ดูเพิ่มเติมที่ ตระการพืชผล, อำเภอ
ตรัยไปร : อาหาร-เขมร ดูที่ กุ้งจ่อม : อาหาร
ตรัว (ซอ) : เครื่องดนตรี (เขมร) ตรัว (ซอ) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย เป็นชุดเรียกว่า ตรัวกันตรึม (ซอกันตรีม) ใช้บรรเลงในชุมชนเขมรส่วย ในวงดนตรีและประกอบการแสดงการฟ้อนรำ (เรือม)ต่างๆ เครื่องดนตรีกลุ่มนี้เป็นเครื่องสายที่ใช้คันชักหรือคันสีที่ทำด้วยหางม้า สีสายให้เกิดเป็นเสียงโดยความฝืดของยางสนที่ติดอยู่กับเส้นของหางม้าที่ใช้ทำคันชักหรือคันสี ตัวชอประกอบด้วยส่วนที่เป็นคันทวนและส่วนที่เป็นกะโหลกซอมีลูกบิดอยู่ปลายคันทวน ๒ อันเพื่อใช้ขึงสายทั้ง ๒ เส้น และสายนี้มักจะทำด้วยเส้นลวดของสายเบรกรถจักรยานอันเป็นลักษณะเฉพาะตัวที่พบเห็นโดยทั่วๆ ไปของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายพื้นเมือง ซึ่งลักษณะของซอกันตรีมนี้ ส่วนใหญ่จะคล้ายคลึงกันกับซอด้วงและซออู้ที่อยู่ในดนตรีไทยปัจจุบัน
เท่าที่ค้นพบในเขตอีสานใต้ ซอชนิดนี้มีใช้กันอยู่ ๔ ขนาด คือ
๑. ซอเล็ก หรือ ตรัว จี้ ซึ่งมีรูปร่างคล้ายซอด้วงแต่มีเสียงสูงและแหบกว่า
๒. ซอกลาง หรือ ตรัวซอ มีขนาดใหญ่กว่าซอเล็ก
๓. ซอใหญ่ หรือ ตรัวชอ มีขนาดใหญ่ที่สุด
๔. ซออู้ หรือ ตรัว อู มีลักษณะคล้ายซออู้ปกดิทั่วไป
แต่วงกันตรีมโดยมากในปัจจุบันนิยมใช้ซอกลางและซออู้บรรเลงในงานทั่วๆ ไป ส่วนซอใหญ่นั้นมีน้อย
รูปร่างและลักษณะ
ซอทั้ง ๔ ขนาด มีรูปร่างไม่แตกต่างกัน แต่แตกต่างกันที่ขนาดและวัสดุที่ใช้ทำกะโหลกซอ ซอเล็ก หรือ ตรัว จี้นั้นบางครั้งพบว่าใช้เขาควาย ขนาดพอเหมาะมาทำเป็นกะโหลกแต่ซอกลางและซอใหญ่นั้นนิยมใช้ไม้ขนุนบ้าง ไม้เนื้อแข็งบ้างไม่เป็นที่แน่นอนแล้วแต่หมู่บ้านใดมีไม้ชนิดใด
ส่วนซอู้ หรือ ตรัว นั้น กะโหลกซอใช้กะลามะพร้าวขนาดใหญ่ ส่วนมากคนทำจะเลือกกะโหลกที่ใหญ่หน่อยมีลักษณะเป็นมวยผมของพราหมณ์ ที่เรียกกันว่ากะโหลกกะราหมณ์ นั่นเอง ส่วนหนังที่ใช้ซึ่งปิดหน้ากะโหลกซอทั้ง ๔ขนาดดังกล่าวนี้นิยมใช้หนังงูเหลือมบ้าง หนังตะกวดบ้าง ซึ่งหนังสัตว์ ๒ ชนิดนี้หาได้ไม่ยากในภูมิภาคแถบนี้
การเทียบเสียง
ซอเล็ก สายเปล่า สายเอก ตั้งสายอยู่ในระดับเสียง A. (ลา.)
สายเปล่า สายทุ้ม ตั้งสายอยู่ในระดับเสียง
D. (เร.) และสามารถไล่ระดับเสียงต่างๆ ได้
ซอใหญ่ สายเปล่า สายเอก ตั้งสายอยู่ในระดับเสียง A. (ลา.)
สายเปล่า สายทุ้ม ตั้งสายอยู่ในระดับเสียง
D. (เร.) และสามารถไล่ระดับเสียงต่างๆ ได้
การประสมวง
ลักษณะของการนำเอาซอแต่ละขนาดทั้ง ๔ นี้ไปประสมวงนั้นค่อนข้างไม่แน่นอน แล้วแต่ความสะดวกและเท่าที่จะหาคนมาเล่นได้ เท่าที่พบเห็นในเขตอีสานใต้นี้ จะขอแยกวงที่ใช้ซอประสมวงเป็นดังนี้
๑. วงกันตรึม ใช้ซอเล็กหรือตรัวเอก/ตรัวจี้/ ๑ คัน บางแห่งใช้ ซออู้ ๑ คัน
๒. เรือมลูดอันเร หรือ รำกระทบสาก บางแห่งใช้ซอเล็ก กรือ ตรัวเอกนี้ด้วยเหมือนกัน แต่บางแห่งไม่ใช้ (ยังไม่ทราบข้อยุติที่แน่นอน-ผู้เขียน)
๓. กะโน้บติงด็อง หรือ ระบำตั๊กแดนตำข้าว มีใช้ทั้งซอเล็ก และซอกลาง แล้วแต่ความถนัดของผู้เล่นซอ
๔. วงมโหรีเขมร (อีสานใต้) ใช้ทั้งซอเล็ก และซอกลาง อย่างละ ๑-๒ คัน
๕. ระบำตลอก (ตะ-หลอก) หรือระบำกะลา ใช้ซอเล็ก ๑ คัน
๖. เรือม ตรด หรือ รำตรุษ (สงกรานต์) บางหมู่บ้าน ใช้ซอกลาง แต่บางแห่งไม่มีใช้ ไม่แน่นอน
วิโรจน์ เอี่ยมสุข เรียบเรียง