Total : 58 pages , Total amount : 1,845 Records , Total amount : 2 Resources.
Advance Search
อังกา มี 2 แบบ คือ อักษรไทย ก กา กิ กี กู เก โก ไก และ เลขไทย ๑๓-๑๘ สันนิษฐานว่ามาจากใบลานคนละฉบับ ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/6 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
สมุดไทยบันทึกตำรับยาสมุนไพรโบราณ และตำราโหราศาสตร์เกี่ยวกับการทำนายฤกษ์ยาม
สมุดไทยบันทึกตำรายาสมุนไพรแผนโบราณ และการพยากรณ์ ตำราโหราศาสตร์ และคำสู่ขวัญต่าง ๆ
หน้าแรกเป็นเหมือนสมุดจดหนี้ ว่าวันใดให้ใครยืมเงินไปเท่าไร ต่อมาเป็นคาถาอาคมต่าง เช่น พระยาหงส์ทอง พระคาถาเชิญครู ด้านท้ายเป็นสูตรยาสมุนไพร เช่น ยาฝีมุตกิด ยาแก้ดานเป็นลูกเป็น ยาบำรุงโลหิต เป็นต้น
ตำรายารักษาโรคต่างๆ เช่น แก้ตุ่ม ยาเลือด แก้ไข้ แก้ปวดตีน แก้ชัก แก้เป็นบ้า แก้พิษ ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/7 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
สมุดไทยเล่มนี้เป็นเรื่อง คัมภีร์ปฐมจินดา ว่าตั้งแต่เรื่อง พรมปโรหิต กำเนิดโลหิตระดู จนถึงเรื่องครรภ์รักษา ที่ว่าด้วยการดูแลรักษาครรภ์ของแม่ มียาแก้โรคต่างๆ สำหรับสตรีมีครรภ์ เช่น ยาครรภ์รักษาใหญ่ ยาชักมดลูกเป็นต้น ท้ายเล่มเป็นเรื่อง กำเนิดโรคซางต่างๆ และยารักษา
หน้าต้นกล่าวถึงตำรายากล่อน และตำรารักษาฝี ส่วนหน้าปลายกล่าวถึงกฎหมายชื่อลักษณะต่อการประมาณ 10 หน้าสมุดไทย จากนั้นเป็นตำรายา
หน้าปกใบลาน จารว่า “ตาบรับพกนีเปนยากระไสยทองมารกระไสยกลอนท้ัง ๕ ประการนะทารเอ่ย ตำราคุนทองอะยุงนีโนศุกคังพลัง ฯ” เอกสารโบราณเป็นลานขนาดสั้น เขียนด้วยอักษรไทย และอังกาเป็นอักษรไทย ได้แก่ ก กา ก กิ กี กึ กื กุ กู แก
สมุดไทยขาว บันทึกด้วยดินสอไว้เพียงหน้าต้นเท่านั้น หน้าปลายว่างเปล่า เนื้อหาเกี่ยวกับตำรายาเกร็ดหรือยารักษาโรคทั่วไป เช่น ยาถ่ายพยาธิ ยาแก้ตกเลือดระดู ยาหอมสว่างอารมณ์ ยาแก้ไข้ทั้งปวง เป็นต้น
สมุดไทยขาวฉบับนี้บันทึกด้วยอักษรไทย ภาษาไทย และอักษรขอมไทย ภาษาบาลี สภาพเอกสารไม่ครบฉบับ แต่เนื้อหายังอ่านได้ ซึ่งกล่าวถึงตำรายาเกร็ด คือ ตำรายาที่ชาวบ้านเชื่อถือกัน บางที่อาจเรียกว่า ยากลางบ้าน เช่น ยามหานิล ยาเขียวหอม ยาแก้ลม ยาแก้ริดสีดวง ยาแก้ไข้สารีบาท ยาแก้กษัยกล่อน เป็นต้น
ตำรายาเกล็ด หรือ ยาเกร็ด ในพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายว่า ยาที่ไม่ใช่ยาตำราหลวง หรือเรียกอีกชื่อว่า ยากลางบ้าน เป็นยาที่ชาวบ้านเชื่อถือและใช้สืบทอดกันต่อๆ มา ในตำรายาเกล็ดฉบับนี้ กล่าวถึง อาการของโรคและตำรับยาในการรักษาโรคต่างๆ ดังนี้ ยาแก้แสียงแห้ง ยาแก้เลือดผอมท้องโต ยาปลุกเลือด ยารุเลือด ยาพรหมพิทักษ์ ยาถ่ายเลือดรุได้สารพัด ยามหาไว ยาถ่ายสารพัดคุณไสย ยาดองเลือดผอมแห้งท้องโต ยากวนกินแก้เลือดผอมท้องโต ยากินตัดราก ยาแก้อภินยา แก้ไข้จับใหญ่ ไข้เหนือ ยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ ยามหาเมฆ ยามหานิล ยาต้มแก้ร้อนใน ยาสว่างอารมณ์ ยาแก้ไข้สำหรับไข้เชื่อมมัวจับหัวใจ ยาต้มแก้ไข้จับวันเว้นวัน ยาต้มครอบสารีบาททั้งปวง ยาแก้ลม ยาเหลืองบุพนิมิตร ยาแก้โรคทุลาวะสา ยาแก้โรคสำหรับบุรุษ ยาขาว ยาลมแก้จุกเสียด ยาดองแก้เลือดร้าง ยาดับลมร้าย ยาต้มถ่ายเสลด ยากัดเลือดกรัง ยาต้มแก้เลือดร้าง ยาเหลืองแก้ลมจุกเสียด ยาอายุวัฒนะ ยาเสียงแห้ง เป็นต้น และแทรกเรื่องไสยศาสตร์ ซึ่งเป็นคาถาสั้นๆ เช่น คาถาเสกน้ำมันดิบเหยียบเหล็ก คาถาสะเดาะลูกในท้อง คาถาตัดปาง เป็นต้น
สมุดไทยขาวบันทึดก้วยอักษรไทย ภาษาไทย สภาพเอกสารสมบูรณ์ดี แม้จะมีรอยขาดเล็กน้อย แต่ไม่มีผลต่อการศึกษาเนื้อหาเอกสาร เนื้อหากล่าวถึงตำรายาเกร็ด ซึ่งยาเกร็ดที่ตำรายาที่ชาวบ้านนิยมใช้รักษาโรค บางทีก็เรียกยากลางบ้าน เช่น ยาแก้ไข้ ยาหอมไข้ ยาต้มสันนิบาตเหนือ ยาต้มสันนิบาตแก้อ้าปากมิออก ยาแก้กาฬ ยาหอมสันนิบาต ยาสว่างอารมณ์ ยาหอมใหญ่ ยาสมานปาก ยาต้มแก้ไข้บิด ยาประทุมไสยาสน์ ยาผงสันนิบาต ยาต้มแก้ไข้คลั่ง ยาแปลไข้ เป็นต้น
ตำรายาแก้ไข้เด็ก อาทิ ยาแก้ไข้ตัวร้อนเด็ก, ยาชุมบาย, แก้แงน, แก้ซางขาว เป็นต้น หน้ารองสุดท้ายเขียนด้วยหมึกน้ำเงิน ภาษาไทย ว่า “ของ พ่อคำพันธ์ หมวดดารักษ์ 80/1 หมู่ 8 บ้านสะวาสี ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/18 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
สมุดไทยขาวบันทึกด้วยอักษรไทย ภาษาไทย เนื้อหากล่าวถึงตำรับสมุนไพรในการรักษาโรคที่เกี่ยวกับฝี เช่น “อันนี้ชื่อสังวาลย์พระอินทร์ ขึ้นแต่บ่าแลอกแล 11 วันตาย ฤาแปรหัวหัวฝีนั้นเอาอุลม 1 อังกาบดอกแดง 1 อังกาบดอกข้าว 1 บัวบก 1 ตำเอาน้ำเท่ากันชโลมหัวฝีนั้นแล ฯ”
ตำรายาแก้ไข้หมากไม้ กล่าวถึง บอกหมากไม้ (ใช้หมากไม้) ยาชุม บอกพยาธิ ฯลฯ “ไข้หมากไม้” โดยเชื่อว่าเกิดจากการหมักหมมของใบไม้ ต้นไม้ และพืชต่างๆที่อยู่ในโคลนตม คนที่ไม่แข็งแรงเมื่อได้รับพิษเข้าไปก็จะเกิดอาการไข้ มักเกิดในช่วงเปลี่ยนฤดูกาลหรือช่วงที่ผลไม้ออกมากๆ (ข้อมูลจาก https://www.facebook.com/1964799477117598/posts/2438974776366730/?locale=zh_TW&paipv=0&eav=AfaimwJY4D4wYRfdsriegZdK4tcTW87i2QVZJEyFpCLoMZrlHGwxYCm_hTK-7jnS-ew&_rdr.) ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/22 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
ตำรายาแก้ไข้ อาทิ แก้ร้อนท้อง จับไข้ ตีนเย็นมือเย็น ไข้ปวดตา ฯลฯ ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/20 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
ตำรายาแก้ไข้ อาทิ ยาแก้ออกดำออกแดง, แก้คัน, แก้ไข้, ยาเลือด ฯลฯ ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/19 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
ตำรายาแก้ไข้ อาทิ ยาแก้ไข้ปวดหัว, ไข้ออกตุ่ม, ไข้ป่วง ฯลฯ ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/16 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
ตำรายา กล่าวถึง ยาแก้ไข้ แก้ปวดท้อง แก้ลม ผิดสำแดง แก้ลิ้นกระด้าง แก้คลั่ง แก้สันนิบาต ฯลฯ ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/11 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
สมุดไทยขาวเรื่อง ตำรายา รักษาอาการต่าง ๆ เช่น ยาแก้ท้องขึ้น ยาแก้ขี้มิออก ยาแก้ปวดท้อง ยาแก้ตานซาง ยาขี้เหม็นเน่า ยาแก้ไส้เดือร ยาแก้ทอ้งขึ้น ยาปางเด็ก ยาแดง ยาเสมอหนักทอง ยาแก้เชื่อม ยาอมรฤกทารา ยาแก้พิษฝีดาด ยาประซาง เป็นต้น
ตำรายาแก้พิษต่างๆ เช่น แก้เลือด แก้พิษงู แมลงต่าง ๆ ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/30 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
กล่าวถึงยาแก้โรคเลือดต่างๆ เช่น ยาแก้โลหิตตกทวารทั้ง 9 ยาประจุโลหิต ยาแก้ระดูขัด ยาต้มบำรุงโลหิต เป็นต้น
ตำราฉบับนี้กล่าวยาแก้ไอ นอกจากนี้ยังมีตำรับยาอื่นๆ เช่น ยาขี้ฮาก ยาก้างลงท้อง เป็นต้น ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/14 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
ตำรายาของพี่อ้ายเซียงลี กล่าวถึงตำรับยา อาทิ ยาออกปานแดง ดำ ด่าง ยาชุม ฯลฯ ต่าง ๆ โดยมีการระบุเจ้าของเอกสารโบราณว่าเป็นของ นายเซียงลี บ้านแสนตอ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/32 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา หมายเหตุ มีใบลาน 2 ขนาด คาดว่ามาจากคนละผูก
ตำรายาแขน ยาชุม และมีการเขียนด้วยหมึกสีน้ำเงินว่า พ่อแพทย์ ช่วงบุปผา คาดว่าจะเป็นเจ้าของเอกสารโบราณ ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/13 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
เอกสารโบราณฉบับนี้ ตอนต้นกล่าวถึงตำรายา เช่น ยาแก้ไข้ ซึ่งมีเพียงไม่กี่หน้า จากนั้นกล่าวถึงการดูลักษณะของคน วันมงคล เป็นต้น เอกสารโบราณฉบับนี้มีหลายลายมือ ทั้งลายมือแบบบรรจง ลายมือหวัด ตัวอักษรทั้งเล็กและใหญ่ ส่วนลายเส้น ทั้งเส้นหมึกดำ หมึกน้ำเงิน และดินสอ