แหล่งโบราณคดี


แสดง 1 ถึง 6 จาก 6 ผลลัพธ์

กรมการค้าภายใน (เดิม) และคลังราชการ

กรมการค้าภายใน (เดิม) และคลังราชการ ที่ตั้งอยู่บริเวณท่าราชวรดิฐและท่าเตียน เขตพระนคร กรุงเทพฯ นั้น มีประวัติการใช้พื้นที่มาตั้งแต่ก่อนการก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ กระทั่งในสมัยรัตนโกสินทร์ ก็กลายมาเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญเนื่องจากอยู่ติดกับพระบรมมหาราชวังและริมแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นวังที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ จนกลายมาเป็นแหล่งเศรษฐกิจการค้าสำคัญ ต่อเนื่องมาจนสมัยรัชกาลที่ 9

อ่านเพิ่มเติม

กระทรวงพาณิชย์ (เดิม)

พื้นที่กระทรวงพาณิชย์เดิม ปัจจุบันคือสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ มิวเซียมสยาม ตั้งอยู่ริมถนนสนามไชย บริเวณสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสนามไชย เขตพระนคร กรุงเทพฯ เดิมเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ทั้งป้อมวไชยเชนทร์ในสมัยอยุธยา วังที่ประทับของเจ้านายสมัยรัชกาลที่ 3 ถึงรัชกาลที่ 5 และกระทรวงเศรษฐการหรือกระทรวงพาณิชย์ในปัจจุบัน หลักฐานทางโบราณคดีที่ขุดค้นพบ ล้วนแต่สื่อเรื่องราวและประวัติของสถานที่อย่างชัดเจน

อ่านเพิ่มเติม

โรงเรียนราชินี

โรงเรียนราชินี กรุงเทพฯ เป็นโรงเรียนหลวงสำหรับสตรีแห่งแรกของประเทศไทย พื้นที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบัน ในอดีตเป็นที่ตั้งของป้องมหาฟกษ์ วังเหนือป้อมมหาฤกษ์ วังใต้ป้อมมหาฤกษ์ กระทรวงธรรมการ สุนันทาลัย

อ่านเพิ่มเติม

สโมสรข้าราชการจังหวัดตรัง

ตั้งอยู่ ต.ทับเที่ยง อ.เมืองตรัง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นหลัง พ.ศ.2471 เพื่อเป็นอาคารของสโมสรข้าราชการ  เนื่องจากพบเอกสารแบบแปลนอาคาร Club House in Trang ลงวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ.1928 (พ.ศ.2471) ลักษณะอาคารสะท้อนให้เห็นรูปแบบที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 7 

อ่านเพิ่มเติม

จวนผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง

ตั้งอยู่ในตัวจังหวัดตรัง บนเนินชื่อ “ควนคีรี” สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ.2461 หรือหลังจากนั้นไม่นาน เคยเป็นที่ประทับแรมของในหลวงรัชกาลที่ 9 เมื่อครั้งเสด็จประพาสจังหวัดตรัง พ.ศ.2502 ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นคอนกรีต ชั้นบนเป็นไม้ หลังคาทรงปั้นหยา เป็น 1 ใน 20 โบราณสถานสำคัญของจังหวัดที่นักท่องเที่ยวห้ามพลาด

อ่านเพิ่มเติม

พระราชวังรัตนรังสรรค์

ต.เขานิเวศน์ อ.เมืองระนอง พระราชวังรัตนรังสรรค์ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2433 โดยพระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง) เจ้าเมืองระนองในขณะนั้น เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายตะวันตก เดิมตั้งอยู่บนเนินประวัติศาสตร์ แต่ได้รื้อออกไปเมื่อปี พ.ศ.2507 เพื่อก่อสร้างอาคารศาลากลางจังหวัด หลังจากนั้นได้มีโครงการก่อสร้างพระราชขึ้นใหม่ (องค์จำลอง) เมื่อปี พ.ศ.2545 ในพื้นที่ฝั่งตรงข้ามฝั่งถนนลุวัง 

อ่านเพิ่มเติม