การศึกษาแหล่งเรียนรู้ที่จัดแสดงโบราณวัตถุในหลุมขุดค้นทางโบราณคดี ในเขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย


ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล 4 ม.ค. 2017

แหล่งโบราณคดีนับเป็นหนึ่งในมรดกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่สำคัญ นอกจากจะมีประโยชน์ด้านวิชาการประวัติศาสตร์โบราณคดีแล้ว นโยบายรัฐบาลในช่วงหลังยังเน้นให้แปลงทุนทางวัฒนธรรมเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา ส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนทุกเพศทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ

ด้วยเหตุนี้ ในปี 2558 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) จึงได้สนับสนุนทุนแก่อาจารย์ศุภรัตน์ ตี่คะกุล อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เพื่อศึกษาแหล่งเรียนรู้ที่จัดแสดงโบราณวัตถุในหลุมขุดค้นทางโบราณคดี ในเขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้ที่จัดแสดงโบราณวัตถุในหลุมขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย และเชื่อมโยงข้อมูลทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีกับแหล่งโบราณคดีอื่นๆ ที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับนำไปใช้ศึกษา-พัฒนาต่อยอด ใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม

ผลจากการศึกษาพบว่าสามารถจัดกลุ่มเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีได้ 3 กลุ่ม คือ เชื่อมโยงด้านอายุสมัย เชื่อมโยงด้านประเภทการใช้งานของแหล่ง และเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งการเชื่อมโยงความรู้ทางวิชาการจะทาให้เกิดความเข้าใจในประวัติศาสตร์และโบราณคดีของพื้นที่นั้นๆ ได้ชัดเจนขึ้น และจะทำให้แหล่งเรียนรู้ฯ เหล่านี้มีความน่าสนใจมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถนำไปพัฒนาเพื่อทำเป็นเส้นทางท่องเที่ยว-เรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีได้อีกด้วย

เอกสารฉบับเต็ม :