โพสต์เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 10:43:43
บทความโดย : ทีมงาน
เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินงานทางโบราณคดีตามโครงการอนุรักษ์และพัฒนากำแพงเมือง-คูเมืองฝาง อ. ฝาง จ. เชียงใหม่ ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการขุดแต่ง โดยความคืบหน้าล่าสุด พบว่ากำแพงเมืองฝาง มีลักษณะแกนชั้นในเป็น ก่อหุ้มด้านบนและด้านในกำแพงด้วยอิฐ การวิเคราะห์ลักษณะก่ออิฐ เบื้องต้นพบองค์ประกอบกำแพงเมือง ดังนี้ ด้านในกำแพงมีการก่อในลักษณะชั้นก่อลดหุ้มแกนดินประมาณ 3-4 ชั้นโดยมีการทำฐานราก ถัดขึ้นไปบนกำแพงแกนดินเป็นเชิงเทินก่ออิฐกว้างประมาณ 1 เมตร ใต้พื้นเชิงเทินมีการก่ออิฐเป็นแกนเพื่อยึดระหว่างชั้นก่อลดกับกำแพงอิฐ ถัดจากเชิงเทินเป็นกำแพงก่ออิฐมีฐานราก หนาประมาณ 1 เมตร ส่วนพื้นผิวด้านนอกเป็นดินไม่มีการก่ออิฐหุ้มแต่อย่างใด
ภาพจาก มติชนออนไลน์
กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ ยังระบุว่า การก่ออิฐกำแพงเมือง-คูเมืองฝาง ถือเป็นลักษณะเทคนิคเชิงช่างที่น่าสนใจ ซึ่งมีความแตกต่างจากเมืองเชียงใหม่ เมืองเชียงแสน และเมืองลำพูน
ที่มา : มติชนออนไลน์ 4 กุมภาพันธ์ 2560
ผู้เขียน :
คำสำคัญ : กำแพงเมืองฝาง คูเมืองฝาง