แหล่งโบราณคดี


แสดง 1 ถึง 20 จาก 84 ผลลัพธ์

โคกพลับ

ตั้งอยู่  ต.โพหัก อ.บางแพ จ.ราชบุรี  ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย อายุราว 3,000-2,000 ปีมาแล้ว โดยเฉพาะกิจกรรมของมนุษย์ในอดีตเพื่อการอยู่อาศัยและการฝังศพ

อ่านเพิ่มเติม

บ้านโป่งมะนาว

ตั้งอยู่ ต.ห้วยขุนราม อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี พบหลักฐานของชุมชนและสุสานยุคก่อนประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ 3,500-1,500 ปีมาแล้ว หลักฐานสำคัญ เช่น หลุมฝังศพมนุษย์ และวัตถุอุทิศให้กับศพ ทั้งเครื่องมือหินขัด เครื่องประดับทำจากหินอ่อนและเปลือกหอยทะเล ภาชนะดินเผา เครื่องประดับทำจากสำริด เครื่องมือเหล็ก ลูกปัดหินกึ่งมีค่า ลูกปัดแก้ว แม่พิมพ์สำหรับหล่อหัวลูกศรโลหะ แวดินเผา ลูกกระสุนดินเผา เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม

บ้านเขากระจิว

ตั้งอยู่ ต.ท่ายาง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี ก่อนการก่อตั้งวัดเขากระจิวในสมัยรัตนโกสินทร์ บนยอดเขากระจิวมีเจดีย์อยู่ 1 องค์ และได้รับการบูรณะขึ้นใหม่ ซึ่งเจดีย์องค์เดิมอาจเป็นเจดีย์สมัยทวารวดี เนื่องจากมีร่องรอยซากโบราณสถานและแนวถนนโบราณที่ปูด้วยอิฐขนาดใหญ่ เชื่อมต่อจากเนินเขาไปยังเนินโบราณสถานสมัยทวารวดีที่อยู่หลังโรงเรียนวัดเขากระจิว

อ่านเพิ่มเติม

บ้านท้ายไร่

บ้านท้ายไร่ ต.วังกระแจะ อ.เมืองตราด เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุประมาณ 3,000-2,500 ปีมาแล้ว โบราณวัตถุชิ้นสำคัญ ได้แก่ กลองมโหระทึกแบบเฮกเกอร์1 กำไลสำริด ลูกปัดหินคาร์เนเลียน ชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์ เครื่องมือเหล็กประเภทขวานมีบ้อง ง้าวมีบ้อง และเสียมมีบ้อง

อ่านเพิ่มเติม

เมืองศรีเทพ

เมืองศรีเทพ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ พบหลักฐานว่าเป็นชุมชนโบราณตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 5-7 หรือประมาณ 2000 ปีมาแล้ว กระทั่งเป็นเมืองขนาดใหญ่ในสมัยทวารวดีและสมัยเขมร ราวพุทธศตวรรษที่ 12-18 มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ

อ่านเพิ่มเติม

บ้านยางทองใต้

แหล่งโบราณคดีบ้านยางทองใต้ ต.สันปูเลย อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ เป็นพื้นที่ประกอบพิธีกรรมฝังศพ ของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย หรือสมัยเหล็ก ราวพุทธศตวรรษที่ 1-5 

อ่านเพิ่มเติม

บ้านวังไฮ

ตั้งอยู่บ้านวังไฮ ต.เวียงยอง อ.เมืองลำพูน ปรากฏร่องรอยหลักฐานการใช้พื้นที่เป็นแหล่งสุสานมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย กระทั่งเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ สมัยหริภุญชัย 

อ่านเพิ่มเติม

บ้านดอนตาเพชร

ต.ดอนตาเพชร อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยเหล็ก โบราณวัตถุสำคัญ เช่น เครื่องประดับที่่ทำจากแก้วและหินกึ่งมีค่า รวมถึงวัตถุสำริดรูปไก่ลอยตัว รูปกรงหรือสุ่มไก่สำริด รูปหงส์ รูปนกยูง ลูกกระพรวน กำไล, แหวน, ภาชนะรูปทรงต่างๆ เช่น ทรงกระบอก ทรงขัน ทรงถังน้ำ ฝามีจุกแหลม ทัพพีสำริด และภาชนะสำริดชิ้นหนึ่งเป็นรูปผู้หญิงเกล้ามวยผม หูยาว สวมเสื้อ พบแต่ส่วนบนของร่างกายผู้หญิง

อ่านเพิ่มเติม

ภาพเขียนสีเขายะลา

เขายะลา อยู่ใน ต.ลิดล และ ต.ยะลา อ.เมืองยะลา จ.ยะลา พบหลักฐานทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ในถ้ำและเพิงผาหลายแห่งบนเขายะลา โดยเฉพาะภาพเขียนสี ทั้งเขียนด้วยสีแดงและสีดำ นอกจากนั้นยังพบชิ้นส่วนกะโหลกมนุษย์ เศษภาชนะดินเผา เครื่องมือหินกะเทาะ ขวานหินขัด ดินสีแดง ที่อาจใช้สำหรับสร้างผลงานบนผนังถ้ำ อายุของแหล่งโบราณคดีราว 3,000-2,000 ปีมาแล้ว เป็นต้นมา

อ่านเพิ่มเติม

เขาสามแก้ว

ตั้งอยู่ที่บ้านสามแก้ว อ.เมืองชุมพร เป็นชุมชนยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 2 และเจริญในช่วงพุทธศตวรรษที่ 5 -10 มีการสร้างกำแพงดินล้อมรอบชุมชน มีการสร้างคูน้ำหรือทางระบายน้ำ มีการจัดแบ่งพื้นที่อุตสาหกรรมไว้นอกเขตชุมชน

อ่านเพิ่มเติม

เมืองโบราณไชยา

อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี

อ่านเพิ่มเติม

ภูซาง

ต.นาซาว อ.เมืองน่าน จ.น่าน แหล่งโบราณคดีภูซาง หรือดอยภูซาง ในอดีต (ประมาณ 700 ถึงกว่า 3,000 ปีมาแล้ว) น่าจะเป็นแหล่งผลิตเครื่องมือหินในระดับอุตสาหกรรรม เพราะพบหลักฐานที่แสดงถึงกระบวนการผลิตเครื่องมือหินเป็นจำนวนมากและกระจายตัวอยู่หนาแน่นเป็นบริเวณกว้าง

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำผี

ต.นาปู่ป้อม อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน อยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ราว 11,000 ปีมาแล้ว เป็นต้นมา พบหลักฐานทางโบราณคดีทั้งเครือมือหินแบบ Hoabinhian เครื่องมือสะเก็ดหิน เครื่องมือหินขัด เศษภาชนะดินเผา ซากพืช ซากสัตว์ โลงไม้ ซึ่ง Chester Gorman เคยระบุว่าเป็นแหล่งที่พบภาชนะดินเผาและร่องรอยการเพาะปลูกที่เก่าที่สุดในประเทศไทย

อ่านเพิ่มเติม

ภูโล้น

ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวัดถ้ำเขาคีรีบรรพต บ้านภูเขาทอง ต.บ้านม่วง อ.สังคม จ.หนองคาย บริเวณริมแม่น้ำโขง เป็นเหมืองแร่ทองแดงที่อาจจะเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย พบร่องรอยกิจกรรมการทำเหมืองแร่หลายจุดด้วยกัน ทั้งซากเหมืองใต้ดิน ปล่อง อุโมงค์ ลานบดแร่

อ่านเพิ่มเติม

ภาพเขียนสีเขาจันทร์งาม

ตั้งอยู่ภายในวัดเลิศสวัสดิ์ (เขาจันทร์งาม) ต.ลาดบัวขาว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา เป็นแหล่งศิลปะถ้ำยุคก่อนประวัติศาสตร์เพียงแห่งเดียวในจังหวัดนครราชสีมาเท่าที่พบในปัจจุบัน มีอายุอยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ภาพเด่นมีรูปกลุ่มคนทั้งวัยเด็กและผู้ใหญ่ รวมถึงภาพสุนัข

อ่านเพิ่มเติม

บ้านพระปืด

ต.บ้านแร่ อ.เขวาสินรินทร์ จ.สุรินทร์ ปรากฏร่องรอยการใช้พื้นที่ของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ลักษณะเป็นเนินดินที่มีขนาดสูงใหญ่ มีชั้นทับถมของเศษภาชนะดินเผาในระดับที่ลึกลงไปจากผิวดิน

อ่านเพิ่มเติม

โนนแก

บ้านคูเมือง ต.คูเมือง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี โบราณสถานโนนแกมีการก่อสร้างซ้อนทับกัน 2 สมัย คืออาคารที่สร้างขึ้นเนื่องในวัฒนธรรมเขมร ศาสนาฮินดู อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17-18 และอาคารหรือสิมในศาสนาพุทธ มีใบเสมาหินทรายปักล้อมรอบ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 24-25

อ่านเพิ่มเติม

บ้านโคกคอน

ม.4, ม.5 บ้านโคกคอน ต.โคกคอน อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย

อ่านเพิ่มเติม

ชุมชนโบราณดงเมืองเตย

ม.1 บ้านสงเปือย ต.สงเปือย อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำลายมือ 1

อุทยานแห่งชาติน้ำพอง ม.8 บ้านดอนกอก ต.บ้านผือ อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น ลักษณะเป็นภาพเขียนสีแดงยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีภาพมือคนแบบพ่น 1 ภาพ (มือซ้าย) และแบบทาบ 2 ภาพ (เป็นมือซ้าย 1 ภาพ ส่วนอีก 1 ภาพไม่สามารถระบุได้) วมถึงภาพสัญลักษณ์ต่าง ๆ

อ่านเพิ่มเติม