ธาตุ (ดอนกู่)


โพสต์เมื่อ 13 ก.ค. 2020

ชื่ออื่น : วัดป่าดอนกู่

ที่ตั้ง : เลขที่ 57 ม.15 บ้านหนองกุง ต.กุดกว้าง อ.หนองเรือ

ตำบล : กุดกว้าง

อำเภอ : หนองเรือ

จังหวัด : ขอนแก่น

พิกัด DD : 16.487446 N, 102.374508 E

เขตลุ่มน้ำหลัก : เชิญ

เขตลุ่มน้ำรอง : ห้วยบุนา

เส้นทางเข้าสู่แหล่ง

จากแยกสามเหลี่ยมในตัวจังหวัดขอนแก่นหรือในเทศบาลนครขอนแก่น ให้ใช้ถนนมะลิวัลย์ (ทางหลวงหมายเลข 12) มุ่งหน้าอำเภอหนองเรือ (ทางทิศตะวันตก) ประมาณ 49.8 กิโลเมตร จะพบป้ายทางเข้าสู่วัดป่าดอนกู่ทางซ้ายมือ เลี้ยวเข้าซอยประมาณ 280 เมตร วัดป่าดอนกู่อยู่ทางซ้ายมือ

ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว

เป็นแหล่งท่องเที่ยว

รายละเอียดทางการท่องเที่ยว

โบราณสถานวัดป่าดอนกู่ยังไม่ได้รับการขุดค้น ขุดแต่ง บูรณปฏิสังขรณ์ อนุรักษ์รักษา และศึกษาอย่างจริงจัง  แม้ว่าจะได้รับการขึ้นทะเบียนโบราณสถานแล้ว

หน่วยงานที่ดูแลรักษา

วัดป่าดอนกู่

การขึ้นทะเบียน

ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร

รายละเอียดการขึ้นทะเบียน

ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเรื่องการกำหนดจำนวนโบราณวัตถุสถานสำหรับชาติ เล่มที่ 57 หน้า 2527 วันที่ 22 ตุลาคม 2483

ภูมิประเทศ

ลูกคลื่นลอนลาด

สภาพทั่วไป

วัดป่าดอนกู่เป็นวัดขนาดเล็ก ไม่มีอุโบสถ มีอาคารสิ่งก่อสร้างน้อย เดิมเคยเป็นวัดร้าง ตั้งอยู่บนพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดทางทิศตะวันตกของจังหวัดขอนแก่น ธรณีสัณฐานเป็นหินทรายในหมวดหินภูกระดึง

ทางตะวันตกจากตัวแหล่ง ห่างออกไปประมาณ 450 เมตร เคยมีลำน้ำธรรมชาติขนาดเล็ก แต่ปัจจุบันตื้นเขิน โดยลำน้ำสายนี้ไปเชื่อมกับห้วยบุนา ที่อยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของแหล่งไปประมาณ 1.1 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกห่างออกไปประมาณ 3.4 กิโลเมตร มีลำน้ำเชิญไหลผ่าน ซึ่งจะไหลไปรวมกับแม่น้ำพองในที่สุด

พื้นที่โดยรอบวัดป่าดอนกู่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมทำไร่นา โบราณสถานตั้งอยู่กลางวัด ลักษณะเป็นเนินที่ดินที่เต็มไปด้วยซากอิฐ

ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

210 เมตร

ทางน้ำ

ลำน้ำเชิญ, ห้วยบุนา

สภาพธรณีวิทยา

ลักษณะธรณีวิทยาของพื้นที่ตั้งแหล่งโบราณคดีจัดอยู่ในหมวดหินภูกระดึง ส่วนล่างสุดเป็นหินทรายแป้ง สีแดง สีน้ำตาลแดง และสีเทาแกมแดง มมักมีแร่ไมก้าปน บางแห่งมีหินปูนชั้นบางแทรกสลับ ชั้นหินตอนกลางประกอบด้วย หินทรายแป้ง หินโคลน สีน้ำตาลแดงปนม่วง มีเม็ดปูนและชั้นเม็ดปูน ชั้นหินมักถูกปกคลุมด้วยตะกอนดินหนา ไม่ค่อยพบชั้นหินโผล่ มีหินทรายเนื้อไมก้าและหินกรวดมนเม็ดปูน สลับชั้นโผล่ให้เห็นเป็นช่วงๆ ส่วนบนเป็นหิรทรายแป้งสลับชั้นหินทราย หินโคลน และหินกรวดมนเนื้อปูน สีแดงปนเทา และสีเทาเขียว ชั้นหินบนสุดโผล่เป็นหน้าผาหินทราย สีน้ำตาลแดง และมีหินทรายแป้งสลับชั้นอยู่บ้าง ชั้นหินทรายหนา 30 เศนติเมตร ถึงมากกว่า 1 เมตร ชั้นหินทั่วไปมีการผุพังค่อนข้างง่าย สภาวะของการสะสมตัวของตะกอนในแม่น้ำแบบโค้งตวัดที่มีกระแสน้ำรุนแรงตามร่องน้ำ และตกตะกอนบริเวณสองฝั่งของที่ราบลุ่มแม่น้ำ หนอง และบึง ในภูมิอากาศกึ่งแห้งแล้งเมื่อ 180-145 ล้านปี (กรมทรัพยากรธรณี 2552 : 17-18)

ยุคทางโบราณคดี

ยุคประวัติศาสตร์

สมัย/วัฒนธรรม

สมัยล้านช้าง

ประวัติการศึกษา

ไม่พบผลลัพธ์

ประเภทของแหล่งโบราณคดี

ศาสนสถาน

สาระสำคัญทางโบราณคดี

พื้นที่โดยรอบวัดป่าดอนกู่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมทำไร่นา โบราณสถานตั้งอยู่กลางวัด ลักษณะเป็นเนินที่ดินที่เต็มไปด้วยซากอิฐ จึงสันนิษฐานได้ว่าเดิมคงเป็นอาคารก่ออิฐ บนเนินดินมีการเทพื้นปูนซีเมนต์คลุมทั้งเนิน มีบันไดทางขึ้นที่ด้านหน้า (ด้านทิศตะวันออก เฉียงไปทางทิศใต้เล็กน้อย) และด้านข้างทั้ง 2 ข้าง ด้านบนประดิษฐานพระพุทธรูปโลหะสมัยปัจจุบัน และมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นอยู่เนินดินหลายต้น ขอบเนินดินมีซากกองอิฐจำนวนมาก (ขนาดอิฐส่วนใหญ่หนาประมาณ 10 เซนติเมตร กว้าง 20 เซนติเมตร) และศิลาแลงบางส่วน 

ที่มุมเบื้องซ้ายด้านหน้าของพื้นปูนบนเนิน (มุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ) มีเสมาหรือแท่งหินทรายสี่เหลี่ยมตั้งอยู่ 1 ต้น ความสูงส่วนที่พ้นจากพื้นดินประมาณ 1.8 เมตร นอกจากนี้ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเนินโบราณสถานยังมีแท่งหินทรายวางนอนอยู่อีกหลายต้น (อย่างน้อย 7 ต้น) ซึ่งเสมาหรือแท่งเหล่านี้พบอยู่ในบริเวณเนินโบราณสถานและในพื้นที่วัดป่าดอนกู่

สันนิษฐานว่าโบราณสถานแห่งนี้ น่าจะเป็นซากโบราณสถานที่มีอายุอย่างน้อยอยู่ในสมัยล้านช้าง

ผู้เรียบเรียงข้อมูล-ผู้ดูแลฐานข้อมูล

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล

บรรณานุกรม

กรมทรัพยากรธรณี. การจำแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดขอนแก่น. กรุงเทพฯ : กรมทรัพยากรธรณี, 2552.

กรมศิลปากร. ระบบฐานข้อมูลแหล่งมรดกศิลปวัฒนธรรมและระบบภูมิสารสนเทศ โครงการสำรวจแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม. (ออนไลน์) เข้าถึงเมื่อ 1 กันยายน 2560. แหล่งที่มา http://www.gis.finearts.go.th/gisweb/viewer.aspx

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ภาพเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดี