ตึกแถวริมถนนหน้าพระลาน


ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล 17 เม.ย. 2016

ตึกแถวที่ใช้ในเชิงพาณิชย์เกิดขึ้นหลายแห่งในพระนครหลังจากการเสด็จประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สนองตอบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากการติดต่อค้าขายและปฏิสัมพันธ์กับชาติตะวันตกที่ทวีความเข้มข้นมากขึ้น วังและบ้านขุนนางบางแห่งถูกเปลี่ยนเป็นตึกแถว อาคารพาณิชย์ และสถานที่ราชการ ซึ่งนอกจากจะสะท้อนถึงแง่มุมทางเศรษฐกิจและสังคมในสมัยนั้นแล้ว ยังอาจแสดงมีนัยด้านการเมือง

วังถนนหน้าพระลานเป็นอีกวังหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนี้ วังถนนหน้าพระลานวังกลางและวังตะวันออก (หรือในขณะนั้นทั้ง 2 วังรวมเข้าเป็นวังเดียวกันแล้ว เรียกว่าวังถนนหน้าพระลาน) ถูกแปรสภาพเป็นสถานที่ราชการและอาคารพาณิชย์ในช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ในขณะที่วังถนนหน้าพระลานวังตะวันตกหรือวังท่าพระยังคงสภาพเป็นวังที่ประทับของเจ้านายกระทั่ง พ.ศ.2507 จึงได้เปลี่ยนมาเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ จนถึงทุกวันนี้ (ดูรายละเอียดประวัติการครองวังได้ใน ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล 2558) 

พื้นที่ส่วนใหญ่ของวังถนนหน้าพระลานถูกแปรสภาพเป็นกรมช่างสิบหมู่หรือกรมศิลปากร (ก่อนที่พื้นที่ด้านทิศตะวันตกจะถูกใช้เป็นมหาวิทยาลัยศิลปากรในสมัยรัชกาลที่ 9) สิ่งก่อสร้างเก่าถูกรื้อลงเพื่อสร้างอาคารใหม่ ตอบสนองการใช้งานใหม่ ด้านทิศใต้ของวังริมถนนหน้าพระลานซึ่งเดิมเป็นส่วนของริมกำแพงวัง ได้มีการก่อสร้างเป็นตึกแถว 2 ชั้นขึ้นเมื่อราว พ.ศ.2452 จำนวน 29 ห้อง ตามแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และบางช่วงก็ใช้เป็นที่พักแขกเมือง

เอกสารฉบับเต็ม :