ศาสนสถานและศาลสิ่งศักดิ์สิทธิ์

101 แห่ง

ผลการค้นหา : 101 แห่ง

คริสตจักรมหาชัย อำเภอเมืองสมุทรสาคร

คริสตจักรมหาชัย ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2521 (ค.ศ.1978) เป็นโบสถ์ของชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีนมหาชัย ที่นับถือศาสนาคริสต์ นิกายโปรแตสแตนต์

มัสยิดนูรุ้ลลอฮฺ (สุเหร่าขาว,สุเหร่ากาขาว) อำเภอเมืองสมุทรสาคร

สถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาแห่งนี้เริ่มต้นโดย ลุงขาว ผู้นับศาสนาอิสลาม อายุ 97 ปี ใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยมากว่า 70 ปีได้สร้างมัสยิดขึ้น ท่านได้เริ่มต้นตามธรรมเนียมปฏิบัติของมุสลิมปาทาน คือ เดลา ใช้สำหรับที่ประกอบธรรมปฏิบัติและสถานที่ที่ใช้ในการละหมาดชั่วคราว แลกเปลี่ยนพบปะของหมู่มิตร ต่อมาได้พัฒนา เดลาเป็นรูปแบบของมัสยิด โดยช่วงแรกนั้นมัสยิดเป็นเพียงอาคารไม้ ผู้ที่เข้ามาส่วนใหญ่เป็นมุสลิมจากเมียนมา รวมทั้งชาวกะเหรี่ยงที่นับถือศาสนาอิสลามก็จะมาประกอบศาสนกิจที่นี่ จนทุกวันนี้หากเป็นวันศุกร์ ช่วงเย็น จะผู้มารวมตัวประกอบศาสนกิจกว่าสองร้อยคน ส่วนมากมาจากกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ที่มัสยิดแห่งนี้ยังสอนการอ่านคัมภีร์ อัล-กุรอาน

วัดกระโจมทอง อำเภอบ้านแพ้ว

ประวัติ วัดกระโจมทอง ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2442 เดิมชื่อวัดโพธิ์ศรีราษฎร์ศรัทธาราม มีนายหรั่ง กำนันยิ้ม และนางฟัก ธูปทอง เป็นผู้ถวายที่ดินสร้างวัด ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดกระโจมทองเนื่องจากมีชาวบ้านที่อาศัยติดกับวัดได้ทำกระโจมเพื่อนวดข้าว ประชาชนจึงเรียกว่า วัดโรงกระโจม ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นวัดกระโจมทองจนถึงปัจจุบัน ที่ดิน 43 ไร่ 1 งาน 94 ตารางวา ปีที่สร้างวัด พ.ศ. 2442 ปีที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2481 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 42 เมตร ยาว 60 เมตร เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน พระครูสาครคุณาธาร ลำดับเจ้าอาวาส รูปที่ 1 พระอธิการรูป, รูปที่ 2 พระอธิการถึก, รูปที่ 3 พระอธิการบุญเกิด, รูปที่ 4 พระครูสาครสุวรรณคุณ พ.ศ. 2483 – 2512, รูปที่ 5 พระครูสาครคุณาธาร พ.ศ. 2514 – ปัจจุบัน อาคารเสนาสนะสำคัญในวัด    อุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2511 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทยประยุกต์ หลังคาทรงจั่วซ้อน 3 ชั้น 3 ตับ มุงกระเบื้อง หน้าบันประดับเครื่องลำยอง และปูนปั้นพระแม่ธรณีบีบมวยผม ขนาบข้างด้วยรูปบุคคลและม้า ล้อมรอบด้วยลายก้านขด ทาสีทอง ทางเข้าด้านหน้าเจาะช่องประตู 2 ช่อง ประดับประตูไม้แกะสลัก เหนือกรอบประตูเป็นซุ้มยอดปราสาท ผนังด้านข้างเจาะช่องหน้าต่าง 5 ช่อง ประดับหน้าต่างไม้    ศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2500 เป็นอาคารไม้ทรงไทย ยกพื้นสูง ผนังทึบทั้ง 4 ด้าน บันไดทางขึ้นทั้งสองข้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคาเป็นทรงจั่ว มุงกระเบื้อง หน้าบันประดับเครื่องลำยอง และปูนปั้นพระพุทธรูปประทับยืน พื้นที่ว่างประดับกระจกสีสีน้ำเงิน    วิหารหลวงพ่อสาย พระครูสาครสุวรรณคุณ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2555 เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ทรงจตุรมุข หน้าบันตกแต่งด้วยปูนปั้นพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิ ล้อมรอบด้วยลายก้านขด ทาสีทอง    หอฉัน เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก    หอสวดมนต์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2492 เป็นอาคารไม้    กุฏิสงฆ์ 11 หลัง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ 3 หลัง และเป็นตึก 8 หลัง    ศาลาบำเพ็ญกุศล 1 หลัง ศาลาคุณพ่อป่วน คุณแม่นิตย์ ไพรสน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2539 ด้านหน้าอาคารมีหลังคาเมทัลชีทและโครงเหล็กคลุม สร้างเมื่อ พ.ศ. 2551 ถัดไปเป็นส่วนต่อขยาย โดยนางสาวจันทรา (กุหลาบ) ลองทะเล สร้างที่จัดเตรียมอาหารและห้องน้ำ พ.ศ. 2550    วิหารประดิษฐานพระพุทธรูปและพระสีวลี เป็นอาคารไม้ทรงไทย ไม่มีผนัง มุงสังกะสี    เมรุ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทยประยุกต์ หลังคาทรงมณฑปยอดปราสาท และทรงจั่ว หน้าบันประดับปูนปั้นรูปราหู โรงเรียนในเขตวัด โรงเรียนวัดกระโจมทอง พระพุทธรูปและสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญ    หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์พุทธนิมิตร์อมรเมธ พระประธานในอุโบสถ ปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย สร้างเมื่อ พ.ศ. 2507   พระครูสาครสุวรรณคุณ (หลวงพ่อสาย)เกจิอาจารย์ พระครูสาครสุวรรณคุณ (หลวงพ่อสาย) อดีตเจ้าอาวาสวัดกระโจมทอง ด้านนักพัฒนาประเพณี/งานประจำปี    ทำบุญ ทุกวันพระและวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา    งานประจำปี วันที่ 3 – 5 มีนาคม ของทุกปี งานประจำปีปิดทองหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ฯและหลวงพ่อสาย สิ่งที่น่าสนใจอื่นๆ    บ้านดิน สร้างสมัยพระครูสาครสุวรรณคุณ

วัดกลางอ่างแก้ว อำเภอเมืองสมุทรสาคร

ไม่ทราบประวัติการก่อสร้าง แต่อาจตั้งเมื่อ พ.ศ.2410 สิ่งสำคัญได้แก่ อุโบสถเก่า ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน

วัดคลองครุ อำเภอเมืองสมุทรสาคร

วัดคลองครุ เป็นวัดราษฎร์ สังกัดมหานิกาย ไม่มีประวัติการก่อสร้างแน่ชัด ชื่อวัดคลองครุมาจากตำแหน่งที่ตั้งวัดซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับคลองครุ ในเอกสารประวัติวัดจังหวัดสมุทรสาคร ระบุว่าสร้างเมื่อ พ.ศ.2430 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2479 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 12 เมตร ยาว 26 เมตร (กองพุทธศาสนสถาน 2545 : 8)มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับประวัติวัดคลองครุว่า เดิมเป็นสำนักสงฆ์สมัยต้นธนบุรี สร้างเมื่อประมาณ 200 ปีเศษ ชาวรามัญได้อพยพเข้ามาทำมาหากินในคลองครุเป็นจำนวนมาก และมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจึงได้พร้อมใจกันสร้างสำนักสงฆ์แห่งนี้ขึ้นเพื่อเป็นสถานที่บำเพ็ญกุศลและกระทำพิธีทางศาสนา มีเจ้าสำนักสงฆ์ผลัดเปลี่ยนกันปกครองเรื่อยมา ที่ปรากฏปกครองอยู่นานถึง 20 พรรษา ชื่อพระพุก อาคารเสนาสนะ ส่วนใหญ่มีการปรับปรุงซ่อมแซมเป็นอาคารสมัยใหม่ ยังคงเหลือศาลาการเปรียญหลังเก่า และกุฏิสงฆ์ศาลาการเปรียญ  ลักษณะเป็นอาคารไม้ยกพื้นเตี้ย ไม่สูงมาก ตัวอาคารเปิดโล่งไม่มีผนัง หลังคาทรงปั้นหยา มุงด้วยกระเบื้องว่าวซีเมนต์ ต่อชายคาทั้งสี่ด้านมุงด้วยกระเบื้องซีเมนต์ลอนคู่ ภายในเป็นเสากลม พื้นทีใช้งานตรงกลางยกพื้นเพื่อเป็นเสนาสนะสำหรับพระสงฆ์  เป็นจากข้อมูลสัมภาษณ์ พระอาจารย์มนัส จันทร์ทอง พระลูกวัดคลองครุ ระบุว่าสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 70  ปีมาแล้ว สมัยพระอธิการปิ่น เป็นเจ้าอาวาส (วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2481)

วัดชัยมงคล อำเภอเมืองสมุทรสาคร

วัดชัยมงคล เป็นวัดราษฎร์ สังกัดมหานิกาย ตั้งเมื่อ พ.ศ.2466 โดยมีนายคำ-นางแกละ ปัญญารัตน์ เป็นผู้บริจาคที่ดินให้สร้างวัด และชาวบ้านได้ร่วมใจกันสร้างกุฏิขึ้น เพื่อใช้ประกอบพิธีทางศาสนา และได้อาราธนาพระเปลี่ยน กนฺตสีโล จากวัดคลองครุมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส เดิมชื่อว่าวัดหัวตะเข้ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นวัดชัยมงคล รายนามเจ้าอาวาสที่มาปกครองได้แก่        รูปที่ 1 พระครูสาครสีลาจารย์ พ.ศ.2466-2519        รูปที่ 2 พระครูสาครมงคลชัย พ.ศ.2519-2549        รูปที่ 3 พระครูพิพัฒน์ชัยมงคล พ.ศ.2549-ปัจจุบัน

วัดตึกมหาชยาราม อำเภอเมืองสมุทรสาคร

วัดตึกมหาชยาราม เป็นวัดราษฎร์ สังกัดมหานิกาย ไม่พบหลักฐานว่าผู้ใดเป็นผู้สร้าง ตามประวัติกล่าวว่าสร้างขึ้นประมาณ พ.ศ.2230 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ เดิมชาวบ้านเรียกกันว่า “วัดคงคาราม” ต่อมามีนายอากรชาวจีน ชื่อ “ตั๋วตี๋” ได้อพยพครอบครัวมาจากจังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อแสวงหาภูมิลำเนาใหม่ในการประกอบอาชีพ ได้เดินทางมาทางเรือและแวะเข้ามาพักที่บริเวณหน้าวัดนี้ในระหว่างเดินทางเกิดนิมิตว่า พระประธานในพระอุโบสถแนะนำให้ไปตั้งภูมิลำเนาแถบแม่น้ำสมุทรปราการจะมีโชคใหญ่ ครั้นไปตั้งภูมิลำเนาตามที่นิมิต ปรากฏว่าต่อมาร่ำรวยมากขึ้น จึงเกิดความเลื่อมใสได้มาทำนุบำรุงวัดนี้ขึ้น โดยสร้างกุฏิเป็นตึกแบบจีน 2 หลัง วิหาร 1 หลัง กับศาลาตึก 1 หลัง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวบ้านจึงเปลี่ยนมาเรียกชื่อวัดย่อๆ ว่า “วัดตึก” (สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี 2553 : 100-101)  จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ.2468 พระธรรมสิริชัย (ชิต ชิตวิปุโล) มาดำรงเจ้าอาวาส ได้เริ่มให้มีการศึกษาสอนบาลี และมีพระภิกษุสอบได้มหาเปรียญเป็นจำนวนมาก จึงได้มีการต่อนามวัดเป็น “วัดตึกมหาชยาราม” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อพ.ศ. 2400 (กองพุทธศาสนสถาน 2545 : 21)อาคารเสนาสนะที่สำคัญมีดังนี้ คือพระอุโบสถ  เป็นอาคารไม้ทรงไทย หลังคาทรงจั่วลดชั้น 2 ชั้น มุงกระเบื้องดินเผาซ้อนกันชั้นละ 3 ตับ ด้านหน้าและด้านหลังทำเป็นมุขลดด้านละ 1 ห้อง ด้านข้างต่อชายคาปีกนกมีเสาไม้กลมรองรับโครงหลังคา หน้าบ้านทำเป็นรูปครุฑยุดนาคล้อมรอบด้วยลวดลายพันธุ์พฤกษา ช่อฟ้าใบระกาไม้ประดับกระจก มีประตูทางเข้าด้าน 2 ประตู บานประตูไม้แกะสลักลายกนกเปลวเพลิงทาสีทอง ผนังอาคารทาสีทอง ทำเป็นช่องหน้าต่างด้านละ 6 บาน ภายนอกรอบพระอุโบสถ มีซุ้มใบเสมาภายในมีเสมาหินทรายแดงตั้งอยู่ภายในวิหาร  ลักษณะเป็นเก๋งจีน ก่ออิฐถือปูนหลังเล็กๆ หลังคามุงกระเบื้องดินเผามีปูนปั้นเป็นสันตามแนวยาวแบบจีน สันหลังคาประดับลวดลายปูนปั้น มีประตูทางเข้าด้านหน้า 1 ประตู ด้านหลังทึบ ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปเจดีย์ ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าพระอุโบสถจำนวน 3 องค์ มีลักษณะเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนขนาดเล็กย่อมุมไม้สิบสองจำนวน 2 องค์ อีกองค์เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทรงระฆังกลม รอบองค์เจดีย์เป็นฐานสี่เหลี่ยมยกสูงขึ้นมีระเบียงล้อมรอบ ฐานเจดีย์เป็นฐานบัวกลมถัดขึ้นไปเป็นชุดมาลัยเถา องค์ระฆังกลม ส่วนยอดเป็นบังลังก์สี่เหลี่ยม มีเสาหานโดยรอบรองรับปล้องไฉนและปลียอด สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 (กองพุทธศาสนสถาน 2545 : 21)การสร้างวัดคงคาราม หรือวัดตึกมหาชยาราม ที่บริเวณริมแม่น้ำท่าจีนฝั่งตะวันออก ตรงข้ามกับท่าฉลอม สะท้อนให้เห็นถึงชุมชนคนไทในสมัยสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร จนถึงสมัยธนบุรี ที่ได้ขยายตัวไปตามลำคลองสุนัขหอนและคลองมหาชัย รวมถึงขยายตัวขึ้นไปทางเหนือเพื่อบุกเบิกพื้นที่ปลูกข้าวบริเวณวัดคอกกระบือ ในสมัยอยุธยาตอนปลาย 

วัดท่ากระบือ อำเภอกระทุ่มแบน

วัดท่ากระบือ เป็นวัดราษฎร์ สังกัดมหานิกาย ตั้งอู่ริมแม่น้ำท่าจีน ฝั่งทิศตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน แต่เดิมเป็นสำนักสงฆ์ ยกฐานะขึ้นเป็นวัดเมื่อ พ.ศ.2439 เดิมทีชาวบ้านเรียกว่า “วัดท่าควาย” เนื่องจากบริเวณนี้แต่เดิมเป็นท่าน้ำสำหรับให้วัวควายลงกินน้ำ และใช้ข้ามไปมาที่บริเวณด้านหน้าวัด พระไพโรจน์วุฒาจารย์ (หลวงปู่รุ่ง ติสฺสโร) ได้ก่อสร้างเสนาสนะต่างๆ ขึ้นใน พ.ศ.2441 เป็นต้นมา (สุริยา สุดสวาท และเดชา สุดสวาท 2553 : 144) สิ่งสำคัญภายในวัด (สุริยา สุดสวาท และเดชา สุดสวาท 2553 : 144) อุโบสถ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2485 ปัจจุบันได้รับากรบูรณะใหม่ ลักษณะเป็นอาคารทรงไทยก่ออิฐถือปูนทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาเครื่องไม้ทรงจั่วลดชั้น 2 ชั้น มุงกระเบื้องซ้อนกันชั้นละ 3 ตับ ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันไม้แกะสลักประดับกระจกสามสี ด้านหน้ามีมุขลด รองรับโครงหลังคาด้วยปูนสี่เหลี่ยม ด้านข้างมีคันทวย ผนังก่ออิฐถือปูนตั้งอยู่บนฐานบัว ด้านหน้ามีประตูทางเข้า 2 ประตู ซุ้มประตูทรงมณฑป ผนังตอนบนระหว่างซุมหน้าต่างมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง โดยรอบอาคารเป็นระเบียงทางเดินและมีบันไดทางขึ้นทางด้านหน้าและด้านข้าง ภายในอุโฐถประดิษฐานพระประธานเป็นพระพุทธรูปประทับนั่ง ปางสมาธิ บริเวณฝาผนังมีจิตรกรรมที่เขียนขึ้นใหม่ วิหาร 2 หลัง ตั้งอยู่ด้านข้างอุโบสถ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2493 ลักษณะเป็นอาคารทรงไทยก่ออิฐถือปูน หลังคาเคร่องไม้ทรงจั่วลด 2 ชั้น มุงกระเบื้องซ้อนกันชั้นละ 2 ตับ มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ด้นาหน้ามีมุขลด รองรับโครงหลังคาด้วยเสา 4 ต้น ด้านข้างมีชายคาปีกนก เสาหลอกและคันทวย ผนังอาคารก่ออิฐถือปูนตั้งอยู่บนฐานบัว เจดีย์ราย ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าอุโบสถ จำนวน 4 องค์ เจดีย์ตั้งอยู่บนฐานรูปเรือ 3 องค์ และด้านข้างวิหาร 8 องค์ ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงระฆัง ตั้งอยู่บนฐานบัว ถัดขึ้นไปเป็นชุดฐานสิงห์ และมีบังรองรับปากระฆัง องคระฆังงย่อมุมไม้สิบสอง ส่วนยอดเป็นบัวกลุ่มเถา ปล้องไฉน และปลียอด บางองค์ส่วนยอดชำรุดหักพัง ปรางค์ จำนวน 4 องค์ ตั้งอู่ด้านตะวันออกของอุโบสถ ติดกับแม่น้ำท่าจีน ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงปรางค์ ตั้งอยู่บนฐานเขียง ที่ฐานมีคำอุทิศจารึกอยู่บนแผ่นหินอ่อน ถัดขึ้นไปเป็นชุดฐานสิงห์ เรือนธาตุมีซุ้มจระนำทั้งสี่ทิศ ส่วนยอดทรงปรางค์ มีนพศูลโลหะปักอยู่ ศาลาการเปรียญ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2462 และได้รับการบูรณะเมื่อ พ.ศ.2533 ลักษณะเป็นอาคารทรงไทยยกพื้นสูง หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง มีชายคาปีกนกโดยรอบ ศาลาทรงจตุรมุข ลักษณะเป็นศาลาไม้ทรงจตุรมุข ด้านล่างโปร่าง หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง บริเวณหน้าบัน ชายคา และไม้คอสอง ตกแต่งด้วยไม้ฉลุลาย

วัดนักบุญอันนา อำเภอเมืองสมุทรสาคร

ชุมชนผู้นับถือศาสนาคริสต์ ในหมู่ชาวจีน ปรากฏมานานแล้วในราว เมื่อปี พ.ศ. 2378 แต่ยังไม่มีสถานที่ไว้ประกอบกิจทางศาสนา ต่อมาจึงร่วมกันซื้อที่ดินแปลงหนึ่งในปี พ.ศ. 2430 และสร้างวัดนักบุญอันนา อันเป็นวัดที่สำคัญของชาวคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เพื่อเป็นศาสนสถานที่ชาวคริสตังท่าจีน ท่าฉลอมและชุมชนใกล้เคียง ภายใต้การสนับสนุนของ คุณพ่อปีโอ ชาวฝรั่งเศส ปลัดวัดบางช้าง (บางนกแขวก สมุทรสงคราม) เมื่อปี พ.ศ. 2425

close