Arts in Southeast Asia

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

ศิลปกรรมยอดนิยม

Most Popular

ศิลปกรรมล่าสุด

Latest

371

หอคอยมัสยิดกำปงกลิง

อาคารมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ มีลักษณะแตกต่างไปจากแบบอินเดียหรือเปอร์เซียมาก คืออยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในมีเสาสี่ต้นรองรับหลังคาลาดจำนวนมากซึ่งเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ไม่มีโดม ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือหอคอยซึ่งมีเรือนธาตุซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆและจบด้วยหลังคาลาดแบบจีน การซ้อนชั้นของหอคอยดังกล่าวคล้ายคลึงอย่างยิ่งกับเจดีย์ (ถะ) ในศิลปะจีน ในขณะเดียวกันก็คล้ายคลึงกับหอคอยตามแบบดาร์คารห์ (Dargarh) ของนาคปัฏฏนัมในอินเดียใต้ด้วย

มาเลเซีย

สมัย/รูปแบบศิลปะ
อาณานิคมดัตช์
อายุ
พุทธศตวรรษที่ 22-23
ประเภทงานศิลปะ
สถาปัตยกรรม
พระพุทธรูปปางมารวิชัย
ลำพูน
ประติมากรรมพระพุทธรูปปางมารวิชัย

พระพุทธรูปองค์นี้แสดงปางมารวิชัยประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานหน้ากระดานเกลี้ยง พระพักตร์กลม ขมวดพระเกศาใหญ่ พระเนตรเหลือบต่ำ พระโอษฐ์แย้ม พระหนุเป็นปม พระวรกายอวบอ้วน ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน

พระพุทธรูปปางมารวิชัย
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมพระพุทธรูปปางมารวิชัย

พระพุทธรูปองค์นี้แสดงปางมารวิชัยประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานที่มีกลีบบัวคว่ำบัวหงายและมีลายเกสร พระพักตร์กลม ขมวดพระเกศาใหญ่ พระเนตรเหลือบต่ำ พระโอษฐ์แย้ม พระหนุเป็นปม ยอดอุษณีษะเป็นลูกแก้วคล้ายดอกบัวตูม พระวรกายอวบอ้วน ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน ชายผ้าที่พระเพลาแยกเป็นสองชาย

พระพุทธรูปปางมารวิชัย
เชียงใหม่
ประติมากรรมพระพุทธรูปปางมารวิชัย

พระพุทธรูปองค์นี้แสดงปางมารวิชัยประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานหน้ากระดานเกลี้ยง พระพักตร์กลม ขมวดพระเกศาใหญ่ พระเนตรเหลือบต่ำ พระโอษฐ์แย้ม พระหนุเป็นปม ยอดอุษณีษะเป็นลูกแก้วคล้ายดอกบัวตูม พระวรกายอวบอ้วน ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน ชายผ้าที่พระเพลาแยกเป็นสองชาย

พระเจ้าตนหลวง
พะเยา
ประติมากรรมพระเจ้าตนหลวง

พระพุทธรูปองค์นี้ประทับนั่งขัดสมาธิราย แสดงปางมารวิชัยประทับนั่งบนพื้น พระพักตร์รูปไข่ค่อนข้างเหลี่ยม พระเนตรเหลือบต่ำ พระโอษฐ์บนหยักเป็นรูปปีกกา มุมพระโอษฐ์ตวัดขึ้น พระวรกายบอบบาง พระหัตถ์อูม ปลายนิ้วพระหัตถ์ยาวเสมอกัน ชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี

ปราสาทกำแพงแลง
เพชรบุรี
สถาปัตยกรรมปราสาทกำแพงแลง

ปราสาทกำแพงแลงมีผังพื้นล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ภายในกำแพงศิลาแลงเป็นที่ตั้งของปราสาทศิลาแลงแบบศิลปะเขมรทั้งหมด 4 องค์ ปราสาท 3 องค์ทางด้านหน้าวางตัวเรียงกันในแนวเหนือ-ใต้ โดยปราสาทประธานมีขนาดสูงใหญ่กว่าอีก 2 องค์ คล้ายกับปรางค์สามยอด ลพบุรี ส่วนปราสาทองค์ที่ 4 ตั้งอยู่ด้านหลังของปราสาทประธานด้านทิศตะวันออก และยังปรากฏลวดลายปูนปั้นประดับปราสาท ด้านหน้ามีโคปุระหรือซุ้มประตูทางเข้า 1 หลัง ภายในกำแพงศิลาแลงยังพบสระน้ำอยู่ชิดขอบกำแพงทางทิศตะวันออกด้วยนอกจากนี้ยังพบโบราณวัตถุสำคัญ ได้แก่ พระโพธิสัตว์โลเกศวรเปล่งรัศมี, ส่วนพระวรกายของพระโพธิสัตว์โลเกศวรสี่กร, ส่วนพระวรกายของพระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่อง, เศียรนางปรัชญาปารมิตา จากการใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการสร้างปราสาท และลักษณะของการวางผังปราสาททิศเหนือ ปราสาทองค์กลาง และปราสาททิศใต้ เป็นไปในลักษณะการวางตามคติการนับถือรัตนตรัยมหายาน ปราสาททิศเหนือได้แก่พระนางปรัชญาปารมิตา ปราสาทองค์กลาง คือพระวัชรสัตว์นาคปรก และจากปราสาททิศใต้ได้แก่ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งคติการนับถือรูปเคารพทั้งสามรูปเรียงกันในแนวนี้ เป็นคติการนับถือรูปเคารพในพุทธศาสนามหายาน สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พุทธศตวรรษที่ 18 จึงสามารถกำหนดอายุเวลาในการสร้างปราสาทกำแพงแลงนี้ได้ว่าร่วมสมัยกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และจารึกที่ปราสาทพระขรรค์ ประเทศกัมพูชา กล่าวถึงเมือง “ศรีชัยวัชรปุระ” (เมืองเพชรบุรี) หนึ่งในหกเมืองโบราณในภาคกลางที่มีการกล่าวต่อไปอีกว่าได้มีการส่งพระชัยพุทธมหานาถ 1 ใน 23 องค์จากเมืองพระนครหลวง มาประดิษฐานที่เมืองเพชรบุรีนั่นก็คือปราสาทวัดกำแพงแลง และเมื่อเทียบกับโบราณสถานแล้ว ก็เป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่า ปราสาทกำแพงแลงแห่งนี้ ก็คือปราสาทที่กล่าวถึงในจารึกนั้น ซึ่งปราสาทพระขรรค์เป็นปราสาทที่ร่วมสมัยกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เช่นกัน

ปราสาทสระกำแพงใหญ่
ศรีสะเกษ
สถาปัตยกรรมปราสาทสระกำแพงใหญ่

ปราสาทมีระเบียงคดล้อมรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยม ภายในระเบียงคดปรากฏอาคารจำนวน 6 หลัง คือ กลุ่มปราสาทประธาน 3 หลังตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ด้านหน้ามีบรรณาลัยในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 2 ข้าง และด้านหลังยังปรากฏปราสาทอีก 1 หลัง ซึ่งตั้งเยื้องอยู่ทางด้านทิศใต้และทำให้ปราสาทมีแผนผังที่ไม่สมมาตรวัสดุที่ใช้ก่อสร้างปราสาทประธาน ประกอบด้วยหินทรายและอิฐในหลังเดียวกัน โดยส่วนที่เป็นผนังมักก่อนอิฐ ส่วนที่ใช้ในการสลักภาพ เช่น หน้าบัน ทับหลังและเสาประดับกรอบประตูนั้น กลับสลักด้วยหินทราย อนึ่ง การผสมผสานกันระหว่างวัสดุ 2 ประเภทในปราสาทหลังเดียวกันนี้ ถือเป็นลักษณะเฉพาะของศิลปะขอมในดินแดนไทยเท่านั้นปราสาทประธานของปราสาทสระกำแพงใหญ่ แม้ว่าลวดลายได้มีอิทธิพลของศิลปะนครวัดเข้ามาปะปนแล้ว แต่สำหรับแผนผังและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมนั้นยังคงแสดงความเกี่ยวข้องกับปราสาทรุ่นเก่าอยู่ เช่น การไม่มีมณฑปยาว มีแต่เพียงมุขสั้นๆ เป็นต้น ปราสาทด้านหลังปราสาทประธานนั้นเป็นปราสาทที่ตั้งอยู่นอกแผนผังที่สมมาตร กล่าวคือ เป็นปราสาทเพียงหลังเดียวที่ตั้งอยู่ด้านหลังปราสาท 3 องค์ด้นหน้า และตั้งเยื้องไปทางทิศใต้ ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าปราสาทหลังนี้สร้างขึ้นเนื่องด้วยคติใดและอุทิศให้กับเทพหรือเทพีองค์ใด อย่างไรก็ตาม ย่อมแสดงให้เห็นความเป็นพื้นเมืองของปราสาทขอมในดินแดนไทยที่อาจสร้างปราสาทแบบไม่สมมาตรได้

ปราสาทศีขรภูมิ
สุรินทร์
สถาปัตยกรรมปราสาทศีขรภูมิ

ประกอบด้วยปราสาทอิฐจำนวน 5 หลังตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ปราสาทประธานมีขนาดใหญ่ที่สุดในขณะที่อีก 4 หลังตั้งอยู่ที่มุม ทั้ง 4 ปราสาทล้อมรอบด้วยคูน้ำยกเว้นทางด้านทิศตะวันออกซึ่งเป็นทางเข้าปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นในพุทธศตวรษที่ 17 ซึ่งตรงกับศิลปะร่วมแบบนครวัด โดยสามารถกำหนดอายุได้จากลวดลายบนกรอบประตูและทับหลังของปราสาทประธาน อย่างไรก็ดี ปราสาทแห่งนี้ยังคงสร้างด้วยอิฐ อันแตกต่างไปจากปราสาทสมัยนครวัดในประเทศกัมพูชาที่นิยมสร้างด้วยหินทรายเสมอแผนผังของปราสาทศรีขรภูมิ มีความพิเศษที่แตกต่างไปจากปราสาทหลังอื่นๆในประเทศไทย เนื่องจากเป็นปราสาท 5 หลังที่ตั้งอยู่บนฐานไพทีเดียวกัน โดยปราสาทประธานตั้งอยู่ตรงกลางและล้อมรอบไปด้วปราสาทบริวารอีก 4 มุม ลักษระเช่นนี้แตตก่งไปจากปราสาทที่พบในประทศไทยโดยทั่วไปที่มักเป็นปราสาท 3 หลังเรียงกันอยู่บนฐานไพทีปราสาทประธานของปราสาทศีขรภูมิ รวมถึงปราสาทหลังอื่นๆ มีลักษณะเป็นปราสาทเดี่ยวที่ไม่มีการต่อเชื่อมมณฑป ส่วนที่เป็นผนังเรียบๆ มักใช้อิฐเป็นวัสดุหลัก ส่วนที่ต้องสลัก เช่น ทับหลัง เสาประดับกรอบประตูและเสากรอบประตู มักใช้หินทรายในการสลัก การปะปนกันของวัสดุสองประเภทนี้ ปรากฏมาก่อนแล้วตั้งแต่ปราสาทสระกำแพงใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน และถือเป็นลักษณะพื้นเมืองของปราสาทขอมในดินแดนไทยเอง เนื่องจากปราสาทสมัยนครวัดในประเทศกัมพูชาย่อมสลักด้วยหินทรายเสมอ เนื่องจากปราสาทประธานปรากฏทับหลังรูปศิวนาฏราช จึงเป็นไปได้สูงที่ปราสาทหลังนี้สร้างขึ้นในลัทธิไศวนิกาย ปราสาททั้งห้าหลังนี้จึงอาจเคยประดิษฐานศิวลึงค์อันเป็นสัญลักษณ์ของพระศิวะก็ได้ ในระยะหลัง ปราสาทแห่งนี้ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาเถรวาทโดยชาวลาวที่อพยพเข้ามาภายหลัง หลักฐานที่สำคัญได้แก่จารึกกรอบประตูและการซ่อมแปลงยอดของปราสาทบริวารหลังตะวันตกเฉียงใต้มีลักษณะคล้ายพระธาตุศิลปะล้านช้างในพุทธศาสนา มีการก่อยอดขึ้นไปใหม่เลียนแบบยอดปราสาทในศิลปะขอมแต่มีรูปแบบแตกต่างไปจากต้นแบบอย่างชัดเจน ส่วนกลีบขนุนก็มีการนำขึ้นไปจัดเรียงใหม่ด้วย

ปราสาทบ้านพลวง
สุรินทร์
สถาปัตยกรรมปราสาทบ้านพลวง

เป็นปราสาทขนาดเล็กหลังเดียวสร้างจากหินทราย ตั้งอยู่บนฐานไพทีรูปกากบาทขนาดใหญ่ที่สร้างจากศิลาแลง การที่ฐานศิลาแลงนี้มีปีก 2 ข้างซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าตัวปราสาทมากจึงทำให้คิดไปได้ว่าอาจเคยมีแผนในการสร้างปราสาทบริวารด้วย แต่ปัจจบันไม่ปรากฏแล้ว โดยที่ไม่ทราบว่าเนื่องจากปราสาทดังกล่าวไม่เคยสร้างเสร็จ หรือเคยเป็นไม้จึงได้สูญหายไปหมดแล้วปราสาทหลังนี้เป็นตัวอย่างปราสาทขนาดเล็กที่มีภาพสลักที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ประตูหลักอยู่ทางทิศตะวันออกในขณะที่อีกสามด้านเป็นประตูหลอก ตัวปราสาทมีภาพสลักในศิลปะร่วมแบบบาปวนอย่างงดงามทั้งบนทับหลังและหน้าบันอันทำให้พอกำหนดอายุได้ว่าอาจมีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 17 สำหรับยอดของปราสาทนั้นอาจเป็นไปได้ที่เคยก่อด้วยอิฐมาก่อน เมื่อเวลาผ่านไปจึงสูญหายไปตามกาลเวลาทับหลังของปราสาทหลังนี้มักประกอบด้วยหน้ากาลแลบลิ้นสามเหลี่ยมคายท่อนพวงมาลัยตามแบบบาปวนโดยทั่วไป บางครั้งทับหลังก็มีพวงอุบะมาแบ่งตรงเสี้ยว บางครั้งก็ไม่มีซึ่งลักษณะเช่นนี้เป็นการพิสูจน์ว่าทับหลังแบบมีเสี้ยวและไม่มีเสี้ยวนั้นได้รับความนิยมในระยะร่วมสมัยกันส่วนหน้าบันนั้นมีลักษณะเป็นแบบบาปวนโดยทั่วไปเช่นกัน กล่าวคือ มีกรอบหน้าบันเป็นรูปก้านต่อดอกหันหัวลง มีนาคที่มีกระบังหน้า ภายในหน้าบันประกอบด้วยลายพรรณพฤกษาที่มีหน้ากาลคายอยู่เบื้องล่าง อนึ่ง เนื่องจากนาคปลายกรอบหน้าบันเริ่มมีกระบังหน้าแล้ว จึงอาจเป็นไปได้ที่ปราสาทหลังนี้คงมีอายุอยู่ในสมัยบาปวนตอนปลาย และอาจมีอายุหลังจากปราสาทเขาพระวิหารและปราสาทเมืองต่ำเล็กน้อย ทั้งหน้าบันและทับหลังของปราสาทหลังนี้ แสดงภาพพระกฤษณะในตอนต่างๆ เช่น กฤษณะยกภูเขาโควรรธนะ และกฤษณะปราบนาคกาลียะ นอกจากนี้ยังปรากฏภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณในหลายจุดอีกด้วย