วัดอ่างทอง
เผยแพร่เมื่อ: 20 ธันวาคม 2562 |
ปรับปรุงแก้ไขเมื่อ: 7 เมษายน 2565
ที่ตั้งตามการปกครอง | หมู่ 11 ตำบลบางยาง อำเภอกระทุ่มแบน |
ละติจูด | 13.644163 |
ลองจิจูด | 100.225216 |
รายละเอียดศาสนสถานและศาลสิ่งศักดิ์สิทธิ์ |
วัดอ่างทอง ด้านทิศเหนือติดกับที่เอกชน ด้านทิศใต้ติดกับแม่น้ำท่าจีน ด้านทิศตะวันออกติดกับที่ดินเอกชน ด้านทิศตะวันตกติดกับที่เอกชน พื้นที่ตั้งวัดมี 28 ไร่ 24 ตารางวา สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2404 ไม่ปรากฏหลักฐานผู้สร้าง และผู้บริจาคถวายที่ดินเพื่อสร้างวัด ที่มาของชื่อวัดมีตำนานกล่าวว่า พื้นที่ดังกล่าวมีต้นไม้ใหญ่ จำเป็นต้องโค่นเพื่อใช้สถานที่สร้างวัด ในยามค่ำคืนก่อนที่จะทำการโค่นต้นไม้นี้ ได้เกิดปรากฏการณ์มหัศจรรย์ มีแสงประหลาดพวยพุ่งขึ้นมาจากพื้นดิน สูงคล้ายดอกไม้เพลิงสว่างโชติช่วง ตามโบราณกล่าวว่าทรัพย์แผ่นดินเคลื่อนที่ จึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นทอง ซึ่งเป็นทรัพย์แผ่นดินที่ฝังอยู่และเคลื่อนไปอยู่ที่อื่น เมื่อสร้างวัดเสร็จชาวบ้านจึงตกลงกันตั้งชื่อวัดว่า “วัดอ่างทอง” อีกนัยหนึ่ง บริเวณสถานที่ที่สร้างวัดมีรูปลักษณ์คล้ายอ่าง โดยมีแม่น้ำท่าจีนล้อมรอบอยู่ จึงได้ชื่อวัดดังกล่าวว่า “วัดอ่างทอง” วัดได้รับการบูรณะและพัฒนามาโดยตลอด (กรมศาสนากองพุทธศาสนสถาน 2545:95) ลำดับเจ้าอาวาส 1. พระยา 2. พระสงวน 3. พระชุ่ม พ.ศ.2453 - 2475 4. พระเป๊า อินฺทสโร พ.ศ.2475 - 2486 5. พระสมบุญ พ.ศ.2486 - 2498 6. พระเป๊า อินฺทสโร พ.ศ.2498 - 2502 7. พระครูเก๊า ธมฺมโชติ พ.ศ.2502 - 2518 8. พระครูสาครวุฒิสาร พ.ศ.2518 - 2528 9. พระครูสาครสุรรณาภรณ์ พ.ศ.2529-2550 10. พระมหาประเสริฐ โชติวโร พ.ศ.2550 - ปัจจุบัน อาคารเสนาสนะในวัด - ศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2500 เป็นอาคารไม้ทรงไทย กว้าง 12 เมตร ยาว 28 เมตร - อุโบสถ สร้างเมื่อประมาณปีพ.ศ. 2479-2480 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทยประยุกต์ กว้างประมาณ 8 เมตร ยาว 28 เมตร - หอสวดมนต์ สร้างเมื่อปีพ.ศ.2533 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทยประยุกต์ 2 ชั้น กว้าง 12 เมตร ยาว 44 เมตร - มณฑปจตุรมุข คอนกรีตเสริมเหล็กยกพื้นสูง - กุฏิสงฆ์ ไม่ระบุปีพ.ศ.ที่สร้าง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้หลังคาทรงไทย - ศาลาอเนกประสงค์ สร้างเมื่อปีพ.ศ.2522 เป็นอาคารไม้ทรงไทย - ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน 3 หลัง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก - เมรุ เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก - หอกลอง-หอระฆัง ไม่ระบุปีพ.ศ.ที่สร้าง เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ประเพณี/งานประจำปี - ทุกวันที่ 1 มกราคม ทำบุญตักบาตรวันขึ้นปีใหม่ - ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 วันมาฆบูชา ทำบุญ เวียนเทียน - เดือนเมษายน บรรพชาสามเณร - ทำบุญตักบาตรทุกวันตรุษไทย - วันที่ 13-15 เมษายน ทำบุญ ตักบาตร วันสงกรานต์ - วันที่ 13-15 เมษายน งานประจำปี - ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 วันวิสาขบูชา ทำบุญ ตักบาตร เวียนเทียน - ขึ้น 15 ค่ำ - แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ทำบุญวันอาสาฬหบูชา - วันเข้าพรรษา - 12 สิงหาคม ทำบุญวันแม่แห่งชาติ - วันขึ้น 15 ค่ำ - แรม 1 ค่ำ เดือน 11 วันออกพรรษา - ทอกฐินสามัคคี - ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 วันลอยกระทง - 5 ธันวาคม ทำบุญวันพ่อแห่งชาติ - 31 ธันวาคม ทำบุญส่งท้ายปีเก่า-สวดมนต์ข้ามปี |
ประเภท | ศาสนสถาน |
ศาสนา | พุทธ |
นิกาย/ลัทธิ | เถรวาท |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า (CC-BY-NC) |
วัฒนธรรม พัฒนาการ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสมุทรสาคร | |
ผู้แต่ง | คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุฯ |
ชื่อหนังสือ/วารสาร | วัฒนธรรม พัฒนาการ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสมุทรสาคร |
สถานที่พิมพ์ | กรุงเทพฯ |
สำนักพิมพ์ | โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว |
ปีที่พิมพ์ | 2543 |
ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 21 | |
ผู้แต่ง | กองพุทธศาสนสถาน |
ชื่อหนังสือ/วารสาร | ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 21 |
สถานที่พิมพ์ | กรุงเทพฯ |
สำนักพิมพ์ | โรงพิมพ์การศาสนา |
ปีที่พิมพ์ | 2545 |
ประวัติวัดในจังหวัดสมุทรสาคร(ฝ่ายมหานิกาย) | |
ชื่อหนังสือ/วารสาร | ประวัติวัดในจังหวัดสมุทรสาคร(ฝ่ายมหานิกาย) |
สถานที่พิมพ์ | นครปฐม |
สำนักพิมพ์ | สำนักพิมพ์ระฆังทอง |
ครั้งที่พิมพ์ | 2 |
ปีที่พิมพ์ | 2549 |
(สัมภาษณ์เมื่อ 3 มิถุนายน 2560) | |
ผู้แต่ง | พระนวพล กิตติสาโร |
ชื่อหนังสือ/วารสาร | (สัมภาษณ์เมื่อ 3 มิถุนายน 2560) |
ปีที่พิมพ์ | 2560 |