จารึกเรื่องญาณ 10 แผ่นที่ 9 (สังขารุเปกขาญาณ)

จารึก

จารึกเรื่องญาณ 10 แผ่นที่ 9 (สังขารุเปกขาญาณ)

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2550 14:54:23 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2566 03:28:59 )

ชื่อจารึก

จารึกเรื่องญาณ 10 แผ่นที่ 9 (สังขารุเปกขาญาณ)

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

ไม่ปรากฏศักราช

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน (ไม่ทราบจำนวนบรรทัด)

วัตถุจารึก

หิน

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

ไม่ปรากฏหลักฐาน

พิมพ์เผยแพร่

1) ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 125.
2) ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2554), 127.

ประวัติ

จารึกเรื่องญาณ 10 อยู่บนผนังวิหารทิศตะวันออก วัดพระเชตุพนฯ ซึ่งแต่เดิมมีจิตรกรรมฝาผนังที่เนื้อหาสอดคล้องกับจารึก แต่ปัจจุบันไม่หลงเหลือภาพดังกล่าวแล้ว อย่างไรก็ตาม ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเดิมมีจำนวน 10 แผ่นเท่ากับ ญาณ 10 หรือไม่ เนื่องจากเท่าที่ปรากฏหลักฐานมีจำนวน 7 แผ่นตั้งแต่ ญาณที่ 3 ถึง 8 ส่วน ญาณที่ 9 และ 10 สูญหายไป แต่ในกรณีของ ญาณที่ 1 และ 2 นั้น มีการแสดงความคิดเห็นว่า อาจไม่มีการสร้างจารึกและจิตรกรรมฝาผนังที่มีเนื้อหาสอดคล้องกันมาตั้งแต่แรกก็ได้ เนื่องจากญาณที่ 1 และ 2 เท่าที่มีการตรวจสอบจากคัมภีร์ต่างๆนั้น ไม่มีข้อเปรียบเทียบจึงไม่สามารถเขียนภาพประกอบได้ แต่หากเดิมมีจารึกอยู่จริง เข้าใจว่า แผ่นที่ 1-2 คือ ญาณที่ 1 สัมมสนญาณ (ญาณที่พิจารณานามและรูปแยกเป็นส่วนๆ) และ ญาณที่ 2 อุทยัพพยญาณ (ญาณที่พิจารณาเห็นความเกิดและความดับแห่งนามและรูป) โดยตรวจสอบจากคัมภีร์วิสุทธิมรรค

เนื้อหาโดยสังเขป

อธิบายความหมายของสังขารุเปกขาญาณ ซึ่งเป็นญาณที่พิจารณานามและรูปโดยไตรลักษณ์

ผู้สร้าง

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากประวัติการสร้างจารึกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 3) ซึ่งปรากฏในจดหมายเหตุเรื่องการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน (ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส) ว่า มีการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่อง อศุภ 10 ญาณ 10 ที่วิหารทิศตะวันออกโดยมีการสร้างจารึกบอกเรื่องประกอบไว้ทุกแห่ง ทั้งยังระบุว่า ผู้แต่งจารึกดังกล่าวคือ กรมหมื่นนุชิตชิโนรส

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2550, จาก :
1) “การปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน : ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส,” ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2554), 75-91.
2) “จารึกเรื่องอศุภ 10 และญาณ 10,” ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2554), 125-127.
3) “อศุภ 10 และญาณ 10,” ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 123-125.