ศาสนสถานและศาลสิ่งศักดิ์สิทธิ์
14 แห่ง
ศาลเจ้าพ่อพาหล ตั้งอยู่ริมคลองตาขำ ต.อำแพง ในชุมชนชาวมอญ มีอายุประมาณ 100 ปี แต่เดิมเป็นศาลเล็กๆ หลังคามุงจาก อยู่ใต้ต้นสะแก ชาวบ้านจะมาตัดต้นสะแกแล้วนำไปฝนเป็นยา ต่อมาปรับปรุงให้มีขนาดใหญ่ กว้างประมาณ 2 เมตร ฝาผนังสร้างด้วยปูนหลังคามุงกระเบื้อง ภายในมีแท่นบูชา มีรูปเคารพต่างๆ ได้แก่ เจ้าพ่อพาหลนุ่งโจงกระเบนสีแดง มือขวาถือดาบ พ่อปู่สมิงพราย เจ้าพ่อพวงมาลัยนุ่งขาวห่มขาว หลวงพ่อชินราช รูปปั้นช้างขนาดต่างๆ ชาวบ้านจะมากราบไหว้ขอพรและโชคลาภ เมื่อได้ตามคำขอ จะมาแก้บนด้วยหัวหมู ไก่ พวงมาลัย ชายหนุ่มที่จะบวชจะต้องมาลาเจ้าพ่อที่ศาลนี้ และมีการจัดงานประจำปีไหว้เจ้าพ่อในช่วง 9 ค่ำ เดือนหก พร้อมกับการประทับทรง แต่ปัจจุบันคนทรงเสียชีวิตไปแล้ว
ศาลเจ้าพ่อล่องหนตั้งอยู่หน้าวัดเจ็ดริ้ว บริเวณริมคลองเจ็ดริ้ว ซึ่งเป็นชุมชนชาวมอญ สร้างขึ้นโดยนางเก็กเช็ง เมื่อ พ.ศ.2453 แต่เดิมศาลนี้อยู่เชิงสะพานริมคลองเจ็ดริ้ว ต่อมาย้ายไปอยู่ในสวนของชาวบ้าน แต่การเดินทางเข้าไปที่ศาลยากลำบากจึงย้ายมาอยู่ในบริเวณหน้าวัดเจ็ดริ้วศาลสร้างด้วยไม้กว้างประมาณ 8 เมตร ยาวประมาณ 10 เมตร ภายในมีแท่นบูชาพระพุทธรูป ตุ๊กตาฤาษี ตุ๊กตานารำ ตุ๊กตาจระเข้ พร้อมกับเครื่องเซ่นไหว้ ได้แก่ ดอกไม้ ธูปเทียน น้ำแดง ขนม มะพร้าว ฯลฯ บริเวณหน้าศาลมีต้นไทรขนาดใหญ่ ชาวบ้านจะนำสิ่งของมาแก้บน เช่น ชุดไทย และผูกผ้าสีรอบต้นไทร ในช่วงวันที่ 15 เดือนเมษายน จะมีการจัดพิธีเซ่นไหว้เจ้าพ่อล่องหนประจำทุกปี และมีพิธีทำบุญในช่วงเดือนสามและเดือนเก้า ชาวมอญที่จะบวชจะต้องมากราบลาเจ้าพ่อที่ศาลเพื่อเป็นศิริมงคลร่างทรงเจ้าพ่อล่องหน เป็นหญิงวัยกลางคน ได้ประทับทรงเจ้าพ่อล่องหน อธิบายประวัติของเจ้าพ่อว่า “พ่ออยู่มา 4 ชั่วอายุคนนะ ร่างของพ่อคนนี้คือคนที่ 4 พ่ออยู่มาดึกดำบรรพ์ แถวนี้เป็นป่าเป็นเขา ต้นไม้ใหญ่ เขาถางกัน แบ่งเนื้อที่ ใครตัดเยอะก็ได้เยอะ สมัยก่อนเป็นนา เป็นท้องนา เขาทำศาลให้พ่อ มุงหญ้าคา ทำจากไม้ฟาก ใหญ่กว่าศาลพระภูมิหน่อย ที่นี่ถ้าไม่เชื่อเดี๋ยวมันก็โดน ไม่ต้องไปบอกมันหรอก แค่มันบวชแล้วไม่สมา แค่นั้นก็เห็นผลแล้ว รุ่นหลังใครจะบวชต้องไปรับร่างข้ามา เวลาจุดธูปกลางแจ้ง กลางแจ้งนี่มีความหมายนะ แบ่งให้เจ้าแม่ธรณี เจ้าที่เจ้าทาง เจ้าดั้งเจ้าเดิม สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สิงสถิต ญาณที่รับรู้มาโมทนาด้วยกัน แม้แต่เทพเบื้องบน ไม่ใช่อยู่ๆไปจุด เจ้าของที่แต่ละที่มันเฮี้ยน โคกบ้าน โคกเรือน โคกสวน โคกนา เจ้าของบ้านเขาเรียกไม่ถูก ให้เชิญร่างไป อาศัยพ่ออยู่ด้วย พ่อก็เรียกมาให้หมด จะได้ทำถูกในงาน แล้วเจ้าของที่เจ้าของทางเขาไม่ได้ผุดได้เกิด เขารอส่วนบุญ ให้เจ้าภาพเรียกถูกได้แบ่งบุญให้เขา พ่อมีหน้าที่แค่นี้ รุ่นที่ 3 เป็นแม่ครัว พอเขาตั้งเครื่องไตรกลางแจ้ง ไม่ทันเจ้าของบ้านเรียก ร่างข้าก็ทิ้งหมด ตะหลิว กระทะให้มันไหม้อยู่บนเตานั่นแหละ ข้าก็มา แต่ร่างของข้าคนนี้(ปัจจุบัน) ถือว่าเขามีบุญ รูปร่างอาจจะไม่สวย แต่จิตใจงาม เขาเป็นคนที่ไม่ชอบรำ รำไม่เป็น รำแล้วอาย รำไปแล้วเที่ยงคืนตีหนึ่งนอนไม่หลับ สภาพพ่อสิงสถิตตอนรำมันเป็นแบบไหน อายเขา แล้วเขาก็ด้วยสติปัญญา บุญบารมีเชา เขาบอกพ่อมารำอยู่อย่างนี้ไม่ได้หรอก ใครมาดู มาขอความช่วยเหลือ วางค่าครู 12 บาท เขาก็รวมๆไว้ ได้เงิน 24 บาท ก็รวมไว้ ทีนี้พี่ชายเขาก็บวชหลาน เขาก็เอาเงินที่รวมไว้ไปเข้าไตรกับพี่ชายเขา เขาก็บอกว่าอย่าเก็บไว้ เอาไปให้ร้านเจ็กร้านจีนไปเลย กว่าจะถึงงานค่าไตรได้แค่นั้นเอง พอรวมได้อีกอันนี้ถวายพระอุปปัชชาย์ พอไม่มีก็บวชไม่ได้ พอรวมได้อีกหน่อย เขาบอกว่าอันนี้ฉลองพระใหม่นะ อันนี้โปรยทานนะ เวลากรวดน้ำคือบ้านลูกหลานเขาเองใช่ไหม เขามีสิทธิ์เต็มที่ เขากรวดน้ำเขาเรียกชื่อ พ่อล่องหนมารับส่วนบุญส่วนกุศลค่าครูของพ่อ ข้าน้ำตาร่วงว่ะ ถือว่าข้าเป็นเทียนแต่เขาจุดให้ข้าสว่าง ข้ามืดมนเนอะ ช่วยเหลือแต่มนุษย์อยู่ งานบวชชอบก็ได้แต่ไปรำๆ สนุก แต่เดี๋ยวนี้ข้าไม่รำแล้วนะ งานบวชถ้านาคยกมือไหว้ พ่อแม่นาคยกมือไหว้ ข้าก็จะรำ อยู่ๆให้ข้ารำไม่รำแล้ว ข้าได้บุญ อิ่มบุญ เวลาคนมาแก้บน สมัยก่อนก็มีแค่ร้องเพลงเกี้ยวจีบหนุ่มจีบสาว ทะแยมอญ ร้องเกี้ยวกันไปมา ไม่มีอะไร แต่สมัยนี้มันกินใจ มันแต่งตามภาษาของมัน แต่มันกินใจพ่อ มันเป่ากันวันที่ 15 เมษา มันบอก “ทะเลก็คือชีวิต” พ่อชอบมากเพราะอะไรรู้ไหม ชีวิตพ่อเหมือนทะเล พอคนเดือดร้อนก็มาหาพ่อ ช่วยเหลือเสร็จคลื่นลูกนั้นก็เข้าฝั่งไป คลื่นลูกใหม่ก็มาเรื่อยๆ พ่อไม่เรียกร้องอะไร พ่อมีของพ่ออย่างนี้ พ่อไม่มีลูกศิษย์ อยากจะมาอยากจะไปได้ทั้งนั้น พ่อไม่มีองค์ พ่อไม่มีขันธ์ พ่อไม่ต้องมาเสริมดวง สมัยใหม่เขามีองค์ มีเสริมดวง พ่อไม่รับ มีลูกเยอะก็เหนื่อยเยอะ ลูกที่ดีก็มี ที่ชั่วก็มี ถ้ามีลูกชั่วแล้วเขาบอกเป็นลูกพ่อล่องหน พอก็เสีย พ่ออยู่แบบสบายๆ ไม่ต้องแบกภาระอะไร ” (สัมภาษณ์ 8 ธันวาคม 2559)ชาวบ้านในตำบลเจ็ดริ้ว เล่าถึงความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าพ่อล่องหนว่า “พวกที่ชอบลองของ พวกโจรที่ชอบไปปล้นก็จะมาหลบที่ศาลพ่อ ก็หาไม่เจอ แล้วเขาก็เล่าว่า สมัยก่อนที่นี่เป็นไม้แล้วก็มาหยิบเอาของไป ไม่บอกไม่กล่าว พอเหยียบลงไปในน้ำ ก็ไปเจอกับหลังของพ่อเขาพอดี (จระเข้) จนปัจจุบันนี้คนๆ นั้นก็ไม่ลงน้ำคลองเจ็ดริ้วอีกเลย เมื่อประมาณ 2-3 ปีที่แล้ว คนขับรถ เจ็ดริ้ว – มหาชัย เขาทำท่าไหนไม่รู้ เขาก็มาล้างมือตรงนี้ แล้วเขาก็เห็นพ่อ เลยไม่กล้าขับรถอีกเลย เห็นพ่อวันทอง (จระเข้) เพราะพ่อวันทองแกดุ ช่วงสงกรานต์ แถวนี้คนจะเต็มไปหมด เป็นงานปีของเขา ลูกศิษย์เขาก็จะมา พอเลี้ยงเพลเสร็จร่างทรงเขาก็จะลง ก็จะเห็นทั้ง พ่อวันทอง พ่อล่องหน พ่อเอี่ยม พ่อทุ่ง พ่อจันทร์ มาหมดทุกพ่อ พ่อวันทองก็คือเรือของเขา(จระเข้) แล้วก็จะมีพวกร่างทรงที่อื่นเข้ามา แต่เขาก็ไม่ได้ขึ้นมานั่ง เขาก็นั่งอยู่ข้างนอก ที่นี่พ่อล่องหนจะใหญ่ ส่วนพ่อเอี่ยม พ่อจันทร์ พ่ออ้น ก็จะเป็นลูกศิษย์เขา เขาก็จะมีกลองยาว แตรวง ช่วงสงกรานต์เจ้าพ่อก็จะรำ ก็จะมีการทำพิธีสะเดาะเคราะห์ปัดเป่า ลูกศิษย์ก็จะมาทำโรงทานแจกอาหารให้กินฟรี จะจัดงานวันที่ 15 เมษยน ส่วนวันที่ 16 จะแห่หลวงพ่อดำ จะแห่หลวงพ่อดำไปรอบตำบล แล้วชาวบ้านก็ปะน้ำ” (สัมภาษณ์ 8 ธันวาคม 2559)
ศาลเจ้าพ่อล่องหนตั้งอยู่หน้าวัดเจ็ดริ้ว บริเวณริมคลองเจ็ดริ้ว ซึ่งเป็นชุมชนชาวมอญ สร้างขึ้นโดยนางเก็กเช็ง เมื่อ พ.ศ.2453 แต่เดิมศาลนี้อยู่เชิงสะพานริมคลองเจ็ดริ้ว ต่อมาย้ายไปอยู่ในสวนของชาวบ้าน แต่การเดินทางเข้าไปที่ศาลยากลำบากจึงย้ายมาอยู่ในบริเวณหน้าวัดเจ็ดริ้ว ศาลสร้างด้วยไม้กว้างประมาณ 8 เมตร ยาวประมาณ 10 เมตร ภายในมีแท่นบูชาพระพุทธรูป ตุ๊กตาฤาษี ตุ๊กตานารำ ตุ๊กตาจระเข้ พร้อมกับเครื่องเซ่นไหว้ ได้แก่ ดอกไม้ ธูปเทียน น้ำแดง ขนม มะพร้าว ฯลฯ บริเวณหน้าศาลมีต้นไทรขนาดใหญ่ ชาวบ้านจะนำสิ่งของมาแก้บน เช่น ชุดไทย และผูกผ้าสีรอบต้นไทร ในช่วงวันที่ 15 เดือนเมษายน จะมีการจัดพิธีเซ่นไหว้เจ้าพ่อล่องหนประจำทุกปี และมีพิธีทำบุญในช่วงเดือนสามและเดือนเก้า ชาวมอญที่จะบวชจะต้องมากราบลาเจ้าพ่อที่ศาลเพื่อเป็นศิริมงคลร่างทรงเจ้าพ่อล่องหน เป็นหญิงวัยกลางคน ได้ประทับทรงเจ้าพ่อล่องหน อธิบายประวัติของเจ้าพ่อว่า “พ่ออยู่มา 4 ชั่วอายุคนนะ ร่างของพ่อคนนี้คือคนที่ 4 พ่ออยู่มาดึกดำบรรพ์ แถวนี้เป็นป่าเป็นเขา ต้นไม้ใหญ่ เขาถางกัน แบ่งเนื้อที่ ใครตัดเยอะก็ได้เยอะ สมัยก่อนเป็นนา เป็นท้องนา เขาทำศาลให้พ่อ มุงหญ้าคา ทำจากไม้ฟาก ใหญ่กว่าศาลพระภูมิหน่อย ที่นี่ถ้าไม่เชื่อเดี๋ยวมันก็โดน ไม่ต้องไปบอกมันหรอก แค่มันบวชแล้วไม่สมา แค่นั้นก็เห็นผลแล้ว รุ่นหลังใครจะบวชต้องไปรับร่างข้ามา เวลาจุดธูปกลางแจ้ง กลางแจ้งนี่มีความหมายนะ แบ่งให้เจ้าแม่ธรณี เจ้าที่เจ้าทาง เจ้าดั้งเจ้าเดิม สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สิงสถิต ญาณที่รับรู้มาโมทนาด้วยกัน แม้แต่เทพเบื้องบน ไม่ใช่อยู่ๆไปจุด เจ้าของที่แต่ละที่มันเฮี้ยน โคกบ้าน โคกเรือน โคกสวน โคกนา เจ้าของบ้านเขาเรียกไม่ถูก ให้เชิญร่างไป อาศัยพ่ออยู่ด้วย พ่อก็เรียกมาให้หมด จะได้ทำถูกในงาน แล้วเจ้าของที่เจ้าของทางเขาไม่ได้ผุดได้เกิด เขารอส่วนบุญ ให้เจ้าภาพเรียกถูกได้แบ่งบุญให้เขา พ่อมีหน้าที่แค่นี้ รุ่นที่ 3 เป็นแม่ครัว พอเขาตั้งเครื่องไตรกลางแจ้ง ไม่ทันเจ้าของบ้านเรียก ร่างข้าก็ทิ้งหมด ตะหลิว กระทะให้มันไหม้อยู่บนเตานั่นแหละ ข้าก็มา แต่ร่างของข้าคนนี้(ปัจจุบัน) ถือว่าเขามีบุญ รูปร่างอาจจะไม่สวย แต่จิตใจงาม เขาเป็นคนที่ไม่ชอบรำ รำไม่เป็น รำแล้วอาย รำไปแล้วเที่ยงคืนตีหนึ่งนอนไม่หลับ สภาพพ่อสิงสถิตตอนรำมันเป็นแบบไหน อายเขา แล้วเขาก็ด้วยสติปัญญา บุญบารมีเชา เขาบอกพ่อมารำอยู่อย่างนี้ไม่ได้หรอก ใครมาดู มาขอความช่วยเหลือ วางค่าครู 12 บาท เขาก็รวมๆไว้ ได้เงิน 24 บาท ก็รวมไว้ ทีนี้พี่ชายเขาก็บวชหลาน เขาก็เอาเงินที่รวมไว้ไปเข้าไตรกับพี่ชายเขา เขาก็บอกว่าอย่าเก็บไว้ เอาไปให้ร้านเจ็กร้านจีนไปเลย กว่าจะถึงงานค่าไตรได้แค่นั้นเอง พอรวมได้อีกอันนี้ถวายพระอุปปัชชาย์ พอไม่มีก็บวชไม่ได้ พอรวมได้อีกหน่อย เขาบอกว่าอันนี้ฉลองพระใหม่นะ อันนี้โปรยทานนะ เวลากรวดน้ำคือบ้านลูกหลานเขาเองใช่ไหม เขามีสิทธิ์เต็มที่ เขากรวดน้ำเขาเรียกชื่อ พ่อล่องหนมารับส่วนบุญส่วนกุศลค่าครูของพ่อ ข้าน้ำตาร่วงว่ะ ถือว่าข้าเป็นเทียนแต่เขาจุดให้ข้าสว่าง ข้ามืดมนเนอะ ช่วยเหลือแต่มนุษย์อยู่ งานบวชชอบก็ได้แต่ไปรำๆ สนุก แต่เดี๋ยวนี้ข้าไม่รำแล้วนะ งานบวชถ้านาคยกมือไหว้ พ่อแม่นาคยกมือไหว้ ข้าก็จะรำ อยู่ๆให้ข้ารำไม่รำแล้ว ข้าได้บุญ อิ่มบุญ เวลาคนมาแก้บน สมัยก่อนก็มีแค่ร้องเพลงเกี้ยวจีบหนุ่มจีบสาว ทะแยมอญ ร้องเกี้ยวกันไปมา ไม่มีอะไร แต่สมัยนี้มันกินใจ มันแต่งตามภาษาของมัน แต่มันกินใจพ่อ มันเป่ากันวันที่ 15 เมษา มันบอก “ทะเลก็คือชีวิต” พ่อชอบมากเพราะอะไรรู้ไหม ชีวิตพ่อเหมือนทะเล พอคนเดือดร้อนก็มาหาพ่อ ช่วยเหลือเสร็จคลื่นลูกนั้นก็เข้าฝั่งไป คลื่นลูกใหม่ก็มาเรื่อยๆ พ่อไม่เรียกร้องอะไร พ่อมีของพ่ออย่างนี้ พ่อไม่มีลูกศิษย์ อยากจะมาอยากจะไปได้ทั้งนั้น พ่อไม่มีองค์ พ่อไม่มีขันธ์ พ่อไม่ต้องมาเสริมดวง สมัยใหม่เขามีองค์ มีเสริมดวง พ่อไม่รับ มีลูกเยอะก็เหนื่อยเยอะ ลูกที่ดีก็มี ที่ชั่วก็มี ถ้ามีลูกชั่วแล้วเขาบอกเป็นลูกพ่อล่องหน พอก็เสีย พ่ออยู่แบบสบายๆ ไม่ต้องแบกภาระอะไร ” (สัมภาษณ์ 8 ธันวาคม 2559)ชาวบ้านในตำบลเจ็ดริ้ว เล่าถึงความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าพ่อล่องหนว่า “พวกที่ชอบลองของ พวกโจรที่ชอบไปปล้นก็จะมาหลบที่ศาลพ่อ ก็หาไม่เจอ แล้วเขาก็เล่าว่า สมัยก่อนที่นี่เป็นไม้แล้วก็มาหยิบเอาของไป ไม่บอกไม่กล่าว พอเหยียบลงไปในน้ำ ก็ไปเจอกับหลังของพ่อเขาพอดี (จระเข้) จนปัจจุบันนี้คนๆ นั้นก็ไม่ลงน้ำคลองเจ็ดริ้วอีกเลย เมื่อประมาณ 2-3 ปีที่แล้ว คนขับรถ เจ็ดริ้ว – มหาชัย เขาทำท่าไหนไม่รู้ เขาก็มาล้างมือตรงนี้ แล้วเขาก็เห็นพ่อ เลยไม่กล้าขับรถอีกเลย เห็นพ่อวันทอง (จระเข้) เพราะพ่อวันทองแกดุ ช่วงสงกรานต์ แถวนี้คนจะเต็มไปหมด เป็นงานปีของเขา ลูกศิษย์เขาก็จะมา พอเลี้ยงเพลเสร็จร่างทรงเขาก็จะลง ก็จะเห็นทั้ง พ่อวันทอง พ่อล่องหน พ่อเอี่ยม พ่อทุ่ง พ่อจันทร์ มาหมดทุกพ่อ พ่อวันทองก็คือเรือของเขา(จระเข้) แล้วก็จะมีพวกร่างทรงที่อื่นเข้ามา แต่เขาก็ไม่ได้ขึ้นมานั่ง เขาก็นั่งอยู่ข้างนอก ที่นี่พ่อล่องหนจะใหญ่ ส่วนพ่อเอี่ยม พ่อจันทร์ พ่ออ้น ก็จะเป็นลูกศิษย์เขา เขาก็จะมีกลองยาว แตรวง ช่วงสงกรานต์เจ้าพ่อก็จะรำ ก็จะมีการทำพิธีสะเดาะเคราะห์ปัดเป่า ลูกศิษย์ก็จะมาทำโรงทานแจกอาหารให้กินฟรี จะจัดงานวันที่ 15 เมษยน ส่วนวันที่ 16 จะแห่หลวงพ่อดำ จะแห่หลวงพ่อดำไปรอบตำบล แล้วชาวบ้านก็ปะน้ำ” (สัมภาษณ์ 8 ธันวาคม 2559)
ศาลเจ้าพ่อสุวรรณสาม ตั้งอยู่ในชุมชนชาวมอญ ตั้งอยู่ริมคลองเขื่อนขันธ์ (คลองหลวง) ต.หลักสอง มีอายุเก่าแก่ประมาณ 100 ปี แต่เดิมเป็นศาลเล็กๆ ต่อมาเมื่อ 20 ปีที่แล้วปรับปรุงให้ใหญ่ขึ้น มีความกว้างประมาณ 2 เมตรครึ่ง ฝาผนังทำจากไม้ ภายในมีโต๊ะบูชา มีรูปปั้นชายชรานุ่งขาวห่มขาว สมัยก่อนเคยมีพระพุทธรูปอยู่ในศาล แต่ถูกขโมยไป สมัยก่อนเคยมีร่างทรง แต่เมื่อร่างทรงเสียชีวิตไปแล้ว ปัจจุบันไม่มีการเข้าทรง ชาวบ้านที่อยู่บริเวณนี้จะมาขอให้เจ้าพ่อช่วยให้ค้าขายผลไม้ได้
ศาลเจ้าแม่ทุ่งอินทรีย์ อยู่ริมคลองรางเชิงหวาย ต.หลักสาม ในชุมชนชาวมอญ แต่เดิมเป็นศาลเล็ก ๆ มีอายุเก่าแก่ประมาณ 100 ปี ปัจจุบันมีการปรับปรุงต่อเติมอาคารไม้หลังมุงกระเบื้องด้านหน้ายาวประมาณ 6 เมตร มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ ตัวศาลสร้างอยู่ตรงกลางเป็นอาคารแยกต่างหาก กว้างประมาณ 1 เมตร ภายในประดิษฐานแผ่นไม้เจว็ด รูปปั้นชายชรานุ่งขาวห่มขาว รูปปั้นผู้หญิง มีพวงมาลัยห้อยอยู่หน้าศาล