ฐานข้อมูลนักสังคมวิทยาและนักมานุษยวิทยาไทย


แหล่งรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลบุคลากรในแวดวงสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาไทย รวมถึงสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนักวิชาการอาวุโสที่มีคุณูปการต่อการศึกษามานุษยวิทยาไทย คณาจารย์ในสถาบันการศึกษา นักวิชาการและนักวิจัยประจำสถาบันวิชาการ ตลอดจนนักวิชาการอิสระ

| | | ฆ | | | | | ซ | ฌ | ญ | ฎ | ฎ | | ฑ | ฒ | | | | ถ | | | | | | | ฝ | | | | | | | ล | | | ษ | | | ฬ | | ฮ | ทั้งหมด

อคิน รพีพัฒน์

ร้อยตำรวจเอก รองศาสตราจารย์ ดร.หม่อมราชวงศ์อคิน รพีพัฒน์ อดีตอาจารย์ประจำที่คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยขอนแก่น และเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการสร้างสรรค์และพัฒนาชุมชน สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ศรีศักร วัลลิโภดม

อาจารย์ศรีศักรสนใจศึกษาแหล่งโบราณคดีในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสาน สามารถเขียนบทความและบรรยายได้อย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับความเป็นมาของชุมชนในแอ่งอารยธรรมแห่งนี้ โดยใช้การแบ่งเขตตามสภาพภูมิศาสตร์ที่สัมพันธ์กับลักษณะทางวัฒนธรรม และยังมีผลงานที่ได้รับการจัดพิมพ์อีกเป็นจำนวนมากเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โบราณคดี และมานุษยวิทยา

อานันท์ กาญจนพันธุ์

อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีความสนใจและเชี่ยวชาญด้านมานุษยวิทยาเศรษฐกิจ ทฤษฎีสังคมและการพัฒนา การจัดการทรัพยากรและการพัฒนา ระบบกรรมสิทธิ์และการถือครองที่ดิน ชาติพันธุ์วิทยา ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและสังคมชนบท ฯลฯ

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์

ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) สนใจประเด็นวิชาการด้านมานุษยวิทยาการแพทย์ และการศึกษาชุมชน ผลงานของ ดร.โกมาตร ก่อให้เกิดการผนวกรวมมุมมองทางมานุษยวิทยาเข้ากับการพัฒนานโยบายและการดำเนินงานด้านสุขภาพ หนึ่งในผลงานวิชาการที่สำคัญ คือ เครื่องมือ 7 ชิ้น ที่ทำให้งานชุมชนง่าย ได้ผลและสนุก

สุเทพ สุนทรเภสัช

ผศ.ดร.สุเทพ สุนทรเภสัช นักมานุษยวิทยาคนสำคัญของวงการมานุษยวิทยาไทย มีผลงานที่สำคัญ อาทิ ทฤษฎีชาติพันธุ์สัมพันธ์ รวมบทความทางทฤษฎีเกี่ยวกับอัตลักษณ์ เชื้อชาติ กลุ่มชาติพันธุ์ การจัดการองค์กรความสัมพันธ์ และรัฐประชาชาติ (2555), ทฤษฎีมานุษยวิทยา: พัฒนาการมโนทัศน์พื้นฐานและทฤษฎีทางสังคมวัฒนธรรม (2553)

ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ

อดีตอาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญในประเด็นเรื่องชาติพันธุ์ มานุษยวิทยานิเวศน์, การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ฯลฯ

ฉลาดชาย รมิตานนท์

อาจารย์ฉลาดชาย รมิตานนท์ จบการศึกษาด้าน Cultural Anthropology จาก Cornell University สหรัฐอเมริกา เป็นผู้บุกเบิกและผลักดันแนวคิดด้านสตรีศึกษาในประเทศไทย ผลงานที่สำคัญ อาทิ มานุษยวิทยากับการศึกษาการเมือง, มนุษย์: วัฒนธรรม อำนาจและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

พัทยา สายหู

ศาตราจารย์ ดร.พัทยา สายหู เป็นผู้ผลักดันให้ก่อตั้ง สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกทั้งทำให้องค์ความรู้วิชาการด้านสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาได้เป็นที่รู้จักมากขึ้น อาทิ เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งศูนย์วิจัยสังคมศาสตร์เพื่อวิจัยสังคมชนบทภาคกลาง เพื่อชี้ให้เห็นถึงผลกระทบของสังคมชนบทไทยจากสนธิสัญญาเบาริ่ง...

ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล

อดีตอาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) มีความสนใจในประเด็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมพื้นบ้าน ศิลปหัตถกรรม ชาติพันธุ์ และพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น