Arts in Southeast Asia

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

ศิลปกรรมยอดนิยม

Most Popular

ศิลปกรรมล่าสุด

Latest

374

หอคอยมัสยิดกำปงกลิง

อาคารมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ มีลักษณะแตกต่างไปจากแบบอินเดียหรือเปอร์เซียมาก คืออยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในมีเสาสี่ต้นรองรับหลังคาลาดจำนวนมากซึ่งเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ไม่มีโดม ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือหอคอยซึ่งมีเรือนธาตุซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆและจบด้วยหลังคาลาดแบบจีน การซ้อนชั้นของหอคอยดังกล่าวคล้ายคลึงอย่างยิ่งกับเจดีย์ (ถะ) ในศิลปะจีน ในขณะเดียวกันก็คล้ายคลึงกับหอคอยตามแบบดาร์คารห์ (Dargarh) ของนาคปัฏฏนัมในอินเดียใต้ด้วย

มาเลเซีย

สมัย/รูปแบบศิลปะ
อาณานิคมดัตช์
อายุ
พุทธศตวรรษที่ 22-23
ประเภทงานศิลปะ
สถาปัตยกรรม
พระพุทธรูปนาคปรก
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมพระพุทธรูปนาคปรก

พระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ทำปางสมาธิ ประทับอยู่บนขนดนาค เบื้องหลังมีพังพานนาคปรกไว้พระพักตร์เหลี่ยม สวมเครื่องทรงมากชิ้น ได้แก่ กุณฑลทรงตุ้มแหลม กระบังหน้าและรัดเกล้ากรวยอันประกอบด้วยชั้นลดหลั่นของแถวกลีบบัว เป็นหนึ่งในลักษณะเด่นของพระพุทธรูปศิลปะเขมรแบบบายน สวมกรองศอ พาหุรัด ทองพระกร แม้ว่าพื้นที่ระหว่างพระกรกับพระวรกายจะเจาะทะลุทำให้เกิดความรู้สึกว่าเปล่าเปลือย อันเป็นลักษณะเด่นของพระพุทธรูปศิลปะลพบุรี ทว่ากลับปรากฏขอบจีวรเฉวียงพระอุระและชายจีวรสี่เหลี่ยมพาดอยู่บนพระอังสาซ้าย ภายในพระหัตถ์ขวามีตลับกลมวางอยู่ ขนดนาครองรับพระพุทธองค์มี 3 ชั้น ชั้นบนมีขนาดใหญ่ที่สุด จากนั้นจึงลดหลั่นขนาดลงตามลำดับ ตกแต่งลวดลายคล้ายเกร็ดงู นาคมี 7 เศียร รูปทรงดังสามเหลี่ยมหรือใบโพธิ์ เศียรกลางใหญ่ที่สุด เศียรด้านข่างทั้งหกมีขนาดเท่ากันโดยหันขึ้นหาเศียรกลาง

ศิวลึงค์
ปราจีนบุรี
ประติมากรรมศิวลึงค์

ศิวลึงค์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน ล่างสุดเป็นสี่เหลี่ยม ตรงกลางเป็นแปดเหลี่ยม บนสุดเป็นวงกลม

พระพรหม
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมพระพรหม

ประติมากรรมพระพรหมอยู่ในอิริยาบถยืนบนฐานหน้ากระดาน พระชงฆ์ซ้ายและพระกรขวาล่างชำรุดสูญหายพระพักตร์ทั้งสี่มีรูปแบบเหมือนกัน กล่าวคือ รูปพระพักตร์เหลี่ยม คิ้ว 2 ข้างเกือบเป็นเส้นตรงและคมเป็นสัน พระเนตรเบิกโพรง พระนาสิกใหญ่ พระโอษฐ์แบะ มีพระมัสสุอยู่เหนือพระโอษฐ์ พระฑาฐิกะสลักนูนเห็นเด่นชัดโดยสลักยาวต่อเนื่องจากพระกรรเจียก (ขมับ) พระฑาฐิกะบริเวณพระหนุ (คาง) เป็นมุมแหลม พระกรรเจียกเป็นมุมแหลม รูปแบบของพระพักตร์และองค์ประกอบต่างๆ ที่กล่าวมานี้เทียบได้กับประติมากรรมศิลปะเขมรแบบบาแค็ง กระบังหน้าขนาดใหญ่ไม่ประดับตกแต่งลวดลาย มวยพระเกศาทรงกระบอกไม่ประดับตกแต่งเช่นกัน พระวรกายช่วงบนเปล่าเปลือย มีสี่กร พระวรกายช่วงล่างนุ่งสมพตสั้น ชายผ้าพาดยาวอยู่ตรงกลาง มีเข็มขัดผ้ารัดที่บริเวณพระโสณี ปลายเข็มขัดผ้าห้อยตกลงมาเหนือพระอูรุ (หน้าขา) ผ้านุ่งเช่นนี้เทียบได้กับศิลปะเขมรแบบาแค็ง เพียงแต่ว่าพระพรหมองค์นี้ไม่มีเส้นริ้วตามแนวตั้งประดับผ้านุ่ง ซึ่งการประดับเส้นริ้วนี้เป็นสิ่งที่พบได้ในศิลปะเขมรแบบบาแค็ง

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรยืนตรงบนฐานหน้ากระดาน พระพักตร์เหลี่ยม พระขนงคมเป็นสัน พระเนตรเบิกโพรง พระนาสิกและพระโอษฐ์สมส่วน สวมกุณฑลทรงตุ้มแหลม สวมกระบังหน้าและรัดเกล้ากรวยเทียบได้กับเทวรูปในศิลปะนครวัด กึ่งกลางของรัดเกล้ามีร่องรอยพระพุทธรูปซึ่งถูกกะเทาะรายละเอียดออก พระพุทธรูปที่รัดเกล้าทำให้เชื่อว่าประติมากรรมนี้เป็นรูปพระโพธิสัตว์อวโลกติศวร เพราะเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ประจำพระองค์ โดยพระพุทธรูปนี้คือพระธยานิพุทธเจ้าอมิตาภะ ผู้บันดาลให้พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรถือกำเนิดขึ้นมาพระวรกายด้านบนเปล่าเปลือย พระวรกายด้านล่างสวมพตสั้น สลักลายเส้นตรงทำให้เหมือนเป็นผ้าอัดกีบ ชักชายผ้าเป็นวงโค้งบริเวณใต้พระอุทร และมีชายผ้าทรงคล้ายหางปลาพาดลงตรงกลาง ลักษณะผ้านุ่งดังกล่าวนี้เป็นรูปแบบของประติมากรรมในศิลปะแบบนครวัด พระกรทั้งสี่ถือสิ่งของต่างๆ ที่เป็นของประจำพระองค์ กล่าวคือ พระหัตถ์ขวาล่างถือดอกบัว พระหัตถ์ขวาบนถือประคำ พระหัตถ์ซ้ายล่างถือคัมภีร์ พระหัตถ์ซ้ายบนถือสังข์

พระพุทธรูป
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมพระพุทธรูป

ประติมากรรมชุดนี้ประกอบด้วยพระพุทธรูป 3 องค์นั่งเรียงกัน องค์กลางมีขนาดใหญ่ที่สุด ทุกองค์มีรูปแบบเช่นเดียวกัน กล่าวคือ นั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ทำปางมารวิชัย สวมมงกุฏแบบที่เรียกกันว่า เทริดขนนก กุณฑลตวัดงอน เครื่องทรงทั้งสองนี้น่าจะเกี่ยวข้องกับศิลปะอินเดียแบบปาละ ทั้งนี้อาจรับมาโดยตรงหรือรับผ่านศิลปะพม่าแบบพุกามหรือศิลปะหริภุญชัยทางภาคเหนือของไทยก็ได้พระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ยังสวมกรองศอ ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิสี่เหลี่ยมยาวจรดกึ่งกลางพระอุทร รองรับด้วยฐานบัวที่ตกแต่งกลีบบัวคว่ำบัวหงาย 3 แนว พระพุทธรูปทั้ง 3 องค์วางอยู่บนฐานบัวสี่เหลี่ยมยกเก็จที่กึ่งกลาง ฉากหลังของแต่ละองค์เป็นซุ้มเรือนแก้วแบบคดโค้งประดับด้วยใบระกา ปลายกรอบด้านนอกของเรือนแก้วด้านซ้ายและขวาทำรูปเศียรนาคคายอุบะ ถัดขึ้นไปจากเรือนแก้วเป็นกิ่งก้านสาขาของต้นไม้ เข้าใจว่าอาจหมายถึงต้นโพธิ์

พระไภษัชยคุรุ
ร้อยเอ็ด
ประติมากรรมพระไภษัชยคุรุ

ประติมากรรมอยู่ในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบบนฐานหน้ากระดานที่ประดับลายกลีบบัว พระพักตร์ สวมมงกุฎอันประกอบด้วยกระบังหน้าและรัดเกล้ากรวยซ้อนชั้น สวมกุณฑลทรงตุ้มแหลม พระกรกายช่วงบนเปล่าเปลือย พระหัตถ์ทั้งสองประคองหม้อน้ำไว้ในตำแหน่งพระอุทร

พระไภษัชยคุรุ
ร้อยเอ็ด
ประติมากรรมพระไภษัชยคุรุ

ประติมากรรมอยู่ในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบบนฐานหน้ากระดานที่ประดับลายกลีบบัว พระพักตร์สี่เหลี่ยม สวมมงกุฎอันประกอบด้วยกระบังหน้าและรัดเกล้ากรวยซ้อนชั้น สวมกุณฑลทรงตุ้มแหลม พระกรกายช่วงบนเปล่าเปลือย พระหัตถ์แต่ละข้างถือวัชระโดยวางซ้อนกันบริเวณพระอุทร

พระไภษัชยคุรุ
ขอนแก่น
ประติมากรรมพระไภษัชยคุรุ

ประติมากรรมอยู่ในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบบนฐานหน้ากระดานที่ประดับลายกลีบบัว พระพักตร์สี่เหลี่ยม พระขนงทั้งสองข้างคมเป็นสันและเชื่อมต่อกัน พระเนตรเบิกโพรง แย้มพระโอษฐ์เล็กน้อย สวมมงกุฎอันประกอบด้วยกระบังหน้าและรัดเกล้ากรวยซ้อนชั้น สวมกุณฑลทรงตุ้มแหลม พระกรกายช่วงบนเปล่าเปลือย พระหัตถ์แต่ละข้างถือวัชระโดยวางซ้อนกันบริเวณพระอุทร