สังคมก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายที่บ้านโป่งมะนาว : ศึกษาเบื้องต้นจากปริมาณวัตถุอุทิศ


ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล 30 ก.ย. 2013

การศึกษาครั้งนี้เป็นการทดลองศึกษาในขั้นต้นเกี่ยวกับสภาพสังคมที่แฝงนัยอยู่ในหลักฐานประเภทหลุมฝังศพจากแหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว โดยใช้ปริมาณวัตถุอุทิศหรือโบราณวัตถุที่พบในหลุมฝังศพ (Grave goods) จากตัวอย่างหลุมฝังศพที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีในหลุมขุดค้นที่ 1-4 ระหว่างปี พ.ศ.2543-2546 จำนวน 44 หลุม นำมาวิเคราะห์เชิงสถิติโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistical Package for Social Science) และจะใช้การจัดกลุ่มทางสังคมของ Elman Service (1971) และ Morton Fried (1967, quoted in Wason 1994) เป็นแนวคิดในการศึกษาระดับของสังคม

เอกสารฉบับเต็ม :