ถ้ำฝาโถ เขางู


โพสต์เมื่อ 18 มิ.ย. 2021

ชื่ออื่น : เขางู

ที่ตั้ง : ต.เกาะพลับพลา อ.เมืองราชบุรี

ตำบล : เกาะพลับพลา

อำเภอ : เมือง

จังหวัด : ราชบุรี

พิกัด DD : 13.575687 N, 99.774969 E

เขตลุ่มน้ำหลัก : แม่กลอง

เขตลุ่มน้ำรอง : คลองหนองใหญ่

เส้นทางเข้าสู่แหล่ง

ใช้ทางหลวงหมายเลข3087 (สายราชบุรี-จอมบึง-สวนผึ้งจากตัวจังหวัดราชบุรี ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 8กิโลเมตร เมื่อพบสามแยกก็เลี้ยวขวาแล้วไปอีกประมาณ กิโลเมตร จะพบอุทยานหินเขางูและสวนสาธารณะอยู่ด้านซ้ายมือ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนข้างสวนสาธารณะเขางู ไปอีกประมาณ 370 เมตร จะพบทางขึ้นสู่ถ้ำฝาโถอยู่ด้านขวามือ

ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว

เป็นแหล่งท่องเที่ยว

รายละเอียดทางการท่องเที่ยว

[ดู เทือกเขางู]

หน่วยงานที่ดูแลรักษา

เทศบาลตำบลเขางูกรมศิลปากร

การขึ้นทะเบียน

ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร

รายละเอียดการขึ้นทะเบียน

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 91 ตอนที่ 174หน้า 3776วันที่ 15 ตุลาคม 2517

ภูมิประเทศ

ถ้ำ/เพิงผา

สภาพทั่วไป

เป็นถ้ำหนึ่งในเทือกเขางู ซึ่งเป็นเขาหินปูน บริเวณที่เรียกว่าเขาลาดกล้วย อยู่ห่างจากถ้ำฤๅษีไปทางทิศตะวันตกประมาณ 260เมตร ตัวถ้ำอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 75 เมตร ปากถ้ำกว้างประมาณ 6.5 เมตร หันไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถ้ำลึกประมาณ25.3 เมตร

ปัจจุบัน มีการทำบันไดซีเมนต์จากเชิงเขาขึ้นสู่ปากถ้ำ และเทพื้นซีเมนต์บริเวณหน้าถ้ำรวมทั้งภายในถ้ำ นอกจากนั้นยังทำแท่นบูชาพระพุทธรูปภายในถ้ำด้วยซีเมนต์

ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

52 เมตร

ทางน้ำ

แม่น้ำแม่กลอง อยู่ห่างจากเทือกเขางูไปทางทิศตะวันออกประมาณ 4 กิโลเมตร และห่างออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 3.3 กิโลเมตร มีคลองหนองใหญ่ อยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันออกประมาณ 1.1 กิโลเมตร

สภาพธรณีวิทยา

[ดู เทือกเขางู]

ยุคทางโบราณคดี

ยุคประวัติศาสตร์

สมัย/วัฒนธรรม

สมัยทวารวดี, สมัยรัตนโกสินทร์, สมัยอยุธยา

อายุทางโบราณคดี

พุทธศตวรรษที่ 11-16, พ.ศ.1000-1600, พุทธศตวรรษที่ 22-24

ประวัติการศึกษา

ชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร

ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2517

วิธีศึกษา : สำรวจ

องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร

ผลการศึกษา :

แผนกสำรวจ กองโบราณคดี กรมศิลปากร สำรวจเพื่อขึ้นทะเบียนโบราณสถาน

ชื่อผู้ศึกษา : สุนิสา มั่นคง, ประคอง รักอู่, อรพินธุ์ การุณจิตต์

ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2538

วิธีศึกษา : สำรวจ

องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร

ผลการศึกษา :

วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2538 สุนิสา มั่นคง, ประคอง รักอู่ และอรพินธุ์ การุณจิตต์ สำรวจแหล่งโบราณคดีในจังหวัดราชบุรี รวมทั้งแหล่งโบราณคดีเทือกเขางู ทั้งถ้ำฤๅษี ถ้ำจีน ถ้ำจาม และถ้ำฝาโถ เพื่อจัดทำทะเบียนโบราณสถานในเขตหน่วยศิลปากรที่ 2

ประเภทของแหล่งโบราณคดี

ศาสนสถาน, แหล่งศิลปะถ้ำ

สาระสำคัญทางโบราณคดี

บนผนังถ้ำทางด้านทิศใต้มีภาพจำหลักรูปพระพุทธรูปไสยาสน์ขนาดใหญ่ (ยาว 8.75 เมตร สูง 1.85 เมตรสมัยทวารวดี หันพระเศียรไปทางปากถ้ำ หลังพระเศียรมีประภามณฑลเป็นแผ่นกลม เหนือประภามณฑลขึ้นไปเป็นภาพปูนปั้นรูปเทพชุมนุมและต้นไม้ ภาพต้นไม้ตกแต่งด้วยผ้าแขวนห้อยชายและรัดลำต้นด้วยวงแหวนประดับอุบะ ลักษณะของใบไม้เป็นแบบเดียวกัน คือ ใบสาละ จึงหมายถึงตอนเสด็จสู่ปรินิพพาน ซึ่งแวดล้อมด้วยเทพชุมนุม องค์ องค์แรกถือดอกบัว องค์ที่ เป็นรูปเทพพนม องค์ที่ ถือพวงมาลัย ส่วนองค์ที่ 4-7 เหลือแต่เศียร

ส่วนผนังถ้ำทางด้านทิศเหนือมีภาพพระสาวกจำนวน 4 องค์ มีบุคคลหนึ่งที่แสดงอาการเคลื่อนไหวแบบการเดินหรือเหาะ พระหัตถ์ไขว้กันแนบพระอุระ ซึ่งเป็นท่าแสดงความเคารพ (สวัสดิกะมุทราซึ่งการไขว้พระหัตถ์แบบนี้เหมือนกับพระนารายณ์ที่ถ้ำพระโพธิสัตว์ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี และเหมือนกับพระพุทธรูปยืนปางถวายเนตรที่วิหารคัล ศิลปะสมัยโปลนนารุวะของศรีลังกา ซึ่งสังเกตได้ว่ามีพระพุทธรูปปางปรินิพพานอยู่ในบริเวณเดียวกันด้วย (ศักดิ์ชัย สายสิงห์ 2547: 204)

การแสดงพระพุทธรูปนอนหันพระเศียรออกไปทางปากถ้ำ และมีเทพชุมนุมอยู่เหนือพระพุทธรูปนั้น ใกล้เคียงกันมากกับภาพในถ้ำหมายเลข 26 ที่อชันตา ประเทศอินเดีย ภาพในถ้ำหมายเลข 26 ที่อชันตา ประเทศอินเดีย (ศักดิ์ชัย สายสิงห์ 2547: 204;พิริยะ ไกรฤกษ์ 2553) ที่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 11 (พิริยะ ไกรฤกษ์ 2553) หรือพุทธศตวรรษที่12 (กองโบราณคดี กรมศิลปากร 2538) อย่างไรก็ตามในส่วนของเทพชุมนุมที่เป็นปูนปั้นนั้น อาจมาทำเพิ่มเติมขึ้นภายหลังในสมัยอยุธยาหรือรัตนโกสินทร์ก็ได้ โดยพิจารณาจากรูปแบบศิลปกรรม (ศักดิ์ชัย สายสิงห์ 2547: 204) และอาจแสดงให้เห็นว่านิกายเถรวาทของทวารวดีได้รับเอาประติมานิรมาณวิทยาของลัทธิมหายานเช่นที่อชันตามาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับคตินิยมของตน ที่มีอายุอยู่ในช่วงครี่งหลังพุทธศตวรรษที่ 13 (พิริยะ ไกรฤกษ์ 2553)

นอกจากนี้ ภายในถ้ำยังพบชิ้นส่วนพระพุทธรูปหินทรายสีแดงจำนวนมาก ส่วนบริเวณปากถ้ำมีร่องรอยของโครงหลังคามุงกระเบื้องดินเผาและแนวกำแพงก่ออิฐถือปูน ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นโบราณวัตถุและสถาปัตยกรรมในสมัยอยุธยา

ผู้เรียบเรียงข้อมูล-ผู้ดูแลฐานข้อมูล

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล

บรรณานุกรม

 

กรมทรัพยากรธรณี. การจำแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดราชบุรี. กรุงเทพฯ: บริษัท แอดวานซ์ วิชั่น เซอร์วิส จำกัด, 2551.

กรมศิลปากร. ราชบุรี. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2534.

สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 1 ราชบุรี กรมศิลปากร. คูบัว: ความสัมพันธ์กับชุมชนทวารวดีในบริเวณใกล้เคียง.กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์สมาพันธ์ จำกัด, 2541.

กองโบราณคดี กรมศิลปากร. ทะเบียนโบราณสถานในเขตหน่วยศิลปากรที่ 2. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2538.

เกสรา จาติกวนิช. “พุทธประวัติในประติมากรรมทวารวดี.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545.

ชะเอม แก้วคล้าย. “จารึกถ้ำฤาษีเขางูเมืองราชบุรี.” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 1: อักษรปัลลวะ หลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ 12-14, 68-71. กรุงเทพฯ: หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529.

เชษฐ์ ติงสัญชลี. “ศิลปะทวารวดี.” ใน ความก้าวหน้าในการศึกษาโบราณคดีและเมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดี, 39-43.สุพรรณบุรี : สำนักงานศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี กรมศิลปากร, 2546.

เด่นโชค มั่นใจสภาพทางธรณีวิทยาและการสำรวจความมั่นคงของหน้าผาหินบริเวณเขางู ตำบลเขางู อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรีสำนักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี, 2550.

พิริยะ ไกรฤกษ์. ทวารวดีและศรีวิชัยในทัศนะของนักประวัติศาสตร์ศิลปะ. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ., 25--?.

พิริยะ ไกรฤกษ์. รากเหง้าแห่งศิลปะไทย. กรุงเทพฯ: ริเวอร์บุ๊คส์, 2553.

พิริยะ ไกรฤกษ์. อารยธรรมไทย: พื้นฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะ เล่ม 1 ศิลปะก่อนพุทธศตวรรษที่ 19. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2544.

ผาสุข อินทราวุธ. ทวารวดี: การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสมัย, 2542.

ยอร์ช เซเดส์. “หลักที่ 22 จารึกถ้ำฤาษีเขางูเมืองราชบุรี.” ใน ประชุมศิลาจารึกสยาม ภาคที่ 2: จารึกกรุงทวารวดี เมืองละโว้ และประเทศราชขึ้นแก่กรุงศรีวิชัย, 35. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิพรรฒนากร, 2472.

ยอร์ช เซเดส์. “จารึกที่ 22 จารึกในถ้ำฤษี เขางู.” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 2: จารึกทวารวดี ศรีวิชัย ละโว้ = Recueil des inscriptions du Siam deuxieme partie: inscriptions de Dvaravati, de Crivijaya et de Lavo, 20.กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2504.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. “การแบ่งยุคสมัยของงานประติมากรรมสมัยทวารวดี.” ใน ความก้าวหน้าในการศึกษาโบราณคดีและเมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดี, 35-38. สุพรรณบุรี: สำนักงานศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี กรมศิลปากร, 2546.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี: วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, 2547.

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ตำนานพุทธเจดีย์สยาม. พระนคร: โรงพิมพ์โสภรณพิพรรฒธนากร, 2469.

สุภัทรดิศ ดิศกุล. “วิวัฒนาการของประติมากรรมสมัยทวารวดี.” วารสารโบราณคดี 5, 2 (ตุลาคม 2516): 195-207.

de Lajononquiere, M.L. “Le domaine archaéologique de l'Indochine.” Bulletin de la archaéologiue de l'Indochine(1909), 188-262.

de Lajononquiere, M.L. “Essai d'inventaire archaéologique du Siam.” Bulletin de la archaeologiue de l'Indochine (1911-1912), 19-181.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ภาพเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดี