โบราณสถานหมายเลข 40 เมืองคูบัว


โพสต์เมื่อ 4 มิ.ย. 2021

ชื่ออื่น : โคกหนองเกษร

ที่ตั้ง :

ตำบล : คูบัว

อำเภอ : เมือง

จังหวัด : ราชบุรี

พิกัด DD : 13.474637 N, 99.8386 E

เขตลุ่มน้ำหลัก : แม่กลอง

เขตลุ่มน้ำรอง : แม่น้ำอ้อม, ห้วยคูบัว, ห้วยชินสีห์

เส้นทางเข้าสู่แหล่ง

โบราณสถานหมายเลข 40 ตั้งอยู่ด้านทิศใต้นอกคูเมืองของเมืองโบราณคูบัว ห่างจากคูเมืองไปทางทิศใต้ประมาณ 100 เมตร ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่โรงเลี้ยงสุกร

ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว

ไม่เป็นแหล่งท่องเที่ยว

หน่วยงานที่ดูแลรักษา

กรมศิลปากร

การขึ้นทะเบียน

ไม่ขึ้นทะเบียน

ภูมิประเทศ

ที่ราบ

สภาพทั่วไป

ตั้งอยู่นอกคูเมืองด้านทิศใต้ บริเวณบ้านหนองเกษร ห่างจากคูเมืองประมาณ 100 เมตร ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่โรงเลี้ยงสุกร

สภาพก่อนการขุดแต่งในปี พ..2504 มีลักษณะเป็นเนินโบราณสถานก่อด้วยอิฐ มีดินทับถมอยู่ด้านบน เนินกว้างยาวด้านละประมาณ 12 เมตร สูง 2.6 เมตร พื้นที่โดยรอบเป็นที่ราบลุ่ม สภาพรกร้าง มีไม้ยืนต้นและวัชพืชขึ้นปกคลุม

ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

7 เมตร

ทางน้ำ

คูเมืองห้วยชินสีห์

สภาพธรณีวิทยา

[ดู เมืองคูบัว]

ยุคทางโบราณคดี

ยุคประวัติศาสตร์

สมัย/วัฒนธรรม

สมัยทวารวดี

อายุทางโบราณคดี

ราวพุทธศตวรรษที่ 12-16 / พ.ศ.1100-1600 / 1400-900 BP

ประวัติการศึกษา

ชื่อผู้ศึกษา : สมศักดิ์ รัตนกุล

ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2504

วิธีศึกษา : ขุดแต่ง

องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร

ผลการศึกษา :

สมศักดิ์ รัตนกุล ขุดแต่งโบราณสถานหมายเลข 40 เมืองคูบัว ระหว่างวันที่ 17-30 พฤษภาคม พ.ศ.2504

ประเภทของแหล่งโบราณคดี

ศาสนสถาน

สาระสำคัญทางโบราณคดี

ลังการขุดแต่งเนินโบราณสถานหมายเลข 1 ในปี พ.ศ.2504 พบฐานของสิ่งก่อสร้างก่ออิฐ สันนิษฐานว่าเป็นเจดีย์สมัยวัฒนธรรมทวารวดี ลักษณะของฐานล่างเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวด้านละ 9.8 เมตร บนฐานจัตุรัสประกอบด้วยอิฐก่อเหลื่อมออกมา และกำกับด้วยบัว มีร่องรอยให้เห็นว่าเหนือฐานบัวมีช่องซุ้มสี่เหลี่ยมก่อรอบองค์เจดีย์แบ่งออกเป็น ส่วน แต่ละส่วนทำเป็นมุขหรือกะเปาะยื่นออกมา ภายในซุ้มสี่เหลี่ยมบนฐานชั้นที่ ติดประดับลวดลาย ซึ่งแตกต่างจากโบราณสถานอื่นๆในเมืองคูบัวที่ในส่วนนี้มักประดับด้วยประติมากรรมรูปคนแคระหรือรูปสิงโต

การขุดแต่งเจดีย์องค์นี้ พบโบราณวัตถุที่ทำด้วยดินเผามากกว่าโบราณสถานแห่งอื่นๆอย่างเห็นได้ชัด ทั้งชิ้นส่วนพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ เทวรูป รวมทั้งประติมากรรมต่างๆ เช่น เศียรยักษ์ ศีรษะคนต่างชาติ (แขกหัวสิงโต ลวดลายประดับสถูป เป็นต้น

ผู้ขุดแต่งโบราณสถานหมายเลข 40 (สมศักดิ์ รัตนกุล 2504 : 33-34) ให้ความเห็นว่าโบราณวัตถุที่ขุดค้นได้จากเจดีย์องค์นี้มีจำนวนมาก เมื่อเทียบกับขนาดของฐานค์เจดีย์ที่ยาวด้านละ 9.8 เมตร อีกทั้งยังไม่เหมาะที่จะใช้ประดับประดาเจดีย์ขนาดเล็กเช่นนี้ จากลักษณะประติมากรรมดินเผา แสดงให้เห็นอิทธิพลของศิลปะคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 9-11) ที่ถ้ำอชันตา ประเทศอินเดีย

.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ (2547 : 112) ให้ความเห็นว่าการทำฐานยกเก็จหรือยกกระเปาะ ทำให้ผนังอาคารเกิดเป็นช่อง เกิดความสวยงาม และคงมีวัตถุประสงค์เพื่อการประดับงานประติมากรรมด้วย เจดีย์ที่มีการยกเก็จขึ้นที่มุมทั้งสี่ ทำให้เกิดลักษณะคล้ายๆกับเสาประดับมุม ลักษณะเช่นนี้อาจเปรียบเทียบได้กับงานสถาปัตยกรรมที่ร่วมสมัยกัน เช่น ปราสาทของศิลปะจามในระยะแรกๆ ที่เรียกว่า “กาลัน” และ “จันทิ” ในศิลปะชวากลาง หรือปราสาทขอมในสมัยก่อนเมืองพระนคร 

 

ผู้เรียบเรียงข้อมูล-ผู้ดูแลฐานข้อมูล

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล

บรรณานุกรม

ศักดิ์ชัย สายสิงห์ศิลปะทวารวดี วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทยกรุงเทพฯ เมืองโบราณ, 2547.

สมศักดิ์ รัตนกุลโบราณคดีเมืองคูบัวกรุงเทพฯ กรมศิลปากร (จัดพิมพ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ ว่าที่ ร..สมศักดิ์ รัตนกุล), 2535.

สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณสถานแห่งชาติที่ ราชบุรีคูบัว ความสัมพันธ์กับชุมชนทวารวดีในบริเวณใกล้เคียงกรุงเทพฯ กรมศิลปากร, 2541.