ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

สุนันทานุสาวรีย์

คำสำคัญ :

ชื่อเรียกอื่นพีระมิดพระนางเรือล่ม
ชื่อหลักอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว
ชื่ออื่นน้ำตกพลิ้ว
ประเภทงานศิลปะสถาปัตยกรรม
ตำบลคมบาง
อำเภอเมือง
จังหวัดจันทบุรี
ภาคภาคตะวันออก
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 12.5261546
Long : 102.178528
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 48 P
Hemisphere : N
E : 193352.65
N : 1386374.41
ตำแหน่งงานศิลปะบริเวณอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว

ประวัติการสร้าง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสร้างขึ้นเมื่อพ.ศ.2424เพื่อเป็นที่ระลึกถึงสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี พระอัครมเหสีที่สิ้นพระชนม์จากเหตุการณ์เรือพระประเทียบล่มเมื่อ พ.ศ.2423 เนื่องจากทั้ง 2 พระองค์พระองค์เคยเสด็จประพาสน้ำตกพลิ้ว เมื่อ พ.ศ. 2417 และทรงชื่นชมความงามธรรมชาติของน้ำตกพลิ้วเป็นอย่างยิ่ง

ลักษณะทางศิลปกรรม

อนุสาวรีย์ก่อด้วยหินตัดในผังฐานสีเหลี่ยมจัตุรัส ก่อเป็นยอดแหลมทรงพีระมิด กลางด้านมีจารึกพระราชหัตถเลขาในรัชกาลที่ 5

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

สุนันทานุสาวรีย์หรือ พีระมิดพระนางเรือล่มตั้งอยู่ในบริเวณอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว จังหวัดจันทบุรี การที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างอนุสาวรีย์เป็นรูปปิรามิด เนื่องจากทรงพระราชดำริว่า "ทำเป็นรูปอื่นอาจไม่คงทนถาวร เพราะตั้งอยู่กลางป่าเขาลำเนาไพร อันไม่มีผู้ดูแล ฉะนั้น เมื่อปิรามิดของอียิปต์ยืนยงคงทนได้ฉันใด ปิรามิดน้อยนี้ก็คงจะยืนยงคงทนอยู่เช่นกัน ณ ท่ามกลางป่าและเสียงไหลรินของธารพลิ้ว" รัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานนามอนุสาวรีย์ว่า "สุนันทานุสาวรีย์" ภายในอนุสาวรีย์เป็นที่บรรจุพระอังคารของสมเด็จพระนางเจ้าฯรูปแบบของอนุสาวรีย์ที่สร้างขึ้นในรัชสมัยนี้สะท้อนถึงแนวคิดและพัฒนาการทางด้านรูปแบบที่แตกต่างไปจากสมัยก่อนที่นิยมสร้างสถูปเจดีย์เพื่อบรรจุพระอัฐิ

อายุพุทธศตวรรษที่ 25
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องประเพณีในราชสำนัก

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-06-17
ผู้จัดทำข้อมูลพัสวีสิริ เปรมกุลนันท์
บรรณานุกรม

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จประพาสหัวเมืองชายทะเลตะวันออกในปีมะเมีย พ.ศ. 2425 กับปีมะแม พ.ศ. 2426 และปีวอก พ.ศ.2427 รวม 3 คราว. พระนคร : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2470.