แหล่งโบราณคดี


แสดง 101 ถึง 117 จาก 117 ผลลัพธ์

เขาแบนะ

ตั้งอยู่ภายในอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ต.ไม้ฝาด อ.สิเกา จ.ตรัง ปรากฏภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์อยู่ที่หน้าผาด้านทิศเหนือของเขาแบนะ หันหน้าออกสู่ทะเล เป็นภาพเขียนสีแดงหลายภาพ ที่เห็นเด่นชัดเป็นภาพปลา 2 ตัว ส่วนภาพอื่น ๆ ส่วนใหญ่มีสภาพลบเลือน

อ่านเพิ่มเติม

เขาขาว

ตั้งอยู่ที่ บ้านเหนือคลอง ต.บ้านกลาง อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ พบหลักฐานทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ในถ้ำและตามเพิงผา ร่วมสมัยกับกลุ่มแหล่งโบราณคดีที่อ่าวลึกและอ่าวพังงา หลักฐานที่พบ เช่น ภาพเขียนสีโบราณที่ผนังถ้ำโนราห์และถ้ำช้างนอก เขียนด้วยสีแดงเป็นภาพบุคคล สัญลักษณ์ และรูปเรขาคณิต อายุราว 5,000-3,000 ปีมาแล้ว 

อ่านเพิ่มเติม

ภูเขาสาย

ต.บางดี อ.ห้วยยอด จ.ตรัง พบหลักฐานหลายยุคสมัย ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เช่น เครื่องมือหิน ชิ้นส่วถ้ำเขาสายนหม้อสามขา ชิ้นส่วนภาชนะดินผา กระจายอยู่ภายในถ้ำต่าง ๆ นอกจากนี้ยังพบพระพิมพ์ดินดิบบริเวณถ้ำทางทิศตะวันออก อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 เป็นโบราณวัตถุเนื่องในศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เสด็จมาในวันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม ร.ศ.121 (พ.ศ.2445)

อ่านเพิ่มเติม

ภูเขาหลักจัน

ตั้งอยู่ที่ บ้านเขาโหรง ต.น้ำผุด อ.เมืองตรัง จ.ตรัง ภูเขาหลักจันเป็นภูเขาหินปูน พบหลักฐานทางโบราณคดีอยู่ตามถ้ำและเพิงผา ทั้งโครงกระดูกมนุษย์ เครื่องมือหิน และชิ้นส่วนภาชนะดินเผา ส่วนพระพุทธรูปโบราณที่อยู่ในถ้ำตามคำบอกเล่าของชาวบ้านกล่าวว่าถูกทำลายไปแล้ว ปัจจุบันมีผู้สร้างพระพุทธรูปใหม่มาไว้ที่ปากถ้ำ และตั้งสำนักสงฆ์เขาหลักจันทร์อยู่เชิงเขา

อ่านเพิ่มเติม

ภูเขาชุมทอง

ตั้งอยู่ที่ ต.น้ำผุด อ.เมืองตรัง จ.ตรัง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางสีหไสยาสน์ มีเป็นเอกกลักษณ์คือ สวมเทริดมโนราห์ นับเป็นการผสมผสานระหว่างศรัทธาในพระพุทธศาสนากับศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น นอกจากนี้ยังพบโครงกระดูกมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ภายในถ้ำภูเขาทอง 

อ่านเพิ่มเติม

เขาปินะ

ตั้งอยู่ ต.นาวง อ.ห้วยยอด จ.ตรัง มีถ้ำขนาดใหญ่น้อยหลายถ้ำในเขาปินะ แบ่งได้เป็น 6 ระดับ โดยปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เช่น หม้อสามขา ขวานหันขัด และยังพบหลักฐานที่เกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ทั้งการเสด็จฯ เยือนของรัชกาลที่ 6 และ รัชกาลที่ 7 รวมถึงหลักฐานต่าง ๆ ของขุนไกร ผู้ปฏิสังขรณ์สถานที่แห่งนี้ 

อ่านเพิ่มเติม

เขาโพธิ์โทน

ต.นาวง อ.ห้วยยอด จ.ตรัง เขาโพธิ์โทน เป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ อายุราว 3,000-4,000 ปีมาแล้ว หลักฐานสำคัญที่เคยพบคือ ภาชนะดินเผาเนื้อดินธรรมดาลายเชือกทาบ และชิ้นส่วนกระดูกสัตว์ นอกจากนั้น ภายในเขามีถ้ำที่ชาวบ้านรู้จักคือ ถ้ำต่ำและถ้ำสูง แต่ละถ้ำมีหินงอกหินย้อยสวยงาม

อ่านเพิ่มเติม

น้ำตกลากลอย

ต.ราชกรูด อ.เมืองระนอง พบเครื่องมือหินกะเทาะยุคก่อนประวัติศาสตร์รูปลักษณะต่าง ๆ หลายชิ้น ที่บริเวณน้ำตกที่เป็นลานหินกรวด เช่น เครื่องมือหินกะเทาะทำจากหินกรวดรูปหลายเหลี่ยมเป็นเครื่องมือตัด-สับ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า, เครื่องมือหินกะเทาะทำจากหินปูนรูปคล้ายสามเหลี่ยมหน้าจั่ว-แบนด้านประกอบมุมยอดโค้งออกทั้งสองด้าน รูปไข่-แบน รูปหลายเหลี่ยม ยาว-แบน

อ่านเพิ่มเติม

สวนสาธารณะรักษะวาริน

สวนสาธารณะรักษะวาริน ตั้งอยู่ริมคลองหาดส้มแป้น ต.เขานิเวศน์ และ ต.หาดส้มแป้น อ.เมืองระนอง จ.ระนอง  มีบ่อน้ำแร่ร้อนธรรมชาติ หรือบ่อน้ำพุร้อน 3 บ่อ ชาวบ้านเรียกว่า บ่อพ่อ บ่อแม่ และบ่อลูกสาว กรมศิลปากรได้เคยสำรวจบริเวณสวนสาธารณะพบเครื่องมือหินกะเทาะบนฝั่งด้านทิศใต้และในคลองหาดส้มแป้น

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำตีนเป็ด

ตั้งอยู่ด้านหลังหมวดการทางปะทิว ริม ถ.เพชรเกษม ต.เขาไชยราช อ.ปะทิว จ.ชุมพร จากการสำรวจของกรมศิลปากร พบหลักฐานทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ คือเศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน เ สันนิษฐานว่าถ้ำแห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราวของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำสนุกสุขารมย์

ตั้งอยู่ภายในวัดถ้ำสนุกสขารมย์ ต.บ้านนา อ.เมืองชุมพร กรมศิลปากรสำรวจพบหลักฐานทางโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ภายในถ้ำสนุกสุขารมย์ คือเศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน เนื้อภาชนะหยาบมีเม็ดทรายปน สันนิษฐานว่าถ้ำแห่งนี้เป็นแหล่งที่พำนักอาศัยชั่วคราวของมนุษย์ก่อนประวัติสาสตร์

อ่านเพิ่มเติม

เขาหญ้าระ

ต.ลิพัง อ.ปะเหลียน จ.ตรัง สภาพแหล่งโบราณคดีเป็นเพิงผาที่อยู่ด้านปลายทางทิศเหนือของเขาหญ้าระ พบเครื่องมือหินกะเทาะด้านเดียวแบบหัวบิเนียน และเศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน กําหนดอายุได้ราว 10,000 – 6,000 ปี มาแล้ว อาจใช้เป็นจุดแวะพักระหว่างเดินทางของคนก่อนประวัติศาสตร์

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำเขาไม้แก้ว

ต.เขาไม้แก้ว อ.สิเกา จ.ตรัง พบเครื่องมือหินและเศษภาชนะดินเผาที่แหล่งโบราณคดีถ้ำเขาไม้แก้ว สันนิษฐานว่าเป็นที่ตั้งถิ่นฐานชั่วคราวหรือเป็นที่พักชั่วคราวระหว่างเดินทางของมนุษย์ยุค่กอนประวัติศาสตร์ เมื่อราว 4,000 – 2,000 ปีมาแล้ว และอาจถูกใช้เป็นจุดสังเกตในระหว่างการเดินทางด้วย

อ่านเพิ่มเติม

เขาหน้าเนื้อ

ต.ลิพัง อ.ปะเหลียน จ.ตรัง สันนิษฐานว่าแหล่งโบราณคดีเขาหน้าเนื้อเป็นแหล่งที่พักชั่วคราวของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์ ราว 4,000-2,000 ปีมาแล้ว เพราะมีทำเลอยู่บริเวณช่องเขาสําหรับเดินทางระหว่างตอนในทวีปออกสู่ทะเล พบเครื่องมมือหิน เศษภาชนะดินเผาเคลือบน้ำดินสีแดงขัดมัน และเปลือกหอยกัน ที่น่าจะถูกนำมาเป็นอาหาร

อ่านเพิ่มเติม

เขาเจ้าไหม

ตั้งอยู่ภายในอุทยานแห่งชาติเจ้าไหม ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง พบหลักฐานทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์บนเขาเจ้าไหม ได้แก่ ภาพเขียนสี เครื่องมื่อหินและเครื่องปั้นดินเผา สันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในช่วง 4,000-2,000 ปีมาแล้ว

อ่านเพิ่มเติม

อ่าวบุญคง

ต.ไม้ฝาด อ.สิเกา จ.ตรัง แหล่งโบราณคดีอ่าวบุญคงพบหลักฐานทางโบราณคดี 2 ยุคสมัย คือ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ถูกใช้เป็นที่พักพิงชั่วคราวและมีการวาดภาพเขียนสี  และยุคประวัติศาสตร์ช่วงพุทธศตวรรษที 16 – 19 ถูกใช้เป็นแหล่งฝังศพ

อ่านเพิ่มเติม

เพิงผาเขียน เขาพนมดบ

บริเวณเพิงผาเขียน เขาพนมดบ อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก ต.บักดอง อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ พบร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์ในอดีต 2 จุด คือ ภาพศิลปะถ้ำยุคก่อนประวัติศาสตร์ ทั้งภาพเขียนสี และภาพสลัก

อ่านเพิ่มเติม