วัดโคกมะม่วง


โพสต์เมื่อ 3 เม.ย. 2022

ที่ตั้ง : บ้านโคกมะม่วง ม.4

ตำบล : พร่อน

อำเภอ : ตากใบ

จังหวัด : นราธิวาส

พิกัด DD : 6.242980 N, 102.026289 E

เขตลุ่มน้ำหลัก : ทะเลอ่าวไทย, บางนรา, โก-ลก

เส้นทางเข้าสู่แหล่ง

จากแยกตากใบ ใช้ทางหลวงหมายเลข 42 มุ่งหน้าทางใต้ หรือมุ่งหน้าตำบลพร่อน ประมาณ 3.1 กิโลเมตร จะพบทางหลวง นธ.2025 ทางขวามือ (ต้องกลับรถเพื่อเข้าใช้ถนนเส้นนี้) เลี้ยวเข้าใช้ถนนเส้นนี้เพื่อมุ่งสู่บ้านโคกมะม่วง ประมาณ 100 เมตร เบี่ยงขวาไปตามป้ายวัดโคกมะม่วง ตรงไปอีกประมาณ 250 เมตร จะพบวัดโคกมะม่วง หอไตรตั้งอยู่พื้นที่ด้านในหรือด้านทิศเหนือของวัด

ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว

เป็นแหล่งท่องเที่ยว

รายละเอียดทางการท่องเที่ยว

เปิดให้เข้าชมด้านนอกของโบราณสถานทุกวัน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่หากต้องการเข้าชมภายใน ควรติดต่อล่วงหน้าที่เบอร์  081 096 9456

หน่วยงานที่ดูแลรักษา

วัดโคกมะม่วง, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

การขึ้นทะเบียน

ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร

รายละเอียดการขึ้นทะเบียน

ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนพิเศษ 117ง หน้า 7 วันที่ 29 พฤศจิกายน 2545

ภูมิประเทศ

ที่ราบ

สภาพทั่วไป

หอไตรตั้งอยู่กลางบ่อน้ำ ในพื้นที่ด้านทิศเหนือของวัดโคกมะม่วง สภาพค่อนข้างทรุดโทรมไปตามกาลเวลา

ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

8 เมตร

ทางน้ำ

แม่น้ำโก-ลก, แม่น้ำบางนรา, ทะเลอ่าวไทย

สภาพธรณีวิทยา

ตะกอนชายฝั่งทะเลโดยอิทธิพลคลื่น ลักษณะตะกอนเป็นทรายและทรายปนกรวดของหาดสันดอน สันทราย และเนินทราย (กรมทรัพยากรธรณี 2559) 

ยุคทางโบราณคดี

ยุคประวัติศาสตร์

สมัย/วัฒนธรรม

สมัยรัตนโกสินทร์, สมัยรัชกาลที่ 5, สมัยรัชกาลที่ 3

อายุทางโบราณคดี

พ.ศ.2306

ประวัติการศึกษา

ไม่พบผลลัพธ์

ประเภทของแหล่งโบราณคดี

ศาสนสถาน

สาระสำคัญทางโบราณคดี

วัดโคกมะม่วง ปัจจุบันเป็นวัดราษฎร์ ฝ่ายมหานิกาย เป็นวัดโบราณ จากทะเบียนวัดของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (2565) ระบุว่าตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.2381 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งหลังเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ.2506

อาคารเสนาสนะต่าง ๆ ภายในวัดสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เรื่อยต่อมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งรูปแบบอาคารเสนาสนะดังกล่าวสะท้อนถึงประวัติศาสตร์ความเป็นท้องถิ่นของชุมชนได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งหอไตรกลางน้ำที่มีความงดงามทางศิลปกรรมที่ปัจจุบันหาดูได้ยากยิ่ง (กรมศิลปากร 2565)

หอไตรกลางน้ำ มีลักษณะอาคารมีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดประมาณ 5.8 x 5.8 เมตร ตีฝาซ้อนเกล็ด ฐานอาคารเป็นเสาไม้ตั้งอยู่บนตอม่อปูน ซึ่งตั้งอยู่ตรงกลางสระน้ำ ด้านทิศตะวันตกมีประตูทางเข้า 1 ประตู โดยประตูนี้จะเชื่อมต่อกับสะพานไม้ที่เชื่อมระหว่างอาคารกับฝั่ง ส่วนหนังด้านที่เหลือเป็นช่องหน้าต่างด้านละหนึ่งบาน หลังคาเป็นทรงปั้นหยาซ้อนขึ้นไป 3 ชั้น มุงด้วยกระเบื้องดินเผา บริเวณเชิงชายประกับตกแต่งด้วยแผ่นสังกะสีฉลุลายเขียนสี ภายในหอไตรเขียนภาพจิตรกรรมบนฝ้าเพดานไม้เป็นรูปเจดีย์จุฬามณีบนพื้นสีเหลืองสด (ภาณุวัมน์ เอื้อสามาลย์ และคณะ 2561: 256)

ผู้เรียบเรียงข้อมูล-ผู้ดูแลฐานข้อมูล

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล

บรรณานุกรม

กรมทรัพยากรธรณี. การจำแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณีจังหวัดนราธิวาส. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จํากัด (มหาชน), 2559.

กรมศิลปากร. "วัดโคกมะม่วง" ระบบภูมิสารสนเทศ แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 15 มกราคม 2565. เข้าถึงจาก http://gis.finearts.go.th/fineart/

ภาณุวัฒน์ เอื้อสามาลย์, ศิริพร สังข์ศิริ,  และธวัชชัย ชั้นไพศาลศิลป์. 247 โบราณสถานภาคใต้ที่ขึ้นทะเบียนแล้วและข้อมูลหลักฐานใหม่ทางโบราณคดี. นครศรีธรรมราช : สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช, 2561.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. ระบบทะเบียนวัด. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 15 มกราคม 2565. เข้าถึงจาก http://binfo.onab.go.th/Temple/Temple-List-view.aspx


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ภาพเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดี