แหล่งโบราณคดี


แสดง 1 ถึง 18 จาก 18 ผลลัพธ์

บ้านโป่งมะนาว

ตั้งอยู่ ต.ห้วยขุนราม อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี พบหลักฐานของชุมชนและสุสานยุคก่อนประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ 3,500-1,500 ปีมาแล้ว หลักฐานสำคัญ เช่น หลุมฝังศพมนุษย์ และวัตถุอุทิศให้กับศพ ทั้งเครื่องมือหินขัด เครื่องประดับทำจากหินอ่อนและเปลือกหอยทะเล ภาชนะดินเผา เครื่องประดับทำจากสำริด เครื่องมือเหล็ก ลูกปัดหินกึ่งมีค่า ลูกปัดแก้ว แม่พิมพ์สำหรับหล่อหัวลูกศรโลหะ แวดินเผา ลูกกระสุนดินเผา เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม

บ้านวังไฮ

ตั้งอยู่บ้านวังไฮ ต.เวียงยอง อ.เมืองลำพูน ปรากฏร่องรอยหลักฐานการใช้พื้นที่เป็นแหล่งสุสานมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย กระทั่งเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ สมัยหริภุญชัย 

อ่านเพิ่มเติม

บ้านดอนตาเพชร

ต.ดอนตาเพชร อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยเหล็ก โบราณวัตถุสำคัญ เช่น เครื่องประดับที่่ทำจากแก้วและหินกึ่งมีค่า รวมถึงวัตถุสำริดรูปไก่ลอยตัว รูปกรงหรือสุ่มไก่สำริด รูปหงส์ รูปนกยูง ลูกกระพรวน กำไล, แหวน, ภาชนะรูปทรงต่างๆ เช่น ทรงกระบอก ทรงขัน ทรงถังน้ำ ฝามีจุกแหลม ทัพพีสำริด และภาชนะสำริดชิ้นหนึ่งเป็นรูปผู้หญิงเกล้ามวยผม หูยาว สวมเสื้อ พบแต่ส่วนบนของร่างกายผู้หญิง

อ่านเพิ่มเติม

เพิงผาปาโต๊ะโระ

ม.7 บ้านบูเกตยามู ต.ควนโดน อ.ควนโดน จ.สตูล

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำเพิง

ม.5 บ้านทุ่งไพล ต.คูหา อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา

อ่านเพิ่มเติม

ภาพเขียนสีค่ายประตูผา

ตั้งอยู่ที่ บ้านจำปุย ต.บ้างดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง พบภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์กระจายอยู่หลายกลุ่มเป็นระยะๆ รวมแล้วมากกว่า 1,872 ภาพ และพบหลุมฝังศพของคนก่อนประวัติศาสตร์ ในสมัยหินใหม่ เมื่อ 2,900-3,200 ปีมาแล้ว 

อ่านเพิ่มเติม

เพิงผาถ้ำลอด

ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าถ้ำน้ำลอด หมู่บ้านถ้ำลอด ต.ถ้ำลอด อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน บริเวณเพิงผาถ้ำลอดมีคนเข้ามาใช้พื้นที่ตั้งแต่สมัยไพลสโตซีนตอนปลายจนถึงโฮโลซีนตอนต้น (ประมาณ 30,000-10,000 ปีมาแล้ว) หลักฐานที่สำคัญได้แก่ หลุมฝังศพมนุษย์ที่ถูกฝังอยู่ในท่านอนงอเข่า อายุกว่า 13,000 ปีมาแล้ว

อ่านเพิ่มเติม

โนนแก

บ้านคูเมือง ต.คูเมือง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี โบราณสถานโนนแกมีการก่อสร้างซ้อนทับกัน 2 สมัย คืออาคารที่สร้างขึ้นเนื่องในวัฒนธรรมเขมร ศาสนาฮินดู อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17-18 และอาคารหรือสิมในศาสนาพุทธ มีใบเสมาหินทรายปักล้อมรอบ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 24-25

อ่านเพิ่มเติม

บ้านโคกคอน

ม.4, ม.5 บ้านโคกคอน ต.โคกคอน อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย

อ่านเพิ่มเติม

ชุมชนโบราณดงเมืองเตย

ม.1 บ้านสงเปือย ต.สงเปือย อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร

อ่านเพิ่มเติม

โบราณสถานดงเมืองเตย

ม.1 บ้านสงเปือย ต.สงเปือย อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร

อ่านเพิ่มเติม

วัดโพธิ์ศรีใน

ภายในวัดโพธิ์ศรีใน ถ.โพธิ์ศรี ม.11 บ้านเชียง ต.บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี เป็นพื้นที่ที่พบร่องรอยวัฒนธรรมบ้านเชียงยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะหลุมฝังศพของคนในวัฒนธรรมบ้านเชียง ซึ่งพบหลักฐานหลุมฝังศพ 52 หลุม พร้อมทั้งข้าวของเครื่องใช้ที่เป็นวัตถุอุทิศให้กับผู้ตายมากมาย ปัจจุบันมีการจัดแสดงหลุมขุดค้นเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชน

อ่านเพิ่มเติม

บ้านเมืองบัว

ม.6 บ้านเมืองบัว ต.เมืองบัว อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด

อ่านเพิ่มเติม

เมืองศรีสัชนาลัย

ต.ศรีสัชนาลัย ต.สารจิตร ต.หนองอ้อ ต.ท่าชัย อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย

อ่านเพิ่มเติม

หมู่บ้านโปรตุเกส

ต.สำเภาล่ม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา พื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของชุมชนชาวโปรตุเกสสมัยอยุธยา นำเสนอผลการขุดค้นพื้นที่โบสถ์และสุสานของชาวโปรตุเกสและคริสตชนในสมัยอยุธยา

อ่านเพิ่มเติม

ดงแม่นางเมือง

ต.เจริญผล, ต.ตาสังข์ อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์

อ่านเพิ่มเติม

บ้านพรหมทินใต้

วัดพรหมทินใต้ ต.หลุมข้าว อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี พบหลักฐานการอยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ต่อเนื่องมาจนสมัยทวารวดี ที่เป็นเมืองโบราณมีคูน้ำคันดินล้อมรอบ พบจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาบาลีและสันสกฤต เหรียญเงิน ลูกปัด เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม

บ้านคูเมือง

บ้านคูเมือง ต.คูเมือง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี มีการใช้พื้นที่ของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ การตั้งถิ่นฐานระยะแรกน่าจะเป็นชุมชนโบราณในสมัยสำริด อายุราว 2,500 ปีมาแล้ว ทางทิศตะวันออกของเมืองด้านนอกคูน้ำคันดิน ปรากฏการสร้างศาสนสถานขึ้น คือ โบราณสถานโนนแก ส่วนด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้นอกคูเมือง มีการขุดหนองน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ ซึ่งน่าจะเป็นบารายในสมัยวัฒนธรรมเขมร

อ่านเพิ่มเติม