บริบททางโบราณคดี


(archaeological context)

บริบททางโบราณคดี คือ สิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต ที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่ง เวลา และสถานที่ ซึ่งมีผลและเกี่ยวข้องกับหลักฐานทางโบราณคดีนั้นๆ

ลักษณะของบริบททางโบราณคดี สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ

1. บริบทแบบปฐมภูมิ (primary context) คือ บริบทเดิมของหลักฐานทางโบราณคดี โดยตำแหน่งของหลักฐาน และสิ่งล้อมรอบหลักฐานนั้นๆ ปราศจากขั้นตอนการถูกรบกวนตั้งแต่เดิมที่มีการทับถม

2. บริบทแบบทุติยภูมิ (secondary context) คือ บริบทเดิมของหลักฐานทางโบราณคดี โดยตำแหน่งของหลักฐานและสิ่งล้อมรอบหลักฐานนั้นๆ ทั้งหมดหรือบางส่วน ถูกแปรเปลี่ยนหรือถูกรบกวนในสมัยหลัง อาจจะเกิดจากธรรมชาติหรือมนุษย์ก็ได้

ที่มา :

ชวลิต ขาวเขียว. “ธรณีวิทยาทางโบราณคดี : กระบวนการก่อตัวของแหล่งโบราณคดีเพิงผาถ้ำลอด อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546 : 13-14.