วัดอ้อมน้อย

วัดอ้อมน้อย

เผยแพร่เมื่อ: 20 ธันวาคม 2562 | 

ปรับปรุงแก้ไขเมื่อ: 7 เมษายน 2565

ที่ตั้งตามการปกครอง หมู่ 4 ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน
ละติจูด 13.704073
ลองจิจูด 100.297550
รายละเอียดศาสนสถานและศาลสิ่งศักดิ์สิทธิ์

วัดอ้อมน้อยตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.2410 โดยนายอ่วม นางฉิม(เสม) เกิดเจริญ เป็นผู้มีจิตศรัทธาถวายที่ดินเพื่อสร้างวัด เดิมเป็นเพียงที่พักสงฆ์ มีกุฏิ และหอสวดมนต์ ต่อมาได้มีผู้มีจิตศรัทธาถวายที่ดินเพิ่ม ได้แก่ นายเนิน-นางปุก เกิดเจริญ, นางสาวอาบ เกิดเจริญ, นางเชื้อ เจือสุคนธ์(เกิดเจริญ), นายจวน-นางทองสุข เกิดเจริญ และนางเยี่ยม ประชาศรี(เกิดเจริญ) ได้ช่วยทำนุบำรุงวัดมาโดยตลอด มีเจ้าอาวาสปกครองวัดจำนวนหลายรูป วัดได้รับการพัฒนาปลูกสร้าง และปรับปรุงเสนาสนะเรื่อยมา สมัยพระครูโสภณธรรมสาคร ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ท่านได้ทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จพระราชดำเนินยกช่อฟ้าพระอุโบสถ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2536  และต่อมาในปีพ.ศ.2537 พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี เสด็จมาเป็นประธานทรงตัดลูกนิมิต วัดอ้อมน้อยได้รับการบูรณะและพัฒนามาโดยตลอด

อาคารเสนาสนะในวัด

          - อุโบสถ  สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2536   เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงไทยประยุกต์รูปทรงนิยมในสมัยปัจจุบัน

          - ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2543 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก

          - กุฏิสงฆ์ 8 หลัง สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2540  เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้

          - โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดอ้อมน้อย สร้างเมื่อปีพ.ศ.2513 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น หลังคาทรงไทย

          - เมรุเผาศพ  สร้างเมื่อพ.ศ. 2509  อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก

ลำดับเจ้าอาวาส

          1. พระอธิการผัน                             

          2. พระอธิการฉาย

          3. พระอธิการเนตร

          4. พระอธิการจู

          5. พระอธิการแดง

          6. พระอธิการรอด

          7. พระครูสังฆรักษ์ขิต (ปลั่ง)

          8. พระอธิการหรั่ง

          9. พระอธิการเล้ง จนฺทสุวณฺโณ

          10. พระอธิการป่วน

          11. พระครูวิบูลย์สุตาธิการ (สว่าง เสือบำรุง)                   ปกครองตั้งแต่พ.ศ.2502 - 2534

          12. พระครูโสภณธรรมสาคร (ณรงค์ฤทธิ์ ฉิมมณี)              ปกครองตั้งแต่พ.ศ.2502 - 2534

          13. พระครูสาครธรรมานุวัตร (ชลิต อมโร)                     ปกครองตั้งแต่พ.ศ.2539 - 2541

          14. พระครูสาครธรรมาภรณ์ (ชุบ อธิปญฺโญ)                   ปกครองตั้งแต่พ.ศ.2541 - 2550

          15. พระครูสาครเขมคุณ (มนูญ เขมวํโส)                       ปกครองตั้งแต่พ.ศ.2550 - ปัจจุบัน


พระพุทธรูปและสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญ

          - หลวงพ่อเพ็ง พระประธานในอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 49 นิ้ว สูง 69 นิ้ว

ประเพณี/งานประจำปี

          - ทุกวันที่ 1 มกราคม       ทำบุญตักบาตรวันขึ้นปีใหม่

          - 17 มกราคม ทำบุญอุทิศแด่อดีตเจ้าคณะอำเภอ อดีตเจ้าอาวาส

          - ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3      วันมาฆบูชา ทำบุญ เวียนเทียน

          - ขึ้น 9 ค่ำ -ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4  งานประจำ ปิดทองหลวงพ่อเพ็ง พระประธานอุโบสถ

          - ทำบุญตักบาตรทุกวันตรุษไทย

          - วันที่ 13-15 เมษายน    ทำบุญ ตักบาตร วันสงกรานต์

          - ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6      วันวิสาขบูชา  ทำบุญ ตักบาตร เวียนเทียน

          - ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8      วันอาสาฬหบูชา  ทำบุญ ตักบาตร เวียนเทียน

          - วันเข้าพรรษา            ทำบุญ ตักบาตร ถวายผ้าอาบน้ำฝน

          - ทุกแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี ทำบุญวันสารทไทย

          - ทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ทำบุญวันมหาปวารณาออกพรรษา

          - ทุกแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ตักบาตรเทโวโรหณะ ทอดกฐินสามัคคี

          - 31 ธันวาคม    ทำบุญตักบาตรอาหารแห้ง/สวดเจริญพระพุทธมนต์ข้ามปี ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่


ประเภท ศาสนสถาน
ศาสนา พุทธ
นิกาย/ลัทธิ เถรวาท
คำสำคัญ ไทยพื้นถิ่น
รูปแบบลิขสิทธิ์ อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า (CC-BY-NC)

บรรณานุกรม

ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 21
ผู้แต่ง กองพุทธศาสนสถาน
ชื่อหนังสือ/วารสาร ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 21
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์การศาสนา
ปีที่พิมพ์ 2545
วัฒนธรรม พัฒนาการ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสมุทรสาคร
ผู้แต่ง คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ
ชื่อหนังสือ/วารสาร วัฒนธรรม พัฒนาการ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสมุทรสาคร
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว
ปีที่พิมพ์ 2543
ทะเบียนโบราณสถานจังหวัดสมุทรสาคร
ผู้แต่ง สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี
ชื่อหนังสือ/วารสาร ทะเบียนโบราณสถานจังหวัดสมุทรสาคร
ปีที่พิมพ์ 2553
ประวัติวัดในจังหวัดสมุทรสาคร สังกัดมหานิกาย จำนวน 96 วัด
ชื่อหนังสือ/วารสาร ประวัติวัดในจังหวัดสมุทรสาคร สังกัดมหานิกาย จำนวน 96 วัด
สถานที่พิมพ์ (เอกสารโรเนียว จัดเก็บอยู่ในสำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี)
เอกสารรายงานประกอบการเรียนวิชาการจัดการสาธารณูปการ เรื่อง วัดพัฒนา
ผู้แต่ง พระครูปลัดสมศักดิ์ ธนวํโส
ชื่อหนังสือ/วารสาร เอกสารรายงานประกอบการเรียนวิชาการจัดการสาธารณูปการ เรื่อง วัดพัฒนา
สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย หน่วยวิทยาบริการ คณะสังคมศาสตร์วัดไร่ขิง พระอารามหลวง พุทธศาสตร์บัณฑิต สาขาการจักการเชิงรุก
(สัมภาษณ์เมื่อ 27 พฤษภาคม 2560)
ผู้แต่ง พระครูสาครเขมคุณ (มนูญ เขมวํโส)
ชื่อหนังสือ/วารสาร (สัมภาษณ์เมื่อ 27 พฤษภาคม 2560)
ปีที่พิมพ์ 2560

รูปภาพ

close