เมืองยะลา, อำเภอ
ประวัติความเป็นมา
พื้นที่ในเขตอำเภอเมืองยะลา โดยเฉพาะบริเวณท้องที่ตำบลหน้าถ้ำและดำบลท่าสาบ บนฝั่งแม่น้ำปัตตานี โดยเฉพาะบริเวณถ้ำศิลป์ และถ้ำภูผาภิมุข ได้พบซากโบราณสถานและศิลปโบราณวัตถุ ที่แสดงว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยของคนยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ ต่อเนื่องไปจนถึงชุมชนโบราณบริเวณเมืองยะรังและเมืองปัตตานี และเริ่มมีบทบาทของคนสยามเข้ามามีปฏิสัมพันธ์ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา เป็นต้นมา
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ.๒๓๕๓ พระบาทสมเด็จฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้แยกเมืองปัตตานีเก่า ออกเป็น ๗ หัวเมือง คือ เมืองปัตตานี เมืองยิริงเมืองสายบุรี เมืองหนองจิก เมืองรามัน เมืองระแงะ และเมืองยะลา สำหรับเมืองยะลา พระยาเมืองคนแรกตั้งเมืองอยู่ใกล้ภูเขาซึ่งมีรูปร่างคล้ายกระโจมแห (คือ บริเวณดำบลยะลาในปัจจุบันอยู่ทางทิศตะวันตก สุดเขตอำเภอเมืองจดกับอำเภอยะหา) จึงเรียกเมืองที่แยกออกมาใหม่นี้ว่า เมืองยะลา ตามชื่อสถานที่แห่งนั้น
คำว่า "ยะลา" ว่ากันว่า เจ้าผู้ครองเมืองเดิมเขียนไว้เป็นภาษามลายูว่า เป็นสำเนียงอาหรับ มีชาวอินโดนีเซียเคยเขียนอธิบายไว้ เมื่อคราวมาเผยแผ่ศาสนา ณ บริเวณ ๗หัวเมืองว่า "ยะลา" มาจากคำ "ยาลลา" หมายถึง เมืองที่สมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ คนพื้นเมืองเรียกชุมชนแห่งนี้ว่า "ยะลอกเบ" หรือ "ยาลอ" ตามสำเนียงภาษามลายูท้องถิ่น (กูเบ, กูแบ-บึง, ละหาน, วังน้ำ)
ภาษาสันสกฤต คำ "ชาล" แปลว่า ข่าย ร่างแห ใยแมงมุม คำยะลา จึงน่าจะมาจากคำดังกล่าวนี้ เพราะมีคำสันสกฤตใช้ในภาษามลายู ยุคที่ศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนามหายานเจริญ ปรากฏอยู่ในชื่อบ้านนามเมืองและคำทั่วๆ ไปเป็นจำนวนมาก สำเนียงผิดเพี้ยนไปจากเดิมมากบ้างน้อยบ้าง
ที่ตั้งเมืองยะลามีการย้ายหลายครั้ง ทั้งนี้มักขึ้นอยู่กับความสะดวกและความพึงใจของพระยาเมืองหรือเจ้าเมือง ได้แก่(ครั้งที่ ๑) ตั้งอยู่ที่ดำบลยะลอกูเบ คือ ตำบลยะลาในปัจจุบันซึ่งอยู่นอกเขตเทศบาล (ครั้งที่ ๒) ตั้งที่บ้านทุเรียน ตำบลท่าสาบ (ครั้งที่ ๓) ตั้งที่บ้านท่าสาบ ตำบลท่าสาบ คาดว่าตกประมาณ พ.ศ.๒๔๕๔๔ เพราะอำเภอเมืองยะลา ต้องแยกตัวออกจากจังหวัด เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดยะลา จึงจำเป็นต้องมีสถานที่ดำเนินการเป็นเอกเทศ (ครั้งที่ ๔) ปี พ.ศ.๒๔๖๐ตั้งที่บ้านสะเตง พร้อมกับเปลี่ยนชื่อจากอำเภอยะลา เป็นอำเภอสะเตง ตามชื่อสถานที่ตั้ง
พ.ศ.๒๔๘๑ ได้เปลี่ยนชื่อจากอำเภอสะเตงเป็น "อำเภอเมืองยะลา" ตามหลักการเรียกชื่ออำเภอที่ตั้งอยู่ในตัวจังหวัดทำนองเดียวกับอำเภอเมืองของจังหวัดอื่น ๆ
พ.ศ.๒๔๘๐ อำเภอเมืองยะลาได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่บ้าน "นิบง" ตำบลสะเตง ห่างจากที่เดิมประมาณ ๔ กิโลเมตรโดยใช้อาคารเรียนของโรงเรียนจีน "ยะลาบำรุง" เป็นที่ทำการชั่วคราว ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๙๕ จังหวัดยะลา สร้างเมืองตามผังเมืองใหม่ ที่ว่าการอำเภอเมืองยะลาจึงได้ย้ายไปอยู่ที่บริเวณหลักเมืองใกล้ๆ กับศาลากลางจังหวัด อันเป็นที่ตั้งมาจนถึงปัจจุบัน
ก่อนถึงวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๗ อำเภอเมืองยะลา มีเขตการปกครอง ๑๗ ตำบล (นอกเขตเทศบาล ๑๖ ตำบล)ครั้นถึงวันดังกล่าว กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศตั้งกิ่งอำเภอกรุงปินังขึ้น ได้แบ่งพื้นที่ตำบลกรงปินัง ตำบลสะเอะ และตำบลปูโรง ไปขึ้นกับกิ่งอำเภอกรงปินัง อำเภอเมืองยะลาจึงเหลือดำบลด่างๆ ที่อยู่ในเขตการปกครองทั้งหมด ๑๔ ตำบล(นอกเขตเทศบาลนครยะลา ๑๓ ตำบล ในเขตเทศบาล ๑ตำบล) และจากที่เคยมีพื้นที่ประมาณ ๔๔๘ ตารางกิโลเมตรลดลงคงเหลือประมาณ ๒๕๔ ตารางกิโลเมตร
สภาพทั่วไป
อำเภอเมืองยะลา เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดยะลา มีพื้นที่ประมาณ ๒๕๔.๐๒๓ ตารางกิโลเมตร ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่ตำบลสะเตง อยู่ทางทิศเหนือของตัวจังหวัด
อาณาเขต
ทิศเหนือ จดอำเภอยะรัง และอำเภอแม่ลานจังหวัดปัตตานี
ทิศใต้ จุดกิ่งอำเภอกรุงปินัง จังหวัดยะลา
ทิศตะวันออก จดอำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ทิศตะวันตก จดอำเภอยะหา จังหวัดยะลา
อำเภอเมืองยะลา แบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๑๔ ตำบล ๒๑ หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลสะเตง (อยู่ในเขตเทศบาลซึ่งได้รับการยกฐานะจากเทศบาลเมืองเป็นเทศบาลนคร มีพื้นที่ ๑๙.๕ ตารางกิโลเมตร) ส่วนอีก ๑๓ ตำบล อยู่นอกเขตเทศบาล ข้อมูลเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๐ มีดังตารางด้านล่างนี้
รวมประชากรนอกเขตเทศบาล ๖๙,๔๔๗ คน ส่วน ประชากรในเขตเทศบาล (กันยายน พ.ศ.๒๕๔๐) มีจำนวน๗๕,๙๑๓ คน มี ๑๔,๖๔๕ ครัวเรือน ประชากรในเขตเทศบาลนครยะลาประมาณร้อยละ ๕๑ นับถือศาสนาพุทธและประมาณร้อยละ ๔๗ นับถือศาสนาอิสลาม อีกร้อยละ ๒ นับถือศาสนาอื่น ซึ่งต่างกับประชากรนอกเขตเทศบาล ที่นับถือศาสนาอิสลามเฉลี่ยประมาณร้อยละ ๗๖ เช่น ตำบลบันนังสาเรง มีถึงร้อยละ ๙๙ ตำบลพร่อนร้อยละ ๙๙.๒๕ ตำบลยะลาร้อยละ ๑๐๐ ตำบลเปาะเส้งร้อยละ ๙๙.๔ ตำบลที่มีผู้นับถือศาสนาพุทธค่อนข้างมาก เช่น ตำบลตาเซะ ประมาณร้อยละ ๒๓.๕ ตำบลยุโปร้อยละ ๔๒.๗ และตำบลลำพะยานับถือศาสนาพุทธร้อยละ ๗๕.๔
ลักษณะภูมิประเทศ อำเภอเมืองยะลา พื้นที่ประมาณร้อยละ ๔๒ เป็นที่ราบเหมาะสำหรับทำการเกษตร มีที่ราบเชิง
เขา และมีภูเขาเดี้ย ๆ อยู่เกือบทั่วทุกดำบล ภูเขาสำคัญได้แก่เทือกเขาสันกาลาคีรี หรือ "ภูเขาเขียว" ซึ่งทอดยาวต่อเนื่องถึงอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี และอำเภอยะหา จังหวัดยะลา และภูเขา "บูเกาะบีโล"อยู่ระหว่างตำบลบุดี ตำบลบันนังสาเรง ของอำเภอเมืองยะลาและตำบลกรงปินัง กิ่งอำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา ต่อไปถึงเขตอำเภอบันนังสตา และอำเภอรามัน จังหวัดยะลา มีธารน้ำเล็ก ๆ หลายสายที่ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำปัตตานี ซึ่งมีต้นน้ำเกิดจากภูเขาในท้องที่อำเภอเบตง แล้วไหลผ่านอำเภอธารโตและอำเภอบันนังสตา ผ่านท้องที่อำเภอเมืองยะลา ผ่านอำเภอยะรังและอำเภอเมืองปัตตานีลงสู่ทะเล
ทรัพยากรที่สำคัญของอำเภอเมืองยะลา คือ ป่าไม้ไม้ผล สินแร่ หิน และหินอ่อน
เทศบาลนครยะลา มีผังเมืองสวยงาม เพราะเป็นเขต เมืองใหม่ที่มีการวางผังระยะยาวไว้อย่างดี มีการแบ่งสรรการใช้ประโยชน์เป็นส่วนๆ อย่างมีระเบียบ โดยมีพระรัฐกิจวิจารณ์(สวาสดิ์ ณ นคร) ข้าหลวงจังหวัดยะลา คนที่ ๑๐ เมื่อออกจากราชการแล้ว ได้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลแห่งนี้ และได้เป็นนายกเทศมนตรี (พ.ศ.๒๔๘๐-๒๔๘๘) ได้ร่วมกับข้าราชการวางผังเมืองยะลา การตัดถนนทุกสายในเมืองยะลา จัดทำอย่างมีแผนระยะยาว จึงมีส่วนช่วยให้เทศบาลแห่งนี้ได้ยกฐานะเป็นเทศบาลนครยะลา
การคมนาคม ภายในตัวอำเภอมีทางรถไฟสายใต้ผ่านและจอดที่ดำบลยุโป (ป้าย) และสถานียะลาในเขตเทศบาลนครยะลา ส่วนทางรถยนต์มีทางหลวงสายสำคัญหลายสายผ่านได้แก่ สายยะลา-เบตง ระยะทาง ๑๓๖ กิโลเมตร ถนนสายนี้ผ่านตำบลสะเตง ตำบลสะเตงนอก ตำบลบุดี ตำบลบันนังสาเรงของอำเภอเมืองยะลา และตำบลกรงปินัง กิ่งอำเภอกรงปินังจังหวัดยะลา ระยะทางยาวประมาณ ๒๐ กิโลเมตร ทางหลวงแผ่นดินสายยะลา-ปัตตานี ตั้งต้นจากตัวอำเภอเมืองยะลาผ่านตำบลสะเตงของอำเภอเมืองยะลา อยู่ในเขตอำเภอเมืองยะลา๓ กิโลเมตร แล้วผ่านเขตท้องที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานีทางหลวงแผ่นดินสายยะลา-รามัน สายนี้สามารถเดินทางไปอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาสได้ อยู่ในเขตอำเภอเมืองยะลาประมาณ ๑๕ กิโลเมตร ทางหลวงแผ่นดินสายยะลา-โคกโพธิ์สายนี้เป็นถนนสายเอก ซึ่งสามารถเดินทางต่อไปอำเภอโคกโพธิ์จังหวัดปัตตานี แล้วต่อไปจังหวัดสงขลา ระยะทางอยู่ในเขตอำเภอเมืองยะลาประมาณ ๓๐ กิโลเมตร และทางหลวงแผ่นดินสายสามแยกบ้านเนียง-ยะหา ตั้งต้นจากบ้านสามแยก บ้านเนียง ตำบลเปาะเส้ง ของอำเภอเมืองยะลา ผ่านตำบลยะลาเข้าอำเภอยะหา จังหวัดยะลา อยู่ในเขตอำเภอเมืองยะลาประมาณ ๓ กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีทางหลวงชนบท (รพช.)อีก ๓ สาย ซึ่งสามารถติดต่อระหว่างตำบลต่างๆ ได้ตลอดปีอำเภอเมืองยะลามีสนามบินขนาดเล็กตั้งอยู่ที่ตำบลท่าสาบเครื่องบินพาณิชย์ขึ้นลงได้ เคยมีบริษัทการบินภายในประเทศบินรับส่งผู้โดยสารระหว่างเบตง-ยะลา-หาดใหญ่ อยู่ระยะหนึ่งแต่ประสบกับการขาดทุนจึงเลิกล้มไป สำหรับทางน้ำ แม้จะมีแม่น้ำปัตตานี แต่ประชาชนก็มิได้นิยมใช้เป็นทางสัญจรมากนักทั้งนี้เพราะการคมนาคมทางบกสะดวกกว่า
อาชีพสำคัญของราษฎร ได้แก่ การเกษตร คือ การทำสวนยางพารา สวนผลไม้ ได้แก่ สวนเงาะ ทุเรียน ส้ม และผลไม้อื่น ๆ สามารถส่งออกไปจำหน่ายด่างจังหวัดได้เงินปีละมาก ๆ นอกจากนี้ประชาชนยังนิยมเลี้ยงสัตว์อีกหลายชนิด เช่นมีการจัดตั้งกลุ่มเลี้ยงโค กลุ่มเลี้ยงเป็ด และกลุ่มเลี้ยงไก่สามารถส่งผลผลิตออกจำหน่ายในท้องตลาดได้เป็นจำนวนมาก
อำเภอเมืองยะลา มีโรงงานอุตสาหกรรม ๑๐๗ โรง ได้แก่โรงทำยางแผ่นรมควันและยางเคร็ฟ โรงโม่หิน โรงงานผลิตภัณฑ์หินอ่อน โรงงานซ่อมรถยนต์ โรงงานหล่อดอกยาง และการพิมพ์เป็นต้น
ในปี พ.ศ.๒๕๓๙ เศรษฐกิจของอำเภอเมืองยะลา มีทิศทางลดตัวลง จากการที่ผลผลิตยางพารา ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักราคาลดลง ผลผลิตผลไม้ที่สำคัญคือ ทุเรียน และลองกองยังคงขยายตัวดี ทำรายได้สูงขึ้น ประกอบกับเม็ดเงินในส่วนราชการใช้จ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการมีมากขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ช่วยพยุงมิให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงมากนัก นอกจากนั้นยังมีโครงการของรัฐบาล ที่ใช้เงินตามโครงการก่อสร้างสถานีรถไฟยะลาใหม่ ๒๐๓ ล้านบาท ประกอบด้วยอาคารสถานีสูง ๕ ชั้นและอาคารพาณิชย์ย่านสถานี ซึ่งกำหนดแล้วเสร็จปี พ.ศ.๒๕๔๒โครงการเขตอุตสาหกรรม บริเวณตำบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา ในพื้นที่ ๒,๙๑๐ ไร่ ขณะนี้ผู้ประกอบการได้ใช้พื้นที่แล้ว ๑๔๑ ไร่ นอกจากนั้น ก็มีโครงการก่อสร้างถนน ๔ช่องจราจร ตอนยะลา-บ้านโต๊ะปะเก๊ะ ระยะทาง ๔ กิโลเมตรวงเงิน ๑๓ ล้านบาท และโครงการปรับปรุงขยายกิจการประปาเทศบาลนครยะลา วงเงิน ๓๖ ล้านบาท ดังนั้นแม้เศรษฐกิจโดยส่วนรวมชะลอตัวลงก็ไม่มากนัก
ด้านการศึกษา ในท้องที่อำเภอเมืองยะลา มีสถาบันการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงวิทยาลัย ในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ มีสถาบันราชภัฏยะลา วิทยาลัยเทคนิคยะลา วิทยาลัยสารพัดช่างยะลา วิทยาลัยพลศึกษายะลา วิทยาลัยการสาธารณสุข โรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา โรงเรียนราษฎร์ (สามัญ) โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ โรงเรียนเทศบาลศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน และโรงเรียนตำรวจภูธร
สถานที่สำคัญของอำเภอเมืองยะลา ได้แก่ ถ้ำศิลป์และถ้ำพระนอน วัดพุทธไสยาสน์ ตำบลหน้าถ้ำ สุสานเจ้าเมืองยาลอ ตำบลเปาะเส้ง สนามช้างเผือก สวนขวัญเมือง หรือพรุบาโกย เป็นสวนสาธารณะ ซึ่งเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวยะลา (มาโนชญ์ บุญญานุวัตร, สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์)