ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 8 จาก 80 รายการ, 10 หน้า
ปราสาทมิเซิน กลุ่ม B
ดุยเซ็น
สถาปัตยกรรมปราสาทมิเซิน กลุ่ม B

ปราสาทมิเซิน กลุ่ม B เป็นตัวอย่างของการจัดวางกลุ่มปราสาทในศิลปะจาม ซึ่งมักวางตัวอย่างไม่เป็นระเบียบ ภายในกลุ่มโบราณสถานประกอบไปด้วยปราสาทประธาน ปราสาทบริวาร บรรณาลัย โคปุระ กำแพงล้อมรอบและมณฑปซึ่งตั้งอยู่ภายนอกกำแพง

ปราสาทมิเซิน B5
ดุยเซ็น
สถาปัตยกรรมปราสาทมิเซิน B5

ปราสาทมิเซิน B5 เป็นปราสาทมิเซินกลุ่ม B เพียงหลังเดียวที่ยังมียอดครบสมบูรณ์ เป็นปราสาทที่มีเสาติดผนังจำนวน 5 ต้น โดยสามารถมองเห็นได้เพียงสี่ต้น เนื่องจากเสาต้นกลางถูกซุ้มบดบัง ซึ่งถือเป็นลักษณะที่ปรากฏเสมอๆในศิลปะมิเซิน A1 ซุ้มมีลักษณะเป็นซุ้มหน้านาง ซึ่งเป็นซุ้มที่สืบต่อมาจากซุ้มแบบดงเดือง แต่กลับเป็นซุ้มตอนเดียว ไม่ได้ปรากฏปีกนกต่อเนื่องกันลงมาซึ่งแตกต่างไปจากซุ้มดงเดือง ภายในซุ้มมักปรากฏเทวดาถือกระบอง ซึ่งเป็นลักษณะที่โดดเด่นของศิลปะมิเซิน A1

ปราสาทมิเซิน C1
ดุยเซ็น
สถาปัตยกรรมปราสาทมิเซิน C1

ปราสาทมิเซิน C1 เป็นปราสาทประธานของมิเซินกลุ่ม C และเป็นปราสาทประธานเพียงหลังเดียววที่มีแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยมีหลังคาเป็นทรงประทุน (เรียกว่าทรงศาลาในศิลปะอินเดียใต้) เนื่องจากปราสาทมีแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทำให้ด้านยาวมีเสาติดผนังจำนวนถึง 7 ต้น โดยสามารถมองเห็นได้เพียงหกต้นเท่านั้น เนื่องจากเสาต้นกลางถูกซุ้มบดบัง ซึ่งถือเป็นลักษณะที่ปรากฏเสมอๆในศิลปะมิเซิน A1 ซุ้มมีลักษณะเป็นซุ้มหน้านาง ซึ่งเป็นซุ้มที่สืบต่อมาจากซุ้มแบบดงเดือง แต่กลับเป็นซุ้มตอนเดียว ไม่ได้ปรากฏปีกนกต่อเนื่องกันลงมาซึ่งแตกต่างไปจากซุ้มดงเดือง ภายในซุ้มมักปรากฏเทวดาถือกระบอง ซึ่งเป็นลักษณะที่โดดเด่นของศิลปะมิเซิน A1

ปราสาทมิเซิน C1
ดุยเซ็น
สถาปัตยกรรมปราสาทมิเซิน C1

ปราสาทมิเซิน C1 เป็นปราสาทประธานของมิเซินกลุ่ม C และเป็นปราสาทประธานเพียงหลังเดียวที่มีแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยมีหลังคาเป็นทรงประทุน (เรียกว่าทรงศาลาในศิลปะอินเดียใต้) ด้านหน้าของปราสาทปรากฏมณฑปซึ่งมียอดเป็นทรงประทุนเช่นเดียวกัน มณฑปมีเสาติดผนังห้าต้น และด้านหน้ามีเกรอบประตูซึ่งสลักจากหิน เสากรอบประตูมีลักษณะเป็นรูปแจกันคว่ำ-หงายสลับกันซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของศิลปะมิเซิน A1

รายละเอียดบัวรัดเกล้าของปราสาทมิเซิน C1
ดุยเซ็น
สถาปัตยกรรมรายละเอียดบัวรัดเกล้าของปราสาทมิเซิน C1

ปราสาทมิเซิน C1 เป็นปราสาทในศิลปะมิเซิน A1 ซึ่งมีลักษณะสำคัญคือ การทำร่องของเสาให้ทะลุเลยขึ้นไปถึงบัวหัวเสา บัวหัวเสาในระยะนี้ ประกอบด้วยบัวหงายทั้งบัวหงายนูนและบัวหงายเว้า และมีระบบการซ้อนกันอย่างซับซ้อนกว่าศิลปะในระยะก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ปราสาทมิเซิน C1 ยังสลักไม่เสร็จ บัวหัวเสาจึงยังไม่ได้มีรายละเอียด

พระพุทธรูปจากปราสาทดงเดือง
โฮจิมินห์
ประติมากรรมพระพุทธรูปจากปราสาทดงเดือง

พระพุทธรูปมีลักษณะตามอย่างศิลปะอมราวดีหรือลังกา กล่าวคือมีอุษณีษะต่ำ พระเกศาขมวดก้นหอย ห่มจีวรเฉียง จีวรเป็นริ้วทั้งองค์ มีขอบจีวรหนายกขึ้นมาพาดพระกรซ้ายเป็นรูปสามเหลี่ยม พระพุทธรูปยกพระหัตถ์ขวาแสดงวิตรรกมุทราและยกพระหัตถ์ซ้ายขึ้นมาจับชายจีวรขนานกันกับพระหัตถ์ขวา รูปแบบทั้งหมดนี้แสดงว่าพระพุทธรูปองค์นี้อาจะเป็นของนำเข้ามาจากอินเดียใต้หรือลังกา

ฐานสลักหินจากปราสาทมิเซิน E
ดานัง
สถาปัตยกรรมฐานสลักหินจากปราสาทมิเซิน E

ฐานสลักหิน ประกอบไปด้วยบันไดทางขึ้นและตัวฐาน โดยบันไดทางขึ้นได้รับอิทธิพลอินเดียอย่างมาก เช่น ภาพของยักษะหรือเทพเจ้าแห่งพื้นดินกำลังแบกฐาน ราวบันไดที่มีสิงห์คายและตกแต่งไปด้วยลายประจำยามก้ามปู อัฒจันทร์ที่เป็นรูปปีกกา เป็นต้น ส่วนตัวฐานเองก็ได้รับอิทธิพลอินเดียอย่างมาก เช่น ซุ้มซึ่งได้รับอิทธิพลจากกูฑุของอินเดียเป็นต้น

รายละเอียดของฐานสลักหินจากปราสาทมิเซิน E
ดานัง
ประติมากรรมรายละเอียดของฐานสลักหินจากปราสาทมิเซิน E

บันไดทางขึ้นได้รับอิทธิพลอินเดียอย่างมาก เช่น ภาพของยักษะหรือเทพเจ้าแห่งพื้นดินกำลังแบกฐาน ราวบันไดที่มีสิงห์คายและตกแต่งไปด้วยลายประจำยามก้ามปู อัฒจันทร์ที่เป็นรูปปีกกา เป็นต้น การประดับสิงห์คายราวบันไดและลวดลายประจำยามก้ามปูนั้น ทำให้นึกไปถึงลวดลายเดียวกันที่ถ้ำอชันตาและในศิลปะลังกาสมัยอนุราธปุระ ซึ่งมีอายุอยู่ในระยะร่วมสมัยกันหรือก่อนหน้าเล็กน้อย แสดงความเกี่ยวข้องกันระหว่างอาณาจักรจามปากับอินเดียและลังกา