ศาสนสถานและศาลสิ่งศักดิ์สิทธิ์

101 แห่ง

ผลการค้นหา : 101 แห่ง

ศาลเจ้าพ่อล่องหน อำเภอบ้านแพ้ว

เจ้าพ่อล่องหนเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชุมชนชาวมอญเจ็ดริ้ว ศาลตั้งอยู่หน้าวัดเจ็ดริ้ว สร้างขึ้นโดยนางเก็กเช็ง เมื่อปี 2453 เดิมศาลตั้งอยู่เชิงสะพานริมคลองเจ็ดริ้ว

ศาลเจ้าพ่อสำเร็จ โรงเจไท้เอ็กตั๊ว อำเภอบ้านแพ้ว

ประวัติของศาลเจ้าพ่อสำเร็จเกี่ยวข้องชีวิตของนายจื้อ ตั้งนาวา เป็นคนจีนแต้จิ๋ว ซึ่งในสมัยวัยรุ่น นายจื้อเคยหมดสติไปเจ็ดวัน ซึ่งญาติพี่น้องคิดว่าเสียชีวิตแล้ว แต่ฟื้นกลับขึ้นมาใหม่

ศาลเจ้าพ่อสุวรรณสาม อำเภอบ้านแพ้ว

ศาลเจ้าพ่อสุวรรณสาม ตั้งอยู่ในชุมชนชาวมอญ ตั้งอยู่ริมคลองเขื่อนขันธ์ (คลองหลวง) ต.หลักสอง มีอายุเก่าแก่ประมาณ 100 ปี แต่เดิมเป็นศาลเล็กๆ ต่อมาเมื่อ 20 ปีที่แล้วปรับปรุงให้ใหญ่ขึ้น มีความกว้างประมาณ 2 เมตรครึ่ง ฝาผนังทำจากไม้ ภายในมีโต๊ะบูชา มีรูปปั้นชายชรานุ่งขาวห่มขาว สมัยก่อนเคยมีพระพุทธรูปอยู่ในศาล แต่ถูกขโมยไป สมัยก่อนเคยมีร่างทรง แต่เมื่อร่างทรงเสียชีวิตไปแล้ว ปัจจุบันไม่มีการเข้าทรง ชาวบ้านที่อยู่บริเวณนี้จะมาขอให้เจ้าพ่อช่วยให้ค้าขายผลไม้ได้

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร อำเภอเมืองสมุทรสาคร

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร อยู่ในตำบลมหาชัย ซึ่งมีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงเป็น 3 ช่วงเวลา คือ  (1) ยุคเทพเจ้าจอมเมือง ศาลเจ้าพ่อเป็นแผ่นไม้โพธิ์ สูงประมาณ 1 เมตร แกะสลักเป็นรูปเทวดา หัตถ์ขวายกประทานพร หัตถ์ซ้ายถือพระขรรค์ คล้ายองค์พระสยามเทวาธิราช อยู่ในท่าประทับยืนบนเกี้ยวมีกุมารน้อย 2 คน เป็นบริวารอยู่ด้านข้าง (สมัยอยุธยาถึงรัชกาลที่ 6) (2) ยุคเจ้าพ่อหลักเมืองแบบราชการราวปี พ.ศ. 2460-2461 (รัชกาลที่ 6) มีการปรับปรุงศาลเป็นอาคารทรงไทย ในสมัยพระยาสาครคณาถิรักษ์ เจ้าเมืองสมุทรสาคร โดยร่วมมือกับหลวงอนุรักษ์นฤผดุง นายอำเภอเมืองสมุทรสาคร ขุนสมุทรมณีรัตน์ (เม่งฮะ หรือ มิ่ง มณีรัตน์) กำนันตำบลท่าฉลอม ขุนเชิดมหาชัย และนายยงกุ่ย หทัยธรรม เป็นผู้นำในการบริจาคเงินส่วนตัวและรวบรวมเงินบริจาคจากชาวบ้านมาสร้างศาลใหม่ (3) ยุคเจ้าพ่อแบบวัฒนธรรมจีน (พ.ศ.2524 –ปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 2524 ผู้ว่าราชการจังหวัดสมัยนั้นได้ให้มีการสร้างศาลหลักเมืองแห่งใหม่ขึ้นด้านหลังศาลหลักเมืองสมุทรสาครหลังเดิม และได้อัญเชิญเจ้าพ่อหลักเมืองไปประดิษฐาน ณ ที่เดียวกัน โดยได้รื้อศาลเจ้าพ่อหลักเมืองทิ้ง แต่ชาวบ้านไม่พอใจและลงความเห็นว่าควรจะสร้างศาลใหม่ขึ้นในที่เดิม จากนั้นจึงมีการระดมทุนจากชาวบ้านเพื่อสร้างศาลใหม่ตามรูปทรงสถาปัตยกรรมจีนในปี พ.ศ.2525 และได้อัญเชิญเจ้าพ่อลงมาประดิษฐานยังศาลที่สร้างขึ้นใหม่ ทั้งชาวประมง ชาวจีน และชาวบ้านต่างศรัทธาในเจ้าพ่อ เมื่อมีเรื่องเดือดร้อนมักจะมาขอให้เจ้าพ่อช่วย ถ้าได้สมดังคำขอก็จะมาแก้บนด้วยฝิ่นและนำไปป้ายที่ปากเจ้าพ่อ

ศาลเจ้าพ่อเขาตกทั้งห้า อำเภอบ้านแพ้ว

ศาลเจ้าพ่อเขาตกทั้งห้า เป็นอาคารปูนในที่ดินของนายพงศ์ศักดิ์ เลิศโชติวงศ์ สร้างเมื่อปี พ.ศ.2556 สร้างโดยชุมชนชาวจีนคลองดำเนินสะดวก

ศาลเจ้าสำนักไต่เสี่ย อำเภอบ้านแพ้ว

สร้างมาประมาณ 40 ปี เป็นอาคารไม้ใช้เป็นตำหนักของร่างทรงเจ้าพ่อไต่เสี่ย หรือเจ้าพ่อเฮงเจีย

ศาลเจ้าแม่กวนอิม มูลนิธิแพร่ศีลธรรมการกุศลสงเคราะห์ อำเภอบ้านแพ้ว

ศาลเจ้าแม่กวนอิม ภายในมูลนิธิแพร่ศีลธรรมการกุศลสงเคราะห์ (เม่งซวงเซี่ยงตั๊ว) ริมคลองดำเนินสะดวกและคลองอ้อมใหญ่

ศาลเจ้าแม่กวนอิม วัดคลองตันราษฎร์บำรุง อำเภอบ้านแพ้ว

ภายในวัดคลองตันมีศาลประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อต่าง ๆ รวมถึงศาลเจ้าแม่กวนอิม ที่ตั้งอยู่ติดกับศาลของพระพิฆเนศ

ศาลเจ้าแม่กวนอิม วัดฟุ้งประชาธรรมาราม อำเภอบ้านแพ้ว

ศาลเจ้าแม่กวนอิม วัดฟุ้งประชาธรรมาราม(ดอนราว) ทางวัดจะจัดงานทิ้งกระจาดและพิธีสักการะองค์พระโพธิสัตว์กวนอิมในช่วงเดือนสิงหาคม

close