เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา อเล็กซานเดอร์สตรีทเพรส (Alexander Street Press) ผู้เผยแพร่ฐานข้อมูลอิเล็คทรอนิกทางด้านวิชาการ ได้ประกาศเปิดให้บริการดรรชนีฉบับเต็ม ฐานข้อมูลเอกสารชั้นต้น ที่ชื่อ “Anthropological Fieldwork Online” โดยได้ทำการแปลงสภาพเอกสารจากการทำงานภาคสนามไปสู่รูปแบบดิจิทัล และรวบรวมงานจากภาคสนามที่ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์มาก่อนของนักวิชาการ ด้านมานุษยวิทยาคนสำคัญในช่วยต้นศตวรรษที่ 20 นักมานุษยวิทยาที่เป็นที่รู้จักกันดีและมีอิทธิพลอย่างมากในแวดวงนี้ อาทิ Bronislaw Malinowski, Ruth Benedict, Max Gluckman, Victor Turner, และ Raymond Firth ซึ่งบุคคลเหล่านี้ได้สร้างระเบียบวิธีวิจัยและทฤษฎีที่สอนในคอร์สต่าง ๆ ของวิชามานุษยวิทยาในปัจจุบัน
ฐานข้อมูลนี้รวบรวมเอกสารบันทึกภาคสนามไว้กว่า 250,000 หน้า ซึ่งเอกสารไม่ว่าจะเป็น สมุดบันทึก ภาพถ่าย และแถบบันทึกภาพและเสียง จากการทำงานภาคสนามในช่วงต้นถึงกลางศตวรรษที่ 20 ทำให้เข้าใจประวัติศาสตร์ของวิชามานุษยวิทยาจากมุมมองที่หลากหลายทั่วโลก และเผยให้เห็นพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของวิชามานุษยวิทยาจากทั้งอเมริกา เหนือ ยุโรป และเอเชียแปซิฟิค โดยเนื้อหาในเอกสารทำให้เห็นประสบการณ์ภาคสนามจากการสำรวจของนักวิจัยแต่ละ คน นอกจากนี้ยังมีจดหมายโต้ตอบ ต้นฉบับงานเขียนที่ภายหลังได้รับการตีพิมพ์ ทั้งที่เป็นลายมือเขียน การบรรยาย และบทความ ผู้ใช้เอกสารจะเห็นกระบวนการทำงานทางวิชาการที่เต็มไปด้วยคุณภาพ เห็นทุกกระบวนการทำงาน จากการเก็บรวบรวมข้อมูลในสนามสู่การวิเคราะห์ ลงมือเขียน และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ออกมาในท้ายที่สุด
เอกสาร ของมาลิโนวสกี ซึ่งถูกเก็บไว้ที่ the London School of Economics และ Yale University ชุดเอกสารประกอบไปด้วยเอกสารกว่า 12,000 หน้า ซึ่งเป็นสมุดบันทึก วารสาร ต้นฉบับที่เขียนด้วยลายมือ และจดหมายโต้ตอบจากการทำวิจัยที่หมู่เกาะโทรบริอันด์ ปี 1915-1918 นอกจากนี้ยังมีบันทึกและต้นฉบับที่นำไปสู่งานเขียน Argonauts of the Western Pacific ในปี 1922
สำหรับการจัดการเอกสาร ได้นำระบบการจัดการเช่นเดียวกับการจัดการเอกสารจดหมายเหตุมาใช้ รูปแบบฐานข้อมูลของอเล็กซานเดอร์สตรีทจะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถจำลอง ประสบการณ์การทำวิจัยภาคสนามผ่านเอกสารจดหมายเหตุในโลกดิจิทัล เนื้อหาและเมทาดาทาเกี่ยวกับเอกสารจะแสดงอยู่ใน finding aid เพื่อให้ข้อมูลว่าเอกสารชุดหรือชิ้นนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร ในกรณีที่เอกสารต้นฉบับชำรุดหรือสูญหาย ระเบียนเอกสารก็จะแนะนำนักวิจัยได้ว่ามีเอกสารดิจิทัลที่สามารถใช้ทดแทนได้ อยู่ที่ใด
การแปลงเอกสารไปสู่รูปแบบดิจิทัลเป็นความร่วมมือกันระหว่างสถาบันต่าง ๆ ที่เก็บรวบรวมเอกสารจดหมายเหตุต้นฉบับ เช่น the London School of Economics, Vassar College, Yale University, และ the Royal Anthropological Institute
ขณะ ที่สมุดบันทึกภาคสนามของมาลิโนวสกีจากการสำรวจหมู่เกาะโทรบริอันด์จำนวนมาก ถูกเก็บไว้ที่หอจดหมายเหตุ The London School of Economics and Political Science แต่ก็ยังมีอีกจำนวนหนึ่งเก็บไว้ที่มหาวิทยาลัยเยล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบันทึก 6 เล่มแรกจากการไปสำรวจในคราวนั้น
บันทึกจากทั้งสองแหล่งจัดเก็บนี้จะถูกนำมารวมเข้าอยู่ในคอเลคชั่นของมาลิโนวสกีในฐานข้อมูลนี้
ประโยชน์ที่นักวิจัยหรือนักศึกษาจะได้รับจากฐานข้อมูลนี้ คือ ทำให้เห็นที่มาและสามารถเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลชั้นต้นที่เป็นบันทึกภาคสนาม เข้ากับผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ของนักมานุษยวิทยา สามารถสืบค้นและเชื่อมโยงงานวิจัยที่เกิดในสมัยเดียวกันได้ และก่อให้เกิดการเขียนงานแนวทางใหม่ เอกสารบันทึกภาคสนามแสดงให้เห็นกระบวนการการทำงานเชิงวิชาการแบบครบทุกขั้น ตอน ตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างมีคุณภาพ วิเคราะห์ และนำไปสู่การตีพิมพ์เผยแพร่ นักวิจัยรุ่นหลังสามารถเข้าถึงผลงานด้านมรดกวัฒนธรรมที่มีคุณค่าในระดับสูง และอาจารย์ผู้สอนวิชามานุษยวิทยาสามารถนำเอกสารชั้นต้นเข้าไปผสมผสานกับวิชา เรียนได้ ทำให้นักศึกษาสามารถเข้าใจได้ดีขึ้น วิเคราะห์ เชื่อมโยง และวิพากษ์งานวิจัยทางด้านชาติพันธุ์วรรณาในบริบททางประวัติศาสตร์ได้
ตัวอย่าง เอกสารของ Margaret Mead และ Gregory Bateson และนักมานุษยวิทยาอีกหลายท่าน ที่มักจะใช้การถ่ายภาพหรือเครื่องมือบันทึกเรื่องราวและวิเคราะห์ความซับ ซ้อน ความสัมพันธ์ภายใน และความแตกต่างของวัฒนธรรมและการแสดง Victor Turner และนักวิจัยคนอื่น ๆ ใช้ภาพถ่ายเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำงานภาคสนามเพื่อบันทึกพิธีกรรมและงาน ฉลอง โดยถ่ายภาพควบคู่ไปกับการจดบันทึก
ส่วนหนึ่งจากบันทึกภาคสนามของ Victor Turner
Anthropological Fieldwork Online เปิดให้บริการโดยเสียค่าสมาชิกเป็นรายปี อย่างไรก็ตาม บรรณารักษ์หรือมหาวิทยาลัยที่สนใจสามารถยื่นคำขอเพื่อขอใช้ฟรีได้ 30 วัน โดยสามารถกรอกคำขอได้ตามลิงค์ด้านล่าง
http://alexanderstreet.com/products/anthropological-fieldwork-online