ภาพเก่าเมืองเชียงคำ ประวัติศาสตร์และความทรงจำร่วมของชุมชน

ภาพเก่าเมืองเชียงคำทำให้เห็นการเดินทางของเมืองจากอดีตสู่ปัจจุบันที่ประกอบไปด้วยกลุ่มคนที่หลากหลาย ซึ่งล้วนแล้วแต่มีบทบาทสำคัญกับการพัฒนาและเติบโตของเมืองเชียงคำในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ยิ่งไปกว่านั้น โครงการจัดเก็บข้อมูลชุมชนเมืองเชียงคำ ยังทำให้ชุมชนได้เรียนรู้ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ ได้รู้จักชุมชนของตัวเองมากขึ้น เกิดเครือข่ายความร่วมมือจากกลุ่มที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ อีกทั้งภาพเก่ายังเป็นสื่อกลางให้ชาวเชียงคำได้เข้ามาทำงานร่วมกันในบทบาทที่แตกต่างกันไป ซึ่งการมีส่วนร่วมถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำคลังข้อมูลชุมชน ทั้งหมดนี้ต่างก็ทำงานสอดประสานกัน จนเกิดเป็นคลังข้อมูลขนาดใหญ่ที่พร้อมจะเป็นแหล่งเรียนรู้และความทรงจำร่วมที่สำคัญของชุมชน

คลังข้อมูลชุมชน : ผลลัพธ์ที่มากกว่าข้อมูล

หากเป้าหมายของโครงการพัฒนาคลังข้อมูลชุมชนและเครือข่ายข้อมูล คือการสนับสนุนให้ชุมชนเก็บข้อมูล จัดการ และจัดเก็บอย่างเป็นระบบ มีคุณภาพทั้งในเชิงเนื้อหาและไฟล์ดิจิทัล เพื่อให้ข้อมูลเหล่านี้สามารถค้นคืน นำกลับมาใช้ใหม่ และแบ่งปันกับสาธารณะได้อย่างยั่งยืน ก็นับว่าปีที่ผ่านมา แต่ละชุมชนบรรลุวัตถุประสงค์นี้อย่างสวยงาม ทั้งนี้ ถ้ามองให้ลึกลงไปอีก เราจะพบว่าชุมชนได้รับสิ่งที่มากกว่าข้อมูล และเลือกที่จะดำเนินโครงการต่อไปในปีที่สอง บทความนี้จึงขอนำการทำงานของห้าชุมชน จากโครงการคลังข้อมูลชุมชนรุ่นที่ 1 มาบอกเล่าและสะท้อนว่าพวกเขาได้อะไรบ้างตลอดช่วงเวลาการทำงานที่ผ่านมา

Data Lifecycle Management (DLM) กับการจัดการข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยา

Data Lifecycle Management (DLM) คือ แนวคิดที่ใช้ในการบริหารจัดการข้อมูล ซึ่งระบุขั้นตอนการจัดการข้อมูลในรูปแบบของวงจรชีวิต (lifecycle) ที่ดำเนินการไปตามขั้นตอนโดยอัตโนมัติ นับตั้งแต่การเริ่มต้นสร้างข้อมูล จัดการ สงวนรักษา ตลอดจนนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ การจัดการข้อมูลตามวงจรชีวิตนี้จะทำให้องค์กรสามารถสงวนรักษาข้อมูลได้อย่างมีคุณภาพ เกิดความปลอดภัย ตรวจสอบได้ทั้งคุณภาพและความถูกต้องของข้อมูล สามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้จริง

หอจดหมายเหตุกับการจัดการความทรงจำ

บางวัฒนธรรมยังคงมีการสืบทอดวัฒนธรรมด้วยการบอกเล่า โดยใช้ “ความทรงจำ” เป็นแหล่งเก็บข้อมูล แล้วส่งผ่านในรูปแบบของบทสนทนาในชีวิตประจำวัน เรื่องเล่า คำสอน หรือการลงมือปฏิบัติให้เห็น มีข้อถกเถียงว่าวัฒนธรรมประเพณีหรือธรรมเนียมปฏิบัติซึ่งถูกสงวนรักษาในรูปแบบของคำบอกเล่านั้นใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงได้หรือไม่ นักจดหมายเหตุสมัยใหม่จึงกำลังตกอยู่ในข้อท้าทายระหว่าง การสงวนรักษาปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมของมนุษย์ที่บันทึกอยู่ในเอกสารลายลักษณ์กับบันทึกอยู่ในความทรงจำ สิ่งนี้นับเป็นสิ่งใหม่และเป็นข้อท้าทายในการหาที่ทางให้สำหรับการเก็บรวบรวมและสงวนรักษาข้อมูลหรือสารสนเทศจากคำบอกเล่า ไม่ว่าจะมาจากแหล่งใดก็ตาม

เมื่อทรัพยากรทางวัฒนธรรมมิได้มีเจ้าของเพียงหนึ่งเดียว

บทความนี้ ถูกเขียนขึ้นเพื่อศึกษาถึงที่มา และความคืบหน้าในการดำเนินงานล่าสุดของ WIPO IGC เพื่อทำความเข้าใจว่า ข้อกฎหมายระหว่างประเทศที่กำลังถูกร่างโดยคณะกรรมการระหว่างรัฐชุดนี้ จะมีผลกระทบอย่างไรต่อการทำงานของห้องสมุด หอจดหมายเหตุ พิพิธภัณฑ์ และสถาบันวิจัยบ้างในอนาคต

เราคือความทรงจำของเรา : ชุมชนและการบันทึกในประเทศฟิจิ

ฟิจิคือประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ประกอบไปด้วยเกาะ 300 เกาะ (ราวหนึ่งในสี่ไม่มีผู้อยู่อาศัย) ตั้งอยู่ใจกลาง ‘มหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ’ ระหว่างเส้นศูนย์สูตรและขั้วโลกใต้ มีประชากรราว 900,000 คน หลักฐานทางโบราณคดีบ่งชี้ว่า หมู่เกาะนี้น่าจะตั้งรกรากครั้งแรกเมื่อราว 3,500 ปีก่อน และเช่นเดียวกับประเทศที่เคยตกเป็นอาณานิคมประเทศอื่น ๆ ความเปลี่ยนแปลงจึงเกิดขึ้นบ่อยครั้งในฟิจิ แนวคิดเรื่องความเป็นชาติค่อนข้างใหม่ ต่างกับประเทศอื่นอย่างจีน, ญี่ปุ่น, ฝรั่งเศส หรืออียิปต์ ที่มีบันทึกความเป็นชาติมาอย่างยาวนานและมีสีสัน

การจัดการจดหมายเหตุส่วนบุคคลด้วยระบบ ISAD(G) ประสบการณ์การจัดการบันทึกภาคสนาม ฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยา

ISAD(G) ย่อมาจาก General International Standard Archival Description คือ มาตรฐานการจัดระบบและให้ข้อมูลจดหมายเหตุของสมาคมจดหมายเหตุสากล (the International Council on Archives (ICA/CIA) ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นมาตรฐานสำหรับการให้ข้อมูลเอกสารจดหมายเหตุ โดยมาตรฐาน ISAD ฉบับแรกถูกใช้ในปี ค.ศ.1993/1994 ซึ่งเป็นฉบับที่พัฒนามาจากร่างในปี ค.ศ.1990 โดยการหารือกันในกลุ่มย่อยของคณะกรรมการกำกับมาตรฐานการให้ข้อมูลอรรถาธิบาย (the AdHoc Commission on Descriptive Standards) จากนั้นในปี ค.ศ.2000 สมาคมจดหมายเหตุสากลได้ทำการปรับแก้ใหม่เป็นฉบับที่2 และใช้มาจนถึงปัจจุบันคือ ISAD(G)

Oral tradition in living culture: the role of archives in the preservation of memory.

การสืบทอดวัฒนธรรมด้วยการบอกเล่านั้นยังคงมีอยู่ในโลก โดยเฉพาะวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองที่สมาชิกที่ไม่สามารถอ่านออกเขียนได้ นอกจากนี้ ยังมีวัฒนธรรมย่อยแบบสมัยใหม่อีกจำนวนมากที่นิยมสืบทอดวัฒนธรรมของตนในรูปแบบการบอกเล่า มีข้อถกเถียงว่าวัฒนธรรมประเพณีหรือธรรมเนียมปฏิบัติซึ่งถูกสงวนรักษาในรูปแบบของคำบอกเล่านั้นใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงไม่ได้ ในขณะที่บางคนยอมรับว่าการบอกเล่าจัดอยู่ในประเภท “ความทรงจำ” นักจดหมายเหตุตะวันตกสมัยใหม่จึงกำลังตกอยู่ในข้อท้าทายระหว่าง การสงวนรักษาปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมของมนุษย์ที่บันทึกอยู่ในเอกสารลายลักษณ์กับบันทึกอยู่ในความทรงจำ

How the digital photographic records can be textual?

บทความชิ้น เป็นการตรวจสอบข้อโต้เถียงเกี่ยวกับประเภทของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลในบริบทการทำงานทางด้านจดหมายเหตุ รวมถึงนำเสนอคุณค่าในการใช้งานเอกสารจดหมายเหตุประเภทภาพถ่ายดิจิทัล ในฐานะที่เป็นเอกสารลายลักษณ์อักษร เนื่องจากวัสดุประเภทนี้ ไม่สามารถ “อธิบายเนื้อหาด้วยตนเอง” กับผู้ใช้ได้โดยตรง จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์ในการเข้าถึง และการจัดการบางอย่างเพื่อสื่อสารเนื้อหากับผู้ใช้งาน แต่เนื่องจากความยุ่งยากในการจัดการ ภาพถ่ายดิจิทัลถึงถูกจำกัดเงื่อนไขในการเข้าถึงจากหอจดหมายเหตุ ดังนั้น การทำความเข้าใจในธรรมชาติของสื่อดิจิทัล และเตรียมแผนการจัดการอย่างเหมาะสม จึงเป็นประเด็นที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานจดหมายเหตุ และงานจัดการข้อมูลดิจิทัลควรให้ความสำคัญ

Metadata กุญแจสู่การจัดการและค้นคืนข้อมูล

เมทาดาทา (metadata) หมายถึง “ข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูล” เป็นข้อมูลที่ใช้กำกับและอธิบายข้อมูลหลักหรือกลุ่มข้อมูล อธิบายรายละเอียดของข้อมูลหรือสารสนเทศ สิ่งที่อธิบายอยู่ในเมทาดาทาจะช่วยทำให้ทราบรายละเอียดและคุณลักษณะของข้อมูล ถือเป็นระบบสำคัญในการจัดการข้อมูลและจัดการความรู้ แต่เดิมนั้นเมทาดาทาถูกใช้ในงานห้องสมุด พบเห็นได้บ่อยในรูปแบบของบัตรรายการสำหรับสืบค้นหนังสือ แต่เมื่อสารสนเทศได้เปลี่ยนมาสู่รูปแบบดิจิทัล เมทาดาทาที่ใช้อธิบายข้อมูลจึงต้องเปลี่ยนมาอธิบายข้อมูลดิจิทัลด้วยเช่นกัน การให้คำอธิบายเนื้อหาและบริบทของข้อมูล

How the digital photographic records can be textual?

The historical context of archive, and state the value of intangible records as textual evidence by focusing on the digital photographic records. These materials need some devices to open, cannot “self-describe” themselves to the audiences, and require curatorial interpretation or mediation. However, we cannot deny the important of digital records in this century and frame the action plan to manage these records.

The Kennedy Car, the Lincoln chair, and the Study of Objects

การศึกษาวัตถุสามารถสอนเราได้อย่างมากมายว่าคนเราใช้ชีวิตและทำงานอย่างไร พวกเขาใช้อะไร อย่างไร และให้คุณค่ากับสิ่งไหน คุณจะได้เรียนรู้บางอย่างเกี่ยวกับวัฒนธรรมและช่วงเวลาที่สิ่งของเหล่านี้ถูกใช้ จากนั้นนำวัตถุที่สำรวจพบไปประกอบเข้ากับบริบทที่คุณได้ศึกษาจากการอ่านหนังสือพิมพ์ หนังสือ และนิตยสาร รวมไปถึงจากภาพถ่าย และเอกสารโสตทัศน์อื่นๆ เกี่ยวกับสถานที่และช่วงเวลาของการใช้ของสิ่งนั้น ท้ายที่สุด คุณจะได้เรียนรู้อะไรมากมายจากวัตถุที่แสนจะธรรมดาเรียบง่ายเหล่านั้น

“ลืม-จำ” ในกระบวนการจัดการเอกสารส่วนบุคคล กรณีภาพถ่ายของ รองศาสตราจารย์ชนัญ วงษ์วิภาค

ข้อเขียนนี้พัฒนาขึ้นจากการจัดเอกสารของผู้เรียบเรียงและ รศ. ชนัญ วงษ์วิภาค เจ้าของเอกสาร “อาจารย์” ได้บริจาคภาพสไลด์จากการทำงานวิจัยและการพัฒนาสื่อการศึกษาให้กับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรราว ๓,๐๐๐ ภาพ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๕ ภาพสไลด์บางชุดได้รับการจัดเก็บไว้เป็นชุดตามเนื้อหาของการทำงาน หรือการบันทึกภาพเหตุการณ์ อย่างไรก็ดี ภาพอีกเป็นจำนวนมากอยู่ในลักษณะกระจัดกระจาย หรือไม่มีข้อมูลที่เพียงพอสำหรับการให้บริการแก่สาธารณชน

ส่วนตัวหรือสาธารณะ? ว่าด้วยการเผยแพร่ไดอารี่ของลินด์เซย์ แอนเดอร์สัน

ไดอารี่เป็นสิ่งที่ชวนสงสัย หลายคนอยากจะเก็บไดอารี่สักเล่มในชีวิต คนเหล่านั้นเขียนไดอารี่ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป และใช้มันเป็นเครื่องมือบันทึกเรื่องราวหลายแง่มุมในชีวิต บางคนเขียนเพื่อสักวันอาจจะใช้ในอนาคต บางคนเพื่อไว้ระลึกถึงเหตุการณ์ในอดีต หลายคนเขียนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันเป็นปกติ แต่จะด้วยเหตุผลอันใดก็ตามพวกเขาเขียนในสิ่งที่เป็นเรื่องส่วนตัวเสมอ

พัฒนาการและคุณค่าของบันทึกภาคสนาม

การทำงานภาคสนามไม่ใช่เพียงการจดบันทึกเรื่องราวของผู้คนจากภาคสนาม แต่เป็นการยกระดับจากบันทึกธรรมดาให้ผู้อ่านดื่มด่ำในชีวิตคนอื่น พร้อมทั้งเป็น “สนาม” ในการวิพากษ์ ตรวจสอบ การทำงานของนักมานุษยวิทยา นักมานุษยวิทยาและคนในสนามก็ต่างเรียนรู้ซึ่งกันและกัน รวมทั้งเป็นสนามที่นักมานุษยวิทยาได้เรียนรู้เพื่อรู้จักตนเองจากการทำงาน

เบื้องหลังคนใน(สนาม): ความสัมพันธ์ของนักมานุษยวิทยากับบันทึกภาคสนาม

คนไท คือ คนที่พูดภาษาตระกูลไท อาศัยอยู่ในหลายประเทศ อย่างน้อย 6 ประเทศ เช่น ลาว เวียดนาม จีน เมียนมาร์ อินเดีย และประเทศไทย มีประชากรกว่า 100 ล้านคน พบมากที่สุดในประเทศไทย รองลงมาคือ เวียดนามและจีน ประเด็นที่น่าสนใจในการศึกษาคนไท คือ การเชื่อมโยงและการดำรงอยู่ โดยใช้ภาษาตระกูลไทเป็นพื้นฐานร่วม ดังนั้น การที่คนพูดภาษาเดียวกัน แต่อยู่ต่างที่กันนั้น จึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญ และน่าคาดได้ว่าในอดีตอาจอยู่ร่วมกัน ก่อนที่จะแยกย้ายออกไป จนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและทางภาษา

“ปุถุชน” ในสนาม: กรณีศึกษาบันทึกภาคสนามของศาสตราจารย์ฮันส์ มานน์ดอร์ฟฟ์

“บันทึกภาคสนามของนักมานุษยวิทยาเป็นสมบัติส่วนตัวที่ล่วงละเมิดมิได้ เปรียบเสมือนพื้นที่ส่วนตัวซึ่งเต็มไปด้วยความทรงจำและประสบการณ์ ความสำเร็จและความล้มเหลว ความไม่มั่นคงและความลังเลใจ พวกเขาเก็บสิ่งเหล่านี้เอาไว้ในที่ที่ปลอดภัยอย่างบันทึกภาคสนาม การอนุญาตให้เพื่อนร่วมอาชีพสำรวจบันทึกส่วนตัว เปรียบได้กับการเปิดกล่องแพนโดร่า อย่างไรก็ดี บันทึกภาคสนามก็เป็นกุญแจสำคัญ ช่วยให้เราเข้าใจถึงธรรมชาติการทำงานของนักมานุษยวิทยา แม้สิ่งที่บันทึกจะไม่ได้มาจากการค้นพบของพวกเขาเอง หรือมีความแม่นยำเหมือนดังงานของศิลปินและนักวิทยาศาสตร์ แต่พวกเขาก็ลงมือบันทึกด้วยตนเอง เพื่อประกอบเศษเสี้ยวของเหตุการณ์ในอดีตให้กลายเป็นวัฒนธรรม”

Open Archives

ในช่วงยี่สิบปีที่ผ่านไป สถาบันที่จัดเก็บคลังเอกสารจำนวนไม่น้อยได้รับการกระตุ้นเตือนโดยนักรณรงค์ที่เป็นชนพื้นเมือง ในการการจัดการคลังเอกสารและความรู้ที่คำนึงถึงภูมิปัญญาและผู้คนในท้องถิ่นที่มีส่วนในเนื้อหาของเอกสารเหล่านั้น สนามการจัดการคลังสมบัติวัฒนธรรมในรูปแบบดิจิทัลเอง นำมาสู่ความเป็นไปได้ในการร่วมทำงานและปัญหาให้กับชนพื้นเมือง ทั้งในกระบวนการจัดการ การค้นคืน การแลกเปลี่ยนหมุนเวียน และการสร้างมรดกวัฒนธรรมใหม่ ทั้งนี้ สนามดังกล่าวอยู่ในอาณาบริเวณที่ซับซ้อน อันประกอบด้วยประวัติศาสตร์อาณานิคมหรือหลังอาณานิคม และข้อถกเถียงเกี่ยวกับสิทธิของสาธาธารณชนในการเข้าถึงความรู้ดังกล่าวในโลกยุคดิจิทัล

Source community involvment in the anthropological archives

ฐานข้อมูลจดหมายเหตุนักมานุษยวิทยาถูกตั้งคำถามถึงประเด็นเรื่องข้อควรตระหนักที่เกี่ยวเนื่องกับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและทรัพย์สินทางวัฒนธรรม ดังที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิทางวัฒนธรรมและทรัพย์สินทางปัญญาได้กล่าวไว้ว่า การจัดเก็บวัตถุทางวัฒนธรรมเป็นกระบวนการที่เสี่ยงต่อการนำเสนอที่ไม่เหมาะสมหรือใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในทางที่ผิดโดยไม่เจตนา ยิ่งไปกว่านั้นฐานข้อมูลดังกล่าว ไม่เพียงแต่จัดเก็บข้อมูลทางวัฒนธรรมเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงข้อมูลส่วนตัวของปัจเจกบุคคลหรือชุมชนต่างๆ ด้วยเหตุนี้โครงการฯ จึงต้องกลับมาทบทวนกระบวนการจัดการข้อมูลที่มีความแตกต่างและหลากหลายก่อนเผยแพร่สู่สาธารณะ

Creating Online Archive: Protocol and Policy

กระบวนการในการเผยแพร่ข้อมูลจดหมายเหตุผ่านฐานข้อมูลแบบออนไลน์แสดงให้เห็นว่าการเผยแพร่เอกสารจดหมายเหตุไปในวงกว้างผ่านเทคโนโลยีเป็นกระบวนการที่ควรค่าแก่การส่งเสริม อย่างไรก็ตาม กระบวนการนี้มีปัญหาที่ละเอียดอ่อนที่พึงระวัง ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของนักจดหมายเหตุที่จะต้องกำหนดมาตรการหรือนโยบายในการใช้ฐานข้อมูลของตนเองให้ชัดเจน

อาหารภาคสนาม

กองทัพเดินด้วยท้องฉันใด นักมานุษยวิทยาก็ต้องการอาหารเพื่อใช้เติมพลังในระหว่างการทำงานภาคสนามฉันนั้น แล้วนักมานุษยวิทยากินอะไรในระหว่างทำงานภาคสนาม? กินเหมือนเวลาที่พวกเขาอยู่บ้าน? หรือกินตามอย่างชาวบ้านที่พวกเขาเฝ้าสังเกตการณ์? โดยปฏิบัติตนตามแนวทางการทำงานภาคสนามที่ได้รับการพร่ำสอนมาเสมอว่า "ชาวบ้านกินอยู่อย่างไรได้ เราก็ต้องกินได้เหมือนพวกเขา.

จดหมายเหตุวัฒนธรรมกับจริยธรรมในการใช้เอกสาร

บทความชิ้นนี้เป็นการนำเสนอประสบการณ์และปัญหาในการจัดการจดหมายเหตุวัฒนธรรมขององค์กรที่ทำงานด้านจดหมายเหตุในต่างประเทศ รวมไปถึงแสดงวิธีแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นของแต่ละองค์กร นอกจากนี้ยังแนะแนวทางในการจัดการเอกสารจดหมายเหตุวัฒนธรรมให้ถูกต้องและเหมาะสมตามหลักกฎหมายและจริยธรรม(บทความชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ลงในจดหมายข่าวสมาคมจดหมายเหตุสยาม ฉบับที่ 5 ตุลาคม 2551-กันยายน 2552)

เมื่อบันทึกภาคสนามคืนชีวิต

การจัดการเอกสารจดหมายเหตุมักพบปัญหาต่างๆ ที่ท้าทายการทำงานของหอจดหมายเหตุเสมอ บทความนี้สะท้อนการทำงานของหอจดหมายเหตุมานุษยวิทยาแห่งชาติ สถาบันสมิธโซเนียน สหรัฐอเมริกา ว่าสถาบันแห่งนี้คิดเห็น รับมือ และจัดการกับปัญหาต่างๆ อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องการจัดเก็บและการเลือกวัตถุที่จะจัดเก็บ ปัญหาเรื่องการให้บริการและข้อกำหนดในการเข้าถึงข้อมูล ปัญหาเรื่องการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นนามธรรมและการนำความรู้กลับคืนสู่เจ้าของวัฒนธรรม

จดหมายเหตุภาพไทลื้อ: ย้อนรอยจากเอกสารของมอร์แมน

บทความชิ้นนี้เป็นการนำภาพถ่ายจากชุดเอกสารจดหมายเหตุของ ศ.ไมเคิล มอร์แมน มาร้อยเรียงเพื่อนำเสนอให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทางสังคม เกษตรกรรม ศาสนา ความเชื่อ และประเพณี ในช่วงเวลา ค.ศ.1959-1986 ของชุมชนชาวไทลื้อที่บ้านแพด อ.เชียงคำ จ.พะเยา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ ศ.มอร์แมน เข้าไปใช้ชีวิตกับชุมชนแห่งนี้เพื่อเก็บข้อมูลภาคสนาม (บทความชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ลงในจดหมายข่าวสมาคมจดหมายเหตุไทย ฉบับที่ 4 ตุลาคม 2550-กันยายน 2551)

คอมมิวนิสต์บุกบ้านแพด!

เกือบครึ่งศตวรรษมาแล้วที่ภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์ได้แพร่กระจายไปทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่บ้านแพดซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งในเขตพื้นที่ชายแดนไทย-ลาว บทความชิ้นนี้จึงเป็นการหยิบยกเอาบันทึกภาคสนามบางส่วนจากงานวิจัยของ ศ.ไมเคิล มอร์แมน มานำเสนอให้เห็นถึงความหวาดระแวงของชาวบ้านที่มีต่อภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์ (บทความชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ลงในจุลสารหอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ ฉบับที่ 12 มิถุนายน 2551-พฤษภาคม 2552)