แหล่งโบราณคดี


แสดง 1 ถึง 20 จาก 39 ผลลัพธ์

เทือกเขางู

ตั้งอยู่ ต.เกาะพลับพลา อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ภายในเทือกเขางูมีถ้ำหินปูนจำนวนมาก ถ้ำเหล่านี้ถูกใช้เป็นศาสนสถานในศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท มาตั้งแต่สมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 11-12 จนกระทั่งปัจจุบัน แหล่งโบราณคดีสำคัญ ได้แก่ ถ้ำฤๅษี ถ้ำฝาโถ ถ้ำจีน ถ้ำจาม และถ้ำระฆัง ที่ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีสมัยทวารวดีและสมัยอยุธยา  รอยพระพุทธบาทสมัยอยุธยาที่ประดิษฐานบนยอดเขางู รวมทั้งจารึกพระปรมาภิไธยย่อ ๑๑๘ จปร. ที่สลักอยู่บริเวณปากถ้ำระฆังหรือถ้ำค้างคาว 

อ่านเพิ่มเติม

ปล่องเหลี่ยม

ตั้งอยู่ที่โรงเรียนบ้านปล่องเหลี่ยม เลขที่ 5 ม.10 ซอยปล่องเหลี่ยม 7 บ้านปล่องเหลี่ยม ต.ท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร "ปล่องเหลี่ยม" เดิมเป็นปล่องไฟของโรงงานน้ำตาล ซึ่งในอดีตเรียกกันว่า “โรงหีบนครชัยศรี” ของบริษัทน้ำตาลอินโดจีน ประเทศอังกฤษ สร้างเมื่อ พ.ศ.2413  มีนายจอห์น คอสเตเกอร์ เป็นผู้จัดการทั่วไป นาย จี.เอฟ.ฮิกส์ เป็นผู้จัดการโรงงาน

อ่านเพิ่มเติม

เนินประวัติศาสตร์

ตั้งอยู่ ถ.ลุวัง เทศบาลเมืองระนอง ต.เขานิเวศน์ อ.เมืองระนอง จ.ระนอง เป็นบริเวณที่เคยเป็นที่ตั้งของพระที่นั่งรัตนรังสรรค์ ที่ก่อสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2433 และรื้อถอนไปเมื่อ พ.ศ.2507 เพื่อก่อสร้างศาลากลางจังหวัดหลังใหม่

อ่านเพิ่มเติม

ผาเสด็จพัก

ม.5 บ้านเขาเกตุ ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ผาเสด็จพักเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดสระบุรี มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับสถาบันพระมหากษัตริย์และประวัติการคมนาคมไทย โดยเฉพาะกิจการการรถไฟ เป็นเส้นทางผ่านของทางรถไฟสายแรกของไทยที่มุ่งสู่อีสาน คือทางรถไฟสายพระมหานคร-นครราชสีมา ก่อสร้างโดยพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

อ่านเพิ่มเติม

คุกขี้ไก่

ม.1 ต.ปากน้ำแหลมสิงห์ อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี คุกขี้ไก่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยกองทหารฝรั่งเศสที่เข้ามายึดเมืองจันทบุรีในช่วงนั้น (พ.ศ.2436) ใช้เป็นป้อมปืนและที่คุมขังคน โดยขังคนไว้ด้านล่างและเลี้ยงไก่ไว้ด้านบน ให้ไก่อุจจาระรดศีรษะนักโทษ จึงได้ชื่อว่าคุกขี้ไก่

อ่านเพิ่มเติม

โบราณสถานตึกแดง

ม.1 ต.ปากน้ำแหลมสิงห์ อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยกองทหารฝรั่งเศสสร้างขึ้นเพื่อเป็นกองบัญชาการและที่พักนายทหารที่รักษาปากน้ำแหลมสิงห์ เมื่อสมัยฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรี (พ.ศ.2436) ลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนชั้นเดียวทาสีแดง จึงถูกเรียกว่าตึกแดง

อ่านเพิ่มเติม

วัดถนนคต

ม.11 บ้านถนนคต ต.สีคิ้ว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ตามประวัติวัดกล่าวว่าวัดถนนคตก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2442 โดยชาวยวน โดยมีหลักฐานคือรูปแบบศิลปกรรมของอุโบสถ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ 25 สิงหาคม พ.ศ.2464

อ่านเพิ่มเติม

เจดีย์เก่าวัดเก๋งโรงพยาบาลระยอง(วัดจันทอุดม)

โรงพยาบาลระยอง เลขที่ 138 ถ.สุขุมวิท ต.ท่าประดู่ (เทศบาลนครระยอง) อ.เมืองระยอง จ.ระยอง จากประวัติระบุว่าเจดีย์องค์นี้เป็นเจดีย์ของวัดโบราณชื่อ “วัดจันทอุดม” หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “วัดเก๋ง” เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย ในสมัยรัชกาลที่ 5 วัดเก๋งเป็นพระอารามแห่งแรกที่จัดการศึกษาเทียบเท่าระดับมัธยมขึ้นในจังหวัดระยอง เคยใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีต่างๆ เช่น พิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการ

อ่านเพิ่มเติม

ศาลหลักเมืองระยอง

ถ.สุขุมวิทนครระยอง 62 (ถ.หลักเมือง) ต.ท่าประดู (เทศบาลนครระยอง) อ.เมืองระยอง จ.ระยอง เสาหลักเมืองของจังหวัดระยองสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2438 ตรงกับรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ศาลเป็นศาลไม้ ต่อมาราว พ.ศ.2468 เสาหลักเมืองและศาลชำรุดและหักลง ชาวบ้านจึงช่วยกันทำการปักลงที่เดิม แต่ยังไม่มีการสร้างอาคารคลุม คงปล่อยให้อยู่กลางแดดกลางฝนตามสภาพเดิม จน พ.ศ.2532 ชาวระยองเห็นควรปรับปรุงหลักเมืองและศาลหลักเมืองให้มั่นคงแข็งแรง

อ่านเพิ่มเติม

อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ (เก่า)

อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ (เก่า) ปัจจุบันอยู่ในสถานีตำรวจภูธรเมืองหนองคาย อ.เมืองหนองคาย เป็นอนุสรณ์สถานที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ได้โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2429 เพื่อบรรจุอัฐิของเหล่าทหารที่เสียสละชีวิตปกป้องประเทศจากเหตุการณ์ปราบฮ่อเมื่อ พ.ศ.2420-2428

อ่านเพิ่มเติม

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

ตั้งอยู่ที่แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นวัดประจำรัชกาลของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี 3 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9

อ่านเพิ่มเติม

พลับพลาเปลื้องเครื่อง วัดราชบพิธ

ตั้งอยู่แขวงวัดราชบพพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ พลับพลานี้สร้างไว้สำหรับรับเสด็จพระเจ้าแผ่นดินในโอกาสที่เสด็จพระราชดำเนินมาโดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค เพื่อมาพระราชทานผ้าพระกฐิน ตั้งอยู่บนกำแพงวัดใกล้กับสีมามุมกำแพงด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือด้านถนนเฟื่องนครตัดกับถนนราชบพิธ

อ่านเพิ่มเติม

พระเจดีย์ วัดราชบพิธ

แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พระมหาเจดีย์เป็นสถาปัตยกรรมหลักของวัดราชบพิธ อยู่ตำแหน่งกึ่งกลางของอาคารบนฐานไพที ภายในวงล้อมของพระระเบียงกลมและพระวิหารทั้ง 4 ทิศ สร้างขึ้นเพื่อเป็นหลักสำคัญในการเคารพบูชา ทั้งองค์เจดีย์และฐานคูหาประดับกระเบื้องเคลือบลายเบญจรงค์ทั้งองค์

อ่านเพิ่มเติม

พระระเบียง วัดราชบพิธ

แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พระระเบียงหรือระเบียงคดตั้งอยู่บนฐานไพทีของอาคารหลักในส่วนเขตพุทธาวาสของวัดราชบพิธ ผนังภายนอกของพระระเบียงบุกระเบื้องเบญจรงค์ ลายกรวยเชิงที่โคนผนัง ลายทั่วไปเป็นพุ่มข้าวบิณฑ์ เทพนมก้านแย่งพื้นเหลือง เป็นลายเดียวกับผนังพระอุโบสถ

อ่านเพิ่มเติม

ศาลาราย วัดราชบพิธ

แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นศาลาขนาดเล็กตั้งอยู่ด้านหน้าอาคารแต่ละหลังบนฐานไพทีในเขตพุทธาวาสของวัดราชบพิธฯ ตั้งอยู่ทั้ง 4 ทิศ ทิศละ 2 คู่ รวม 8 หลัง เป็นอาคารแบบไทยประเพณี เป็นอาคารโถงโล่งมีปีกนกรอบ

อ่านเพิ่มเติม

พระวิหารทิศ วัดราชบพิธ

แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พระวิหารทิศมี 2 หลัง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของพระเจดีย์ พระวิหารทิศนี้นับเป็นทางเข้าขนาดใหญ่เพื่อเข้าสู่บริเวณภายในพระระเบียงรอบพระเจดีย์วัดราชบพิธฯ

อ่านเพิ่มเติม

พระวิหาร วัดราชบพิธ

แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พระวิหารวัดราชบพิธฯ มีรูปทรงเป็นแบบเดียวกับพระอุโบสถทั้งภายนอกและภายใน ต่างแต่ว่าบานประตูและบานหน้าต่างสลักด้วยไม้เป็นลวดลายเครื่องราชอิสริยาภรณ์เท่านั้น ภายในพระวิหารประดิษฐานพระประทีปวโรทัย

อ่านเพิ่มเติม

พระอุโบสถ วัดราชบพิธ

แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ เป็นพระอุโบสถที่มีความงดงามมากแห่งหนึ่งของไทย รูปทรงภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทย ผนังบุกระเบื้องเบญจรงค์ บานประตูหน้าต่างประดับมุกเป็นรูปเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ภายในพระอุโบสถเป็นแบบยุโรปผสมแบบไทย เป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคารพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรีถึง 6 พระองค์

อ่านเพิ่มเติม

ตึกแถวริมถนนหน้าพระลาน

เลขที่ 2 ถึงเลขที่ 30 ริมถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นตึกแถวที่สร้างขึ้นในสมัยปลายรัชกาลที่ 5 ด้วยสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบนีโอคลาสสิก ในพื้นที่เดิมของวังถนนหน้าพระลาน 

อ่านเพิ่มเติม

ตำหนักโปร่งฤทัย

ตั้งอยู่ในสวนพฤกษศาสตร์เขาช่อง ม.7 บ้านกระเจาะ ถ.ตรัง-พัทลุง ต.ช่อง อ.นาโยง จ.ตรัง เป็นเรือนรับรองที่พระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต สร้างขึ้นเพื่อรับเสด็จสมเด็จพระบรมโอสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เมื่อ พ.ศ. 2452 สำหรับเป็นที่พักระหว่างทางไปสู่น้ำตก

อ่านเพิ่มเติม