

ชีวประวัติ

ประวัติส่วนตัว
ศาสตราจารย์ ประเสริฐ ณ นคร อดีตนายกราชบัณฑิตยสถาน และนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติปี พ.ศ. 2531 เป็นผู้ประพันธ์คำร้อง ภาษาไทยของเพลงพระราชนิพนธ์ชะตาชีวิต ใกล้รุ่ง ในดวงใจนิรันดร์ แว่ว เพลงประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ศาสตราจารย์ ประเสริฐ ณ นคร หรือ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร สนใจงานด้านคณิตศาสตร์ สถิติ การคำนวณปฏิทิน การแต่งเพลง พันธุศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภาษาไทยโบราณ มีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ เผยแพร่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นที่ยอมรับและอ้างถึงในวงวิชาการอย่างกว้างขวาง ที่เป็นที่รู้จัก ได้แก่ การชำระ ประวัติศาสตร์สุโขทัย ถิ่นเดิมและตระกูลภาษาไทย หลักการสอบค้นเมืองสมัยสุโขทัย การแบ่งกลุ่มไทยตามตัวหนังสือ พจนานุกรมไทยอาหม ตัวอักษรไทยในล้านนา ที่มาของอักษรไทยล้านนาและไทยลื้อ นอกจากนี้ ยังมีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารทั้งภายในและต่างประเทศ ไม่ต่ำกว่า 100 บทความ
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร เกิดในวันวสันตวิษุวัต ของปี ค.ศ. 1919 ตรงกับวันศุกร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2461 (พ.ศ. 2562 ตามปฏิทินสากล) สัมฤทธิ์ศก ปีมะเมีย ตรงปักขทืนล้านนา ในวันเต่าสัน แรม 5 ค่ำ เดือน 6 จ.ศ. 1280 ปีเปิกสะง้า เป็นปีที่พิสูจน์ทฤษฎีสัมพัทธภาพ เกิดที่ตำบลในเวียง อำเภอเมือง


ประวัติการศึกษา
ประถมศึกษา 6
โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่
มัธยมศึกษา 6 (สอบข้ามชั้น ม.3 และ ม.5)
โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่
มัธยมศึกษา 8
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่
มัธยมศึกษา 8 (ซ้ำชั้น เพื่อขอทุนหลวง)
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
ปริญญาวิศวกรรมการเกษตร
มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ พ.ศ. 2481
ปริญญาธรรมศาสตร์บัณฑิต
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2486
ปริญญาโท และปริญญาเอกทางวิชาสถิติ และผสมพันธุ์พืช
มหาวิทยาลัยคอร์แนล สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2496 และ พ.ศ. 2500 ประกาศนียบัตร จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ. 2512


ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2482
รับราชการเป็นนักเกษตรผู้ช่วยโท แผนกปฐพีวิทยา และอาจารย์วิทยาลัยเกษตร บางเขน กรมเกษตรและการประมง
พ.ศ. 2487
เป็นอาจารย์โทแผนกวิศวกรรม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. 2503
ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นศาสตราจารย์
พ.ศ. 2507
รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. 2515
ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย อยู่ในตำแหน่งจนเกษียณอายุ
พ.ศ. 2516
ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[2]
พ.ศ. 2523
ได้รับแต่งตั้งเป็น ศาสตราจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยมหิดล[3]
พ.ศ. 2529
นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. 2542
นายกราชบัณฑิตยสถาน


เกียรติประวัติ
เกียรติคุณ
• ศิษย์เก่าดีเด่น โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่
• ศิษย์เก่าดีเด่น โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
• สมาชิก ฟาย กาปา ฟาย ในฐานะเรียนดีที่สหรัฐ
• สมาชิก ซิกม่า ซาย ในฐานะนักวิจัยดีเด่นที่สหรัฐ
• Distinguished Alumnus Award จาก The Philipines University
• แผ่นเสียงทองคำ ประพันธ์เนื้อเพลง
• นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2531 ในกลุ่มสาขาปรัชญา (ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี) โดยสำนักงานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ
• กิตติเมธี ในสาขาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2531-2533
• รับพระราชทานพระเกี้ยวทองคำในฐานะผู้ส่งเสริมภาษาไทยดีเด่นจาก คณะกรรมการรณรงค์ภาษาไทย พ.ศ. 2532จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• ได้รับเลือกให้เป็นนักเรียนทุนรัฐบาลดีเด่น ในงาน 100 ปี นักเรียนทุนรัฐบาลไทย พ.ศ. 2537
• ผู้สนับสนุนการอนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น พ.ศ. 2535
• Asean Awards Literary พ.ศ. 2536
• สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติยกย่องท่านเป็น ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขามนุษยศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2535
• คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติคัดเลือกเป็น บุคคลดีเด่นของชาติสาขาพัฒนาสังคม (ด้านประวัติศาสตร์และวรรณกรรม) ประจำปี พ.ศ. 2540
• โล่ห์เกี่ยรติยศ ผู้สร้างความก้าวหน้าทางวิชาการ พันธุศาสตร์ สมาคมพันธุศาสตร์ แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2540
• ได้รับเกียรติจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการตั้งชื่อโรงละคร สำนักพิพิธภัณฑ์และวัฒนธรรมการเกษตรว่า โรงละคร “ประเสริฐ ณ นคร” พ.ศ. 2544
เครื่องราชอิสริยาภรณ์

• พ.ศ. 2521 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)

• เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)

• พ.ศ. 2521 เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)

• พ.ศ. 2551 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นทุติยดิเรกคุณาภรณ์ (ท.ภ.)

ผลงานสำคัญ

ผลงานด้านประวัติศาสตร์
และโบราณคดี
• ริเริ่มสอนภาษาถิ่นเหนือขึ้นเป็นครั้งแรกที่ภาควิชาสาขาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัย ศิลปากร
• สนับสนุนให้มีการสอนภาษาไทยถิ่นต่างๆ ตลอดจนภาษาของชนเผ่าไทยนอกประเทศไทย เพื่อ ประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าวิจัยภาษาตระกูลไทยและเป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์ความหมาย ของศัพท์ภาษาไทย ในศิลาจารึกและวรรณคดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งนาภาษาถิ่นไปช่วยในการอ่านศิลา จารึกและวรรณคดีที่สาคัญ เช่น ลายสือไทย ถิ่นเดิมและตระกูลภาษาไทย เล่าเรื่องในไตรภูมิพระร่วง โองการแช่งน้า การสืบค้นภาษาไทยในเมืองจีน เป็นต้น
• ผู้ริเริ่มนาวิชาคานวณโหราศาสตร์ ไปช่วยอ่านศิลาจารึกที่สาคัญ เช่น เกร็ดความรู้จากศิลาจารึก เรื่องเกี่ยวกับศิลาจารึกของสุโขทัย ศักราชในจารึกสมัยสุโขทัย จารึกประตูท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่
• ศึกษาค้นคว้าเขียนตาราและบทความหลายเรื่องๆ ที่สาคัญ เช่น วันสร้างกรุงศรีอยุธยา ประวัติศาสตร์สุโขทัยจากจารึก ประวัติศาสตร์ล้านนาจากจารึก ความคลี่คลายแห่งประวัติศาสตร์ ไทย พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับปลีก สามัคคีธรรมสามกษัตริย์ เป็นต้น -กรรมการชาระประวัติศาสตร์ไทยและชาระศิลาจารึก
• ราชบัณฑิตประวัติศาสตร์สาขาโบราณคดี
• นายกราชบัณฑิตยสถาน


ผลงานด้านงานสอน
ศาสตราจารย์พิเศษของมหาวิทยาลยัมหิดลมหาวิทยาลัยศิลปากรและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใน ระดับปริญญาโท-เอก โดยสอนวิชาจารึกสุโขทัย วรรณกรรมภาคเหนือ และจารึกภาคเหนือ ที่ มหาวิทยาลัยศิลปากร และสอนวิชาประวัติศาสตร์สุโขทัยที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ผลงานด้านการประพันธ์เพลง
เพลงพระราชนิพนธ
- ใกล้รุ่ง(ร่วมประพันธ์)
- ชะตาชีวิต
- ในดวงใจนิรันดร์
- แว่ว(ร่วมประพันธ์)
- เกษตรศาสตร์
เพลงไทย
- เพลงส่งเสริมการเกษตร
- เพลงกราวแขก นางนาค
- เพลงรัตนโกสินทร์แผ่นดินทอง ของเกษตร
- แรงสามัคคี(ร่วมประพันธ์)
- ครุ่นคานึง(ร่วมประพันธ์)
- มอญอ้อยอิ่ง
- พม่ากลองยาว(ร่วม ประพันธ์)
- ราตรีประดับดาว เขมรโพธิสัตว์
- นกเขาขะแมร์(ร่วมประพันธ์)
เพลงไทยสากล
- ฝากรัก(ร่วมประพันธ์)
- พร่ารัก ชื่นตาฟ้างาม(ร่วมประพันธ์)
- อย่าทิ้งรัก(ร่วม ประพันธ์)
- รักตลอดกาล
- ตัวไกล-ใจรัก
- รักยากเย็น
- รอรัก
- สิ้นรักสิ้นหวัง(ร่วมประพันธ์)
- ความรักคือ ทุกข์
- รักเพียงดวงใจ
- ใต้ร่มไตรรงค์
- โสมสุรีย์
- OH, ASIAN GAMES (ร่วมประพันธ์)


ผลงานด้านสถิติและคณิตศาสตร์
• กรรมการก่อตั้งสมาคมสถิติแห่งประเทศไทย
• นายกสมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทย


ผลงานด้านเกษตร
• ผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมเป็นกรรมการบริหารโครงการศูนย์เกษตรของซีมีโอ

ติดต่อเรา

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
๒๐ ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน
กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๗๐

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
๒๐ ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน
กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๗๐