แหล่งโบราณคดี


แสดง 1 ถึง 20 จาก 52 ผลลัพธ์

ถ้ำจาม เขางู

ถ้ำจาม ตั้งอยู่เขางู ต.เกาะพลับพลา อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ภายในถ้ำมีภาพศิลปกรรมสมัยทวารวดี (อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-14) บนผนังทุกด้าน โดยเฉพาะภาพตอนเสด็จสู่ปรินิพพาน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นพระพุทธรูปปางปรินิพพานที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำจีน เขางู

ถ้ำจีน ตั้งอยู่ในเขางู ต.เกาะพลับพลา อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี พบภาพสลักนูนต่ำพระพุทธรูป 2 องค์ สมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-14) แต่ต่อมาถูกดัดแปลงโดยพอกทับด้วยปูนปั้นในสมัยอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 22-23) นอกจากนี้ยังพบชิ้นส่วนพระพุทธรูปหินทรายแดงสมัยอยุธยาเป็นจำนวนมาก

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำฝาโถ เขางู

ตั้งอยู่ที่เขางู ต.เกาะพลับพลา อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี บนผนังถ้ำทางด้านทิศใต้มีภาพจำหลักรูปพระพุทธรูปไสยาสน์ขนาดใหญ่ สมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 11-12 รายล้อมไปด้วยภาพปูนปั้นลายเทพชุมนุมที่สร้างขึ้นในสมัยหลัง คือสมัยอยุธยา-รัตนโกสินทร์

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำฤๅษี เขางู

เป็นหนึ่งในถ้ำของเขางู ต.เกาะพลับพลา อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ในคูหาใหญ่ (หรือเรียกกันว่าถ้ำฤๅษี) ที่ผนังถ้ำมีภาพสลักนูนต่ำพระพุทธรูปประทับห้อยพระบาทสมัยทวารวดี สูงประมาณ 2.5 เมตร พระหัตถ์ขวาแสดงปางแสดงธรรมเทศนา (วิตรรกะมุทรา) ระหว่างข้อพระบาททั้ง 2 ข้าง มีจารึกอักษรปัลลวะตอนปลาย ภาษาสันสกฤต รูปแบบอักษรเป็นแบบที่นิยมใช้ในอินเดียใต้ในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 12

อ่านเพิ่มเติม

เทือกเขางู

ตั้งอยู่ ต.เกาะพลับพลา อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี ภายในเทือกเขางูมีถ้ำหินปูนจำนวนมาก ถ้ำเหล่านี้ถูกใช้เป็นศาสนสถานในศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท มาตั้งแต่สมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 11-12 จนกระทั่งปัจจุบัน แหล่งโบราณคดีสำคัญ ได้แก่ ถ้ำฤๅษี ถ้ำฝาโถ ถ้ำจีน ถ้ำจาม และถ้ำระฆัง ที่ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีสมัยทวารวดีและสมัยอยุธยา  รอยพระพุทธบาทสมัยอยุธยาที่ประดิษฐานบนยอดเขางู รวมทั้งจารึกพระปรมาภิไธยย่อ ๑๑๘ จปร. ที่สลักอยู่บริเวณปากถ้ำระฆังหรือถ้ำค้างคาว 

อ่านเพิ่มเติม

ออบหลวง

ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติออบหลวง เขตติดต่อระหว่าง อ.ฮอด และ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เป็นแหล่งโบราณคดีในภาคเหนือแห่งแรกที่พบหลักฐานเกี่ยวกับสำริดและโลหวิทยา และยังพบหลักฐานที่เก่าไปถึงสมัยหินกลางและหินใหม่

อ่านเพิ่มเติม

ภาพเขียนสีค่ายประตูผา

ตั้งอยู่ที่ บ้านจำปุย ต.บ้างดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง พบภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์กระจายอยู่หลายกลุ่มเป็นระยะๆ รวมแล้วมากกว่า 1,872 ภาพ และพบหลุมฝังศพของคนก่อนประวัติศาสตร์ ในสมัยหินใหม่ เมื่อ 2,900-3,200 ปีมาแล้ว 

อ่านเพิ่มเติม

วัดถ้ำผาปู่

วัดถ้ำผาปู่ ม.9 บ้านนาอ้อ ต.นาอ้อ อ.เมืองเลย จ.เลย หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญคือ ภาพเขียนสีแดงยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะภาพสามเหลี่ยมทึบ 2 รูปต่อมุมกัน คล้ายนาฬิกาทราย นอกจากนี้ ภายในวัดยังเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์หลวงปู่คำดี ปภาโส พระเถระรูปสำคัญที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาวัด

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำอาจารย์สิม

ตั้งอยู่ที่วัดพระพุทธบาทภูเก้า อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ บ้านดงบาก ต.นิคมพัฒนา อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู พบหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญคือ ภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ ภาพคน ภาพปลา รวมถึงภาพเชิงสัญลักษณ์ต่างๆ

อ่านเพิ่มเติม

ภาพเขียนสีเขาจันทร์งาม

ตั้งอยู่ภายในวัดเลิศสวัสดิ์ (เขาจันทร์งาม) ต.ลาดบัวขาว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา เป็นแหล่งศิลปะถ้ำยุคก่อนประวัติศาสตร์เพียงแห่งเดียวในจังหวัดนครราชสีมาเท่าที่พบในปัจจุบัน มีอายุอยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ภาพเด่นมีรูปกลุ่มคนทั้งวัยเด็กและผู้ใหญ่ รวมถึงภาพสุนัข

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำมึ้ม

วัดพระพุทธบาทภูเก้า ม.10 บ้านดงบาก ต.นิคมพัฒนา อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู

อ่านเพิ่มเติม

เขาเขียน

ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา ต.เกาะปันหยี อ.เมืองพังงา จ.พังงา ปรากฏภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ อายุราว 5,000-2,000 ปีมาแล้ว สันนิษฐานว่าวาดโดยคนก่อนประวัติศาสตร์ที่อาศัยในบริเวณนี้ และนักเดินเรือสมัยโบราณที่แวะมาจอดพักหลบมรสุม

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำนาค

อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา เกาะเขาสองพี่น้อง ต.กระโสม อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำลายมือ 1

อุทยานแห่งชาติน้ำพอง ม.8 บ้านดอนกอก ต.บ้านผือ อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น ลักษณะเป็นภาพเขียนสีแดงยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีภาพมือคนแบบพ่น 1 ภาพ (มือซ้าย) และแบบทาบ 2 ภาพ (เป็นมือซ้าย 1 ภาพ ส่วนอีก 1 ภาพไม่สามารถระบุได้) วมถึงภาพสัญลักษณ์ต่าง ๆ

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำลายมือ 2

อุทยานแห่งชาติน้ำพอง ม.8 บ้านดอนกอก ต.บ้านผือ อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น มีมือภาพคนแบบพ่น 1 ภาพ เป็นภาพมือขวา กับภาพลายเส้นคดผสมกับลายเส้นคู่และโค้งขนาน คล้ายกับภาพคนแบบกิ่งไม้ อายุประมาณ 4,000-3,000 ปีมาแล้ว

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำลายมือ 3

สวนรุกขชาติลุ่มน้ำพอง (โสกแต้) ต.โคกขาม อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น เป็นภาพเขียนสีแดงยุคก่อนประวัติศาสตร์ จำนวน 9 ภาพ ประกอบด้วยภาพมือขวา 4 ภาพ มือซ้าย 1 ภาพ ลายเรขาคณิต 1 ภาพ ส่วนอีก 3 ภาพมีสภาพลบเลือนมาก

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำลายมือ

ม.1 บ้านหนองห้าง ต.หนองห้าง อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ ศิลปะถ้ำที่พบในถ้ำลายมือใช้เทคนิคการลงสี (pictograph) ด้วยสีแดงคล้ำ ภาพที่ปรากฏอยู่ 2 แบบ คือ ภาพมือคนและภาพสัญลักษณ์ที่ทำเป็นลวดลายแบบต่าง ๆ

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำเซ่งเม่ง

ม.3 บ้านห้วยม่วง ต.หนองห้าง อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์

อ่านเพิ่มเติม

เพิงหินด้านทิศเหนือของคอกม้าท้าวบารส

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท บ้านติ้ว ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

อ่านเพิ่มเติม

เพิงหินด้านทิศตะวันออกของวัดพ่อตา

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท บ้านติ้ว ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

อ่านเพิ่มเติม