แหล่งโบราณคดี


แสดง 21 ถึง 40 จาก 90 ผลลัพธ์

เมืองโบราณบ้านวัด

ต.วัด, ต.ปิตูมุดี, ต.ยะรัง อ.ยะรัง จ.ปัตตานี

อ่านเพิ่มเติม

เมืองโบราณยะรัง

ต.ยะรัง, ต.บ้านวัด, ต.ปิตูมาดี อ.ยะรัง จ.ปัตตานี

อ่านเพิ่มเติม

เพิงผาปาโต๊ะโระ

ม.7 บ้านบูเกตยามู ต.ควนโดน อ.ควนโดน จ.สตูล

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำเพิง

ม.5 บ้านทุ่งไพล ต.คูหา อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา

อ่านเพิ่มเติม

ภาพเขียนสีเป็นพระพุทธรูป, แหล่งโบราณสถานถ้ำศิลป์

ถ้ำศิลป์ ตั้งอยู่บ้านบันนังลูวา ต.หน้าถ้ำ อ.เมืองยะลา จ.ยะลา ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ทั้งภาพเขียนบนผนังถ้ำ เศษภาชนะดินเผา เครื่อมือหินขัด ลูกปัดเปลือกหอย อายุราว 3,000 ปีมาแล้ว และศิลปกรรมบนผนังถ้ำยุคประวัติศาสตร์ สมัยศรีวิชัย-สมัยสุโขทัย

อ่านเพิ่มเติม

ภาพเขียนสีเขายะลา

เขายะลา อยู่ใน ต.ลิดล และ ต.ยะลา อ.เมืองยะลา จ.ยะลา พบหลักฐานทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ในถ้ำและเพิงผาหลายแห่งบนเขายะลา โดยเฉพาะภาพเขียนสี ทั้งเขียนด้วยสีแดงและสีดำ นอกจากนั้นยังพบชิ้นส่วนกะโหลกมนุษย์ เศษภาชนะดินเผา เครื่องมือหินกะเทาะ ขวานหินขัด ดินสีแดง ที่อาจใช้สำหรับสร้างผลงานบนผนังถ้ำ อายุของแหล่งโบราณคดีราว 3,000-2,000 ปีมาแล้ว เป็นต้นมา

อ่านเพิ่มเติม

เมืองโบราณบ้านประแว

เมืองโบราณบ้านประแว ตั้งอยู่ ม.2 ต.ยะรัง อ.ยะรัง จ.ปัตตานี เป็น 1 ใน 3 เมืองของเมืองโบราณยะรัง มีการใช้พื้นที่มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 และมีการใช้พื้นที่หนาแน่นใช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 โบราณสถานที่สำคัญภายในเมืองพบ ซากสิ่งก่อสร้างอิฐ 2 แห่ง และบ่อน้ำเก่า 5 แห่ง 

อ่านเพิ่มเติม

บ้านท่าเรือ

บ้านท่าเรือ อ.เมืองนครศรีธรรมราช เป็นชุมชนหนึ่งในกลุ่มชุมชนโบราณคลองท่าเรือ มีพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ แต่หลักฐานจะเด่นชัดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-18  โบราณวัตถุสำคัญ เช่น ขวานหินขัด กำไลหิน ลูกปัดแก้วหรือลูกปัดมีตา เครื่องถ้วยจีนเคลือบสีเขียวมะกอกแบบยั่ว (Yue ware) 

อ่านเพิ่มเติม

เขาสามแก้ว

ตั้งอยู่ที่บ้านสามแก้ว อ.เมืองชุมพร เป็นชุมชนยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 2 และเจริญในช่วงพุทธศตวรรษที่ 5 -10 มีการสร้างกำแพงดินล้อมรอบชุมชน มีการสร้างคูน้ำหรือทางระบายน้ำ มีการจัดแบ่งพื้นที่อุตสาหกรรมไว้นอกเขตชุมชน

อ่านเพิ่มเติม

เมืองโบราณไชยา

อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี

อ่านเพิ่มเติม

เมืองโบราณพระเวียง

ต.ในเมือง อ.เมืองนครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช

อ่านเพิ่มเติม

ภาพเขียนสีค่ายประตูผา

ตั้งอยู่ที่ บ้านจำปุย ต.บ้างดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง พบภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์กระจายอยู่หลายกลุ่มเป็นระยะๆ รวมแล้วมากกว่า 1,872 ภาพ และพบหลุมฝังศพของคนก่อนประวัติศาสตร์ ในสมัยหินใหม่ เมื่อ 2,900-3,200 ปีมาแล้ว 

อ่านเพิ่มเติม

ภูซาง

ต.นาซาว อ.เมืองน่าน จ.น่าน แหล่งโบราณคดีภูซาง หรือดอยภูซาง ในอดีต (ประมาณ 700 ถึงกว่า 3,000 ปีมาแล้ว) น่าจะเป็นแหล่งผลิตเครื่องมือหินในระดับอุตสาหกรรรม เพราะพบหลักฐานที่แสดงถึงกระบวนการผลิตเครื่องมือหินเป็นจำนวนมากและกระจายตัวอยู่หนาแน่นเป็นบริเวณกว้าง

อ่านเพิ่มเติม

เมืองปัว

ตั้งอยู่ที่ ต.ปัว อ.ปัว จ.น่าน เป็นเมืองโบราณของล้านนาสมัยแรกเริ่มตั้งเมืองน่าน ที่ตั้งเมืองมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 อย่างไรก็ดี จากการสำรวจขุดค้นทางโบราณคดี พบหลักฐานการใช้พื้นที่บริเวณเมืองปัวมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่ (5,000-3,000 ปีมาแล้ว)

อ่านเพิ่มเติม

เมืองโบราณเวียงบัว

บ้านบัว ต.แม่กา อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา

อ่านเพิ่มเติม

ชุมชนโบราณสทิงพระ

ต.จะทิ้งพระ อ.สทิงพระ จ.สงขลา

อ่านเพิ่มเติม

ปากจั่น

ต.ปากจั่น อ.กระบุรี จ.ระนอง พบหลักฐานประเภทเศษภาชนะดินเผาทั้งเนื้อดินและเนื้อแกร่ง และพบหลักฐานประเภทลูกปัดแก้วสีเดียว(อินโด-แปซิฟิก) ลูกปัดหิน(คาร์เนเลียนและอาเกต) และเครื่องประดับที่ทำจากทอง ซึ่งล้วนเป็นสินค้าที่นิยมในสมัยอินโด-โรมันนั้น แสดงให้เห็นว่าชุมชนโบราณแห่งนี้ มีการติดต่อกับชุมชนภายนอก  สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ หรือประมาณพุทธศตวรรษที่ 8

อ่านเพิ่มเติม

ภูเขาทอง

ต.กำพวน อ.สุขสำราญ จ.ระนอง แหล่งโบราณคดีแห่งนี้เป็นเมืองท่ายุคแรก ๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการติดต่อทางการค้ากับอินเดียอย่างชัดเจน หลักฐานสำคัญที่พบมีทั้งลูกปัดแก้ว ลูกปัดหินกึ่งมีค่า ลูกปัดทอง เครื่องปั้นดินเผาจากทั้งที่ผลิตในท้องถิ่นและจากดินแดนตะวันตก

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำผี

ต.นาปู่ป้อม อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน อยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ราว 11,000 ปีมาแล้ว เป็นต้นมา พบหลักฐานทางโบราณคดีทั้งเครือมือหินแบบ Hoabinhian เครื่องมือสะเก็ดหิน เครื่องมือหินขัด เศษภาชนะดินเผา ซากพืช ซากสัตว์ โลงไม้ ซึ่ง Chester Gorman เคยระบุว่าเป็นแหล่งที่พบภาชนะดินเผาและร่องรอยการเพาะปลูกที่เก่าที่สุดในประเทศไทย

อ่านเพิ่มเติม

เพิงผาถ้ำลอด

ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าถ้ำน้ำลอด หมู่บ้านถ้ำลอด ต.ถ้ำลอด อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน บริเวณเพิงผาถ้ำลอดมีคนเข้ามาใช้พื้นที่ตั้งแต่สมัยไพลสโตซีนตอนปลายจนถึงโฮโลซีนตอนต้น (ประมาณ 30,000-10,000 ปีมาแล้ว) หลักฐานที่สำคัญได้แก่ หลุมฝังศพมนุษย์ที่ถูกฝังอยู่ในท่านอนงอเข่า อายุกว่า 13,000 ปีมาแล้ว

อ่านเพิ่มเติม