ถ้ำเขาเทียมป่า


โพสต์เมื่อ 15 ม.ค. 2022

ชื่ออื่น : เขาเทียมป่า

ที่ตั้ง : ม.8 บ้านหนองครก ต.หนองปรือ อ.รัษฎา

อำเภอ : รัษฎา

จังหวัด : ตรัง

พิกัด DD : 7.914705 N, 99.67632 E

เขตลุ่มน้ำหลัก : ตรัง

เส้นทางเข้าสู่แหล่ง

จากอำเภอห้วยยอดใช้ถนนพิศาลสีมารักษ์ ขับตรงไปเล็กน้อยข้ามทางรถไฟ เลี้ยงซ้ายไปตามถนนห้วยยอด-หนองบัว(4270)  ตรงไประยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร  มีทางแยกเลี้ยวขวาตามป้ายบอกทางเข้า เขาเทียมป่า

ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว

เป็นแหล่งท่องเที่ยว

รายละเอียดทางการท่องเที่ยว

ปัจจุบันเป็นสำนักสงฆ์เขาเทียมป่า ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปเป็นที่สักการะของชาวบ้านในแถบนั้น

หน่วยงานที่ดูแลรักษา

สำนักสงฆ์เขาเทียมป่า

การขึ้นทะเบียน

ไม่ขึ้นทะเบียน

ภูมิประเทศ

ถ้ำ/เพิงผา, ภูเขา

สภาพทั่วไป

เขาเทียมป่าเป็นภูเขาหินปูนขนาดเล็กมียอดเขาสูงจากพื้นราบประมาณ 30-40 เมตร ภายในประกอบด้วยถ้ำหลายขนาดทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ บางถ้ำมีแสงสว่างส่องถึง และบางถ้ำเป็นพื้นที่ที่เหมาะกับการอยู่อาศัยหรือหลบภัย ในอดีตเคยมีการขุดพื้นดินถ้ำโดยขุดลึกลงไปราว 1-1.50 เมตร  นำดินไปใส่ไร่นาเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยขุดลึกไปราวเมตรหรือเมตรเศษ แหล่งโบราณคดีในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์ (กรมศิลปากร 2556)

ทางน้ำ

แม่น้ำตรัง

สภาพธรณีวิทยา

เขาเทียมป่าเป็นภูเขาหินปูนขนาดเล็กมียอดเขาสูงจากพื้นราบประมาณ 30-40 เมตร เป็นหินปูนในหมวดหินรังนก ยุคออร์โดวิเชียน (Ordovician Period อายุประมาณ 505-438 ล้านปี)

ยุคทางโบราณคดี

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

สมัย/วัฒนธรรม

สมัยหินใหม่

อายุทางโบราณคดี

3,000-2,000 ปีมาแล้ว

ประวัติการศึกษา

ชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร

ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2548

วิธีศึกษา : สำรวจ

องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร

ผลการศึกษา :

กรมศิลปากรได้เข้าไปสำรวจเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2548

ประเภทของแหล่งโบราณคดี

แหล่งอยู่อาศัย

สาระสำคัญทางโบราณคดี

ข้อมูลจากกรมศิลปากร (2556) ระบุว่า จากคำบอกเล่าของชาวบ้าน ทราบชื่อว่า “เขาเทียมป่า” มีชื่อมาจากภูเขาที่มีความสูงไม่มากเทียบได้กับความสูงของต้นไม้ขนาดใหญ่หรือความสูงของป่า 

พบหลักฐานทางโบราณคดีของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่ มีอายุราว 2,000-3,000 ปี  โดยหลักฐานที่สำคัญคือหม้อ 3 ขา ซึ่งเริ่มต้นค้นพบในประเทศจีน ที่มณฑลซานสี มณฑลเหอหนาน จัดอยู่ในวัฒนธรรมหินใหม่ของจีน เรียกว่า “วัฒนธรรมหยางเชา”(Yang Shao) มีอายุประมาณ 7,000ปีมาแล้ว นิยมทำภาชนะให้มีสีออกแดง เขียนสี และเคลือบผิว และวัฒนธรรมลุงชาน ซึ่งเจริญอยู่ที่แมนจูเรียไปจนถึงมณฑลเหอเป่ย นิยมทำหม้อสามขา สีดำขัดมัน มีลวดลายขูดขีด ซึ่งสัมพันธ์กันกับหม้อสามขาของไทยที่บ้านเก่า กาญจนบุรี และในภาคใต้ เช่นถ้ำกาชี ตำบลบ้านยาง อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฏร์ธานี,  เขาแอน ตำบลนบพิตำ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช, เขาปินะ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง , เขารังเกียรติ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา , เพิงผาหน้าชิง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เป็นต้น โดยภาชนะดินเผาแบบหม้อสามขาที่พบที่เขาเทียมป่านี้ ได้พบเป็นจำนวนหลายชิ้นและพบร่วมกับขวานหินขัดและกระดูกสัตว์ เป็นหลักฐานที่แสดงถึงกิจกรรมของมนุษย์สมัยหินใหม่ สังคมเกษตรกรรม อาศัยอยู่ในถ้ำ ประกอบอาชีพเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และล่าสัตว์เป็นอาหาร (กรมศิลปากร 2556)

หลักฐานโบราณคดีที่สำคัญที่พบจากการสำรวจเขาเทียมป่าได้แก่

-          ขวานหินขัดแบบไม่มีบ่า

-          ขวานหินขัดแบบมีบ่า

-          เศษภาชนะดินเผาประเภท Earthenware ทั้งผิวเรียบขัดมัน และตกแต่งด้วยลายกดประทับ ลายเซาะร่อง เป็นต้น ฐานภาชนะทรงพาน และขาภาชนะดินเผาแบบหม้อสามขาซึ่งภายในกลวง เจาะรูที่ต้นขา ปลายขาตัดตรง

-          เศษกระดูกสัตว์หลายชิ้น 

ผู้เรียบเรียงข้อมูล-ผู้ดูแลฐานข้อมูล

เพลงเมธา ขาวหนูนา

บรรณานุกรม

กรมศิลปากร. "เขาเทียมป่า" ระบบภูมิสารสนเทศ แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 16 สิงหาคม 2556. เข้าถึงจาก http://gis.finearts.go.th/fineart/

ข่าวที่เกี่ยวข้อง