สร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นที่ประกอบบุญกุศล วัดป้อมวิเชียรโชติการาม ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.2328 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 8 เมตร ยาว 16 เมตร ผูกพัทธสีมาเมื่อประมาณ พ.ศ.2418 พระมหาสมัย กมโล เจ้าอาวาสรูปที่ 4 ได้เริ่มปรับปรุงวัด ตั้งแต่ พ.ศ.2508 เป็นต้นมา เนื่องจากสภาพพื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ลุ่มมีน้ำท่วมขังตลอดทั้งปี และการคมนาคมใช้ทางเรือเพียงอย่างเดียว เสนาสนะทรุดโทรม จึงได้ก่อสร้างกุฏิสงฆ์ทรงไทย ยกพื้นสูง เพื่อหนีน้ำท่วม โดยสร้างด้วยไม้จำนวน 10 หลัง ล้อมรอบหอฉันและหอสวดมนต์ ซึ่งก่อสร้างด้วยไม้เช่นกัน การสร้างวัดในลักษณะนี้ เป็นรูปแบบการก่อสร้างวัดแบบชาวรามัญ แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.2530 พระรามัญมุนี (พระมหาสมัย กมโล) ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ เมื่อ พ.ศ.2536 และมรณภาพลงเมื่อ พ.ศ.2537 พระครูวิเชียรโชติคุณ (สมพงษ์ สุวโจ) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน (พ.ศ.2537-ปัจจุบัน) ได้มีการปรับปรุงพัฒนาวัดอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา โดยยกกุฎิ หอฉัน หอสวดมนต์ หอพระไตรปิฎกให้สูงขึ้น ปรับถมพื้นที่วัดเพื่อป้องกันน้ำท่วม (กองพุทธศาสนสถาน 2545 : 50) ปรับปรุงภูมิทัศน์วัดอย่างที่เห็นในปัจจุบัน วัดป้อมวิเชียรโชติการาม ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง เมื่อ พ.ศ.2539
วัดมหาชัยคล้ายนิมิตร เดิมชื่อ “วัดใหม่” เป็นวัดสำคัญของชุมชน ตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2434 ปรากฏในแผนที่ทางรถไฟคลองสาน-มหาไชย พ.ศ. 2439 และในแผนที่สัมปทานทางรถไฟกรุงเทพ-มหาไชย พ.ศ. 2445 ในสมัยหลวงปู่แคล้วเป็นเจ้าอาวาส ได้เปลี่ยนชื่อจาก วัดใหม่ มาเป็น "วัดมหาชัยคล้ายนิมิตร" พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล ได้เสด็จประพาสที่วัดและบริจาคเงินถวายจำนวน 200 บาท ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อพ.ศ. 2471อาคารเสนาสนะในวัด - อุโบสถ - กุฏิหลวงปู่แคล้ว - วิหารหลวงพ่อรุ่ง สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2511 เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ลักษณะเป็นศาลาตรีมุข บริเวณหน้าบันมุขด้านหน้าทำเป็นรูปหลวงพ่อรุ่งครึ่ง ภายในประดิษฐานรูปหล่อจำลองหลวงพ่อรุ่ง ติสฺสโร - ศาลาหอฉันเก่า รื้อสร้างใหม่เป็นศาลาหอฉันและทำบุญ - โรงเรียนพระปริยัติธรรม สร้างเมื่อ พ.ศ.2520-2522 - กุฏิสงฆ์ พ.ศ.2490 - ศาลาสวดศพสร้างสมัยหลวงปู่แคล้วประเพณี/งานประจำปี คือทำบุญทักษิณาให้หลวงปู่แคล้วทุกปี พระพุทธรูปและสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญ ได้แก่ พระประธานประจำอุโบสถ ปางมารวิชัย
วัดราษฎร์รังสรรค์ (คอกกระบือ) เป็นวัดราษฎร์ สังกัดมหานิกาย ไม่ปรากฏหลักฐานการก่อสร้างที่แน่ชัด ในเอกสารประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่มที่ 21 ระบุว่าตั้งเมื่อ พ.ศ.2309 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.2463 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 7 เมตร ยาว 72 เมตร มีรายนามเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบคือ รูปที่ 1 พระชด รูปที่ 2 พระแจ้ รูปที่ 3 พระครูสาครสังฆกิจ (พ.ศ.2505-2526 รูปที่ 4 พระครูวิบูลธรรมวัตร (พ.ศ.2526-2544) รูปที่ 5 พระครูสาครสุภกิจ พ.ศ. 2544-ปัจจุบัน (กองพุทธศาสนสถาน 2545 : 64) ปัจจุบันไม่ปรากฏร่องรอยโบราณสถาน สิ่งก่อสร้างภายในวัดล้วนสร้างในสมัยหลังชาวบ้านเล่าว่าที่เรียกว่าวัดคอกกระบือหรือวัดคอกควายนี้เนื่องจากพื้นที่บริเวณเดิมเป็นเนินสูง สมัยก่อนเมื่อเกิดน้ำท่วมชาวบ้านจะนำควายมาผูกไว้ที่บริเวณนี้ จึงเป็นที่มาของวัดคอกควาย
วัดราษฎร์บำรุง เป็นวัดราษฎร์ สังกัดมหานิกาย ในหนังสือที่พิมพ์ขึ้นแจกในพิธีปิดทองฝังลูกนิมิตพระอุโบสถหลังใหม่เมื่อปี พ.ศ.2512 กล่าวว่า วัดหงอนไก่ตั้งขึ้นเป็นสำนักสงฆ์ เมื่อ พ.ศ.2438 มีท่านสมภารเทียนเป็นผู้ริเริ่มในการก่อสร้าง นางพวง รอดสมหวัง เป็นผู้มอบที่ดินให้วัดจำนวน 16 ไร่ 3 งาน 85 ตารางวา หมื่นยงค์ มักสันต์ และกำนันแก้ว จันทร์เต็มดวง เป็นผู้อุปถัมภ์ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ.2444 พระอุโบสถหลังเก่าสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ปีใดไม่มีหลักฐานระบุ แต่มีพิธีผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิตในปี พ.ศ.2450 (สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี 2553 : 139 )อุโบสถหลังเก่า อาคารก่ออิฐถือปูนขนาดค่อนข้างเล็ก หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องว่าว มีพาไลมุงสังกะสียื่นออกมาทั้งด้านหน้าและหลังด้านละ 1 ห้อง รองรับโครงหลังคาด้วยเสาไม้กลม ช่อฟ้าไม้ชำรุด ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในพระอุโบสถ และรวยระกาไม้แบบมอญ หน้าบันปูนปั้นตกแต่งลวดลายแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ด้านบนเป็นรูปเทพนม ถัดลงมาเป็นหงส์สองตัวหันหน้าเข้าหากัน มีลวดลายดอกไม้ประดับด้วยเครื่องถ้วยชามเคลือบสี และเครื่องลายครามแบบจีน ด้านล่างของหน้าบันเป็นรูปมังกรคู่หันหน้าชนกัน อิทธิพลศิลปะแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 ปัจจุบันเป็นอาคารร้าง สภาพทรุดโทรมมากผนังอุโบสถก่ออิฐถือปูน มีประตูทางเข้าด้านหน้าและหลังด้านละ 2 ประตู ซุ้มประตูและหน้าต่างปูนปั้นลายพันธุ์พฤกษา ภายในพระอุโบสถมีฐานชุกชีประดิษฐานพระพุทธรูป “หลวงพ่อโต” ปัจจุบันได้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถหลังใหม่ และศาลาการเปรียญจำนวนทั้งสิ้น 10 องค์ ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในจำนวนนี้มีพระพุทธรูปที่ทำจากหินทรายแดง ศิลปะอยุธยาตอนปลาย 1 องค์ และมีพระพุทธรูปสององค์มีจารึกที่ฐานระบุปี พ.ศ.2475 พระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งมีจารึกเป็นตัวอักษรคล้ายอักษรขอมและตัวเลข 2440 (สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี 2553 : 139)อุโบสถเก่าแห่งนี้ ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากรร ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนพิเศษ 117 ง วันที่ 29 พฤศจิกายน 2545 พื้นที่โบราณสถานประมาณ 1 ไร่ 86.5 ตารางวา
ชื่อเดิมของ วัดศรีสุทธาราม ชื่อว่า วัดกำพร้า เดิมชื่อวัดกำพร้า ตามประวัติเล่าต่อกันมาว่า ชาวบ้านได้ช่วยกันถากถางป่าโดยใช้มีดพร้า วัดกำพร้าตามความหมายเดิมจึงหมายถึงวัดที่ชาวบ้านช่วยกันกำมีด กำพร้า ถางป่าสร้างวัดขึ้นมา แต่ต่อมาคนรุ่นหลังแปลความหมายผิดไปเป็นว่าที่น่าสงสาร วัดที่อาภัพ จึงมีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดศรีสุทธารามวัดศรีสุทธาราม หรือ วัดกำพร้า ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2369 ซึ่งตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 สาเหตุการสร้างวัดขึ้น สืบเนื่องมาจากประชาชนหมู่บ้านกำพร้าต้องไปทำบุญที่วัดบางหญ้าแพรก ซึ่งอยู่คนละฝั่งแม่น้ำกับหมู่บ้านเป็นความลำบากในการเดินทางเพื่อไปทำบุญ อาจเกิดอันตรายจากคลื่นลม กระแสน้ำเชี่ยว จึงเริ่มสร้างวัดขึ้น โดยผู้ริเริ่มคือ นายมะนูญ นายมะกริด นายมะแมว นายมะเหมี่ยว พร้อมด้วยประชาชนในหมู่บ้านนี้ได้ช่วยกันสละทรัพย์ และแรงกายในการก่อสร้างวัดกำพร้าขึ้น และได้รับพระราชทานวิงสุงคามสีมาในเวลาถัดมาลำดับเจ้าอาวาส 1.ไม่ทราบชื่อ 2.ไม่ทราบชื่อ 3.ไม่ทราบชื่อ 4.พระปลี 5.พระพร ติสฺสวํโส 6.พระครูสาครธรรมสุนทร 7.พระครูวิฑูรย์ 8.พระครูสาครกิจจาภรณ์ อาคารเสนาสนะในวัด - อุโบสถ พ.ศ. 2510 และปฏิสังขรณ์เรื่อยมา - ศาลาการเปรียญ อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างประมาณปี พ.ศ. 2553 - กุฏิสงฆ์ บูรณปฏิสังขรณ์ ประมาณปี พ.ศ. 2556 - หอระฆัง คอนกรีตเสริมเหล็ก - ศาลาบำเพ็ญกุศล - เมรุพระพุทธรูปและสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญ ได้แก่ หลวงพ่อแดง หลวงพ่อดำ และพระศรีอริยเมตตรัย ประเพณี/งานประจำปี ได้แก่ งานปิดทองประจำปีหลวงพ่อดำและหลวงพ่อแดง ช่วงกลางเดือนอ้ายขึ้น 13 14 ค่ำ มี
ต.บางหญ้าแพรก อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร ตั้งเมื่อ พ.ศ.2435 โดยมีนายเฉย เป็นผู้ถวายที่ดิน ตั้งเป็นสำนักสงฆ์อยู่ได้ประมาณ 20 ปี ก็ร้างไป ต่อมาในปี พ.ศ.2464 ได้มีนายศุกร์-นางเรียง ช้างสีนวล ได้สร้างอาคารเสนาสนะขึ้นใหม่ และนิมนต์พระปูมาเป็นเจ้าอาวาส
เริ่มสร้างวัดเมื่อ พ.ศ.2525 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2544 พระพุทธรูปสำคัญคือพระพุทธอุทัยรัศมี พระประธานในอุโบสถ