วัดบางกระเจ้า

วัดบางกระเจ้า

เผยแพร่เมื่อ: 7 เมษายน 2565 | 

ปรับปรุงแก้ไขเมื่อ: 8 เมษายน 2565

ที่ตั้งตามการปกครอง หมู่ 6 บ้านบางกระเจ้า ตำบลบางกระเจ้า อำเภอเมืองสมุทรสาคร
ละติจูด 13.515563
ลองจิจูด 100.19748
รายละเอียดศาสนสถานและศาลสิ่งศักดิ์สิทธิ์

วัดบางกระเจ้า เป็นวัดราษฎร์ สังกัดมหานิกาย ไม่มีประวัติการก่อสร้างที่แน่ชัด เอกสารหนังสือรับรองวัดระบุว่า วัดบางกระเจ้า ตั้งเมื่อ พ.ศ.2338 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2376 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 10 เมตร ยาว 16 เมตร (กองพุทธศาสนสถาน 2545 : 36)

อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย

พระอุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ.2467 เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 16 เมตร หลังคาเครื่องไม้ลดชั้น 2 ชั้น ด้านหน้าและหลังทำเป็นหลังคาลดชั้นยื่นออกมา รองรับโครงหลังคาด้วยเสาปูนหกเหลี่ยมด้านละ 4 ต้น มุงกระเบื้องสีชั้นละ 2 ตับ มีช่อฟ้าใบระกาปั้นปูนประดับกระจกสี หน้าบันมุขด้านหน้าปั้นปูนประดับกระจกทำเป็นกนกนาคล้อมรอบ ตรงกลางเป็นรูปพานพุ่มประดับกระจกสีลายธงชาติ ด้านล่างเป็นไม้ฉลุลายทรงสามเหลี่ยม มีประตูทางเข้าทั้งสองด้าน ด้านละ 2 ประตู บานประตูทาสีแดงไม่มีลวดลาย ผนังด้านข้างทั้งสองด้านมีช่องหน้าต่างด้านละ 4 ช่อง บานประตูหน้าต่างทาสีแดงกรอบเหลือง ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระพุทธรูปประทับยืน และนั่ง แสดงปางต่างๆ ศิลปะรัตนโกสินทร์ โดยรอบพระอุโบสถมีซุ้มเสมาทรงดอกบัวล้อมรอบภายในมีเสมาทาสีทองปักอยู่ ด้านหน้าพระอุโบสถมีเจดีย์ทรงระฆัง 3  องค์ ได้รับการซ่อมแซมใหม่และทาสีทองทั้ง 3 องค์


ประเภท ศาสนสถาน
ศาสนา พุทธ
นิกาย/ลัทธิ เถรวาท
คำสำคัญ ไทยพื้นถิ่น
รูปแบบลิขสิทธิ์ อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า (CC-BY-NC)

บรรณานุกรม

ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 21
ผู้แต่ง กองพุทธศาสนสถาน
ชื่อหนังสือ/วารสาร ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 21
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์การศาสนา
ปีที่พิมพ์ 2545
วัฒนธรรม พัฒนาการ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสมุทรสาคร
ผู้แต่ง คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ
ชื่อหนังสือ/วารสาร วัฒนธรรม พัฒนาการ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสมุทรสาคร
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว
ปีที่พิมพ์ 2543
ประวัติวัดในจังหวัดสมุทรสาคร สังกัดมหานิกาย จำนวน 96 วัด
ชื่อหนังสือ/วารสาร ประวัติวัดในจังหวัดสมุทรสาคร สังกัดมหานิกาย จำนวน 96 วัด
สถานที่พิมพ์ (เอกสารโรเนียว. จัดเก็บอยู่ในสำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี)

รูปภาพ

close