สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์

อดีตผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) มีผลงานที่น่าสนใจหลายชิ้น เช่น ทางสายใหม่แห่งวรณณกรรมไทย: ทัศนะวิจารณ์ต่อนวนิยายยุคแรก (บรรณาธิการ), 13 ชนเผ่าในลาวตอนใต้, พระอภัยมณี: การศึกษาในเชิงวรรณคดีวิจารณ์

1106 views


ประวัติส่วนตัว/ประวัติการทำงาน

สำเร็จการศึกษาอักษรศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 2 และอักษรศาสตรมหาบัณฑิตสาขาภาษาและวรรณคดีไทย จุฬาฯ และ M.A. (Anthropology) มหาวิทยาลัยคอร์แนล สหรัฐอเมริกา เริ่มรับราชการเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาภาษาไทย ศาสตราจารย์รับเชิญของมหาวิทยาลัยโอซากา ประเทศญี่ปุ่น และผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) มีผลงานเขียนทั้งตำราการใช้ภาษาไทย วรรณคดีไทย บทวิจารณ์หนังสือ ผลงานวิจัยสาขามานุษยวิทยาวัฒนธรรมเกี่ยวกับชาติพันธุ์ บทความวิชาการต่างๆ และงานบรรณาธิการหนังสือ รวมทั้งผลงานเขียนนิทานซึ่งได้รับรางวัลหนังสือสำหรับเด็กจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือฯ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ รวม 3 ครั้ง

ในด้านภาษาและวรรณกรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุวรรณา ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ในปี พ.ศ.2538-2540 เป็นกรรมการคัดเลือกและกรรมการตัดสินรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน กรรมการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติและศิลปาธร เป็นกรรมการในคณะกรรมการสาขาวรรณกรรมและมานุษยวิทยาของราชบัณฑิตยสถาน กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาปรัชญา วิทยากรพิเศษของสถาบันภาษาไทยสิรินธร แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับยกย่องเป็นครูภาษาไทยดีเด่น ระดับอุดมศึกษา จากกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นและปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย จากกระทรวงวัฒนธรรม

ประวัติการศึกษา

M.A. (Anthropology) มหาวิทยาลัยคอร์แนล สหรัฐอเมริกา

ปริญญาโท สาขาวิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
ผลงานวิชาการที่สำคัญ

บรรณานุกรม[1]

วิทยานิพนธ์

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2518). พระอภัยมณี : การศึกษาในเชิงวรรณคดีวิจารณ์. บัณฑิตวิทยาลัย,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ตำรา (หนังสือและบทความ)

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์.(2515).“วิถีชีวิตในสังคมไทย” ใน อารยธรรมไทย. กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ และเพิ่มทิพย์ บัวเพ็ชร์. (2515). “การแสดงออกทางทัศนศิลป์” ใน อารยธรรมไทย. กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ อารดา กีระนันท์ และธานีรัตน์ จัตุทะศรี. (2515). “การร้องรำในสังคมไทย” ใน อารยธรรมไทย. กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2516)“การพูด” ใน การใช้ภาษา. กรุงเทพฯ : ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2532). เอกสารการสอนชุดวิชา 11112 ศิลปะ การละเล่นและการแสดงพื้นบ้านของไทย. 2 เล่ม. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2535).“การเปลี่ยนแปลงของศิลปวัฒนธรรม” เอกสารการสอนชุด ไทยกับการปรับประเทศให้ทันสมัย (หน่วยที่ 11). นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์, ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา และนลินี ทองศรีพงศ์. (2538).ประวัติวรรณคดี 1 ท 031. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภาฯ.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2548). “พระอภัยไม่เคยเสวยเหล้า” ในภาษา-จารึก 10, กุสุมา รักษมณี, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. 2548. “เปิงซงกรานตำนานข้าวแช่ใน หนังสือเรียนภาษาและวรรณคดีไทย ชั้นมัธยม

3. กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2549). “เทศกาลทิ้งกระจาด สุพรรณบุรี”ใน ช้างป่าต้นคนสุพรรณ. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพนางนงนุช เกรียงไกรเพ็ชร์. กรุงเทพฯ.

บทความ

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2522). “อุสสา-บารส” เมืองโบราณ. ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (ตุลาคม-พฤศจิกายน).

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2526). “การะเกด” ใน สยามปกรณัม, สุดารา สุจฉายา, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ.

ล้อม เพ็งแก้ว, สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ และภิญโญ ศรีจำลอง. (2529). โคตรญาติ "สุนทรภู่". กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2534). “เทศกาลร้องเพลงของชาวจ้วงที่อู่หมิง” เมืองโบราณ ปีที่ฉบับที่

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2543).“เปิงซงกราน-ตำนานข้าวแช่” ใน อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพพระครูสมุทรวราภรณ์ ป.ธ.๓ (วารี จนฺทปุตฺโต). สมุทรปราการ : คณะสงฆ์อำเภอพระประแดง.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2543). “ตำนานพระธาตุพนม”ใน อนุสรณ์งานศพ

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2551).“เรื่องเล่าสู่ลูกหลาน จากบ้านสู่เมือง” ใน ศิริพร ศรีสินธุ์อุไร, บรรณาธิการ. พิพิธภัณฑ์ภาคสนาม : ประสบการณ์จากคนลองทำ. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์.(2552). “การวิจารณ์ในฐานะปรากฏการณ์ร่วมสมัย,” ใน ปากไก่ ฉบับ "วาระการอ่านแห่งชาติ". กรุงเทพฯ : สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2554). “ภาษาไทยคือหัวใจของความเป็นไทย” ใน ยารัก (ภา) ษาไทย. ศุกร์สร้าง ล้านนาเสถียร, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : ณ เพชร.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2556).“ภาษากับอาเซียน” ใน อาเซียนศึกษา, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และกาญจนี ละอองศรี, บรรณาธิการ.สมุทรปราการ : มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2560).“จดหมายถึงบรรณาธิการ” ใน อ่านคิดเขียน : รวมบทวิจารณ์วรรณกรรมของนักเรียนวรรณกรรม, หัตถกาญจน์ อารีศิลป, บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2561). “พิพิธภัณฑ์บ้าน : มุมมองของผู้ชม” ใน ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ(บรรณาธิการ), พิพิธภัณฑ์บ้าน :คุณค่าและความหลากหลาย. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. “ควายกับเสือ : นิทานในสังคมเกษตรกรรม” วารสารภาษาและวรรณคดีไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2561) “นิทานกำเนิดมนุษย์และเผ่าพันธุ์ของชนเผ่าในแขวงเซกอง สปป. ลาว”

Myth of Origin of the Ethnic Groups inSekong Province , LaoPDR. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บรรณาธิการ

ชลธิรา กลัดอยู่ และสุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์, บรรณาธิการ. (2516).กรอง ภาษาและวรรณกรรม : ประชุมบทความเชิงวิชาการ. กรุงเทพฯ : ชุมนุมวิชาการอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ และสุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา, บรรณาธิการ. (2532). ทอไหมในสายน้ำ : ประวัติวรรณคดีวิจารณ์ไทย พ.ศ. 2325-2525. กรุงเทพฯ : ปาจารยสาร.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์, บรรณาธิการ. (2533).นักเขียนอเมริกันผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม. วาร์เร็น จี เฟรนซ์ และวอลเตอร์ อี คิดด์, ผู้รวบรวม. กรุงเทพฯ : ดวงกมล.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์, บรรณาธิการ.(2535).น.ม.ส.กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์, บรรณาธิการ. (2545). พลังการวิจารณ์ : รวมบทวิจารณ์ร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : คมบาง,

เจตนา นาควัชระ และสุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์, บรรณาธิการ.(2546). ศิลป์ส่องทาง : รวมบทความวิชาการ. กรุงเทพฯ : คมบาง.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์, บรรณาธิการ. (2547). มองข้ามบ่านักเขียน : เรื่องสั้นไทยในทัศนะนักวิจารณ์. กรุงเทพฯ : ชมนาด.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์, บรรณาธิการ. (2548). ทางสายใหม่แห่งวรรณกรรมไทย : ทัศนะวิจารณ์ต่อนวนิยายยุคแรก. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์, บรรณาธิการ. (2552).ลบเส้นพรมแดนแห่งศิลปะ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์, บรรณาธิการ. (2552). มานุษยวิทยาปะทะวัฒนธรรมศึกษา : รวมบทความจากการประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยา ครั้งที่ 7 ยกเครื่องเรื่องวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์, บรรณาธิการ. (2552).ประวัติศาสตร์ในมิติวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์, บรรณาธิการ. (2553).ผู้คน ดนตรี ชีวิต : รวมบทความและบทเสวนาจากการประชุมประจำปี ครั้งที่ 8. 2 เล่ม. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

หนังสือ

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2532). บารมีสิบทัศ. กรุงเทพฯ : ปลาตะเพียน.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ และคณะ. (2532). ปางบรรพ์ : ตำนานและนิทานประวัติศาสตร์แห่งสยามประเทศ. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2549).ช้างป่าต้น คนสุพรรณ. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพนางนงนุช เกรียงไกรเพ็ชร์ ณ เมรุ วัดพระศรีมหาธาตุ 27 พฤษภาคม 2549 : กรุงเทพฯ.

หนังสือชุด ปัญญาสชาดก (ประกอบภาพ) สำหรับเด็ก

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2532). สิรสาเนื้อทอง จากเรื่อง สุวรรณสิรสาชาดก. กรุงเทพฯ : ปลาตะเพียน.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2532). ลูกแก้ว จากเรื่อง รัตนปโชตชาดก. กรุงเทพฯ : ปลาตะเพียน.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2532). พราหมณ์ขี้อิจฉากับพระราชาหูเบา จากเรื่อง ทุลกบัณฑิตชาดก. กรุงเทพฯ : ปลาตะเพียน.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์.(2532). ทดสอบสหาย จากเรื่อง ทุกัมมานิกชาดก. กรุงเทพฯ : ปลาตะเพียน.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2532). เต่าทองกับพ่อค้า จากเรื่อง สุวรรณกัจฉปชาดก. กรุงเทพฯ : ปลาตะเพียน.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2532). จันทกุมาร จากเรื่อง จันทราชชาดก. กรุงเทพฯ : ปลาตะเพียน.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2533). เมืองทอง จากเรื่อง กนกวรรณชาดก. กรุงเทพฯ : ปลาตะเพียน.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2533). เต่าน้อยกับตายาย จากเรื่อง สุวรรณกัจฉปชาดก. กรุงเทพฯ : ปลาตะเพียน.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2533). สองสหาย. กรุงเทพฯ : ปลาตะเพียน.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2533). แม่โคกับเสือโคร่ง : จากเรื่อง พหลาคาวีชาดก. กรุงเทพฯ : ปลาตะเพียน.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2533). หงส์ทองสองหัว. กรุงเทพฯ : ปลาตะเพียน.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2539). ท้าวอู่ทอง. กรุงเทพฯ : ปลาตะเพียน.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2539). อุสา-บารส. กรุงเทพฯ : ปลาตะเพียน.

หนังสือและบทความ (งานวิจัยและงานประชุมทางวิชาการ)

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์.(2535). เยือนถิ่นเย้า : มณฑลกวางสี ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน. กรุงเทพฯ :

โครงการวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเย้าไทยและเย้าจีน หน่วยปฏิบัติการวิจัยทางภาษาศาสตร์ คณะอักษร

ศาสตร์ จุฬาฯ.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2541).“สถานภาพไทดำศึกษา” ใน ไทดำ : จากสิบสองจุไท ผ่านลาว สู่ภาคกลางของประเทศไทย, การประชุมวิชาการ วันที่ 12-13 กุมภาพันธ์ 2541 ณ ห้องประชุมจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ อาคารประชาธิปกรำไพพรรณี ชั้น 4 จุฬาฯ.กรุงเทพฯ : สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2541). ความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่มีเอกภาพของแขวงเซกอง. กรุงเทพฯ : โครงการวิจัยภาษาและวัฒนธรรมของชนเผ่าในแขวงเซกอง สปป.ลาวเพื่อเป็นความรู้พื้นฐานในการวางแผนวิจัยและพัฒนาแขวงเซกอง, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2541). “วรรณกรรมมุขปาฐะ: ภาพสะท้อนปฏิสัมพันธ์ระหว่างชนเผ่า.” ใน ภาษาและหนังสือ ฉบับที่ 29 กรุงเทพฯ : สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์.(2542). “ความขัดแย้งทางค่านิยมที่ปรากฏในเรื่องสั้นไทยสมัยพัฒนาเศรษฐกิจ (พ.ศ.2493-2530)” ใน ภาษาและหนังสือ ฉบับพิเศษ รวมบทความว่าด้วยเรื่องสั้นไทย พ.ศ.2475-2540, เฉลิมพระเกียรติฉลองพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542. กรุงเทพฯ : สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2542). “ฟุเฮยเซ้ยหมุ่ย : ตำนานกำเนิดมนุษย์ของชาวเย้า” ใน คติชนกับคนไทย-ไท : รวมบทความทางคติชนวิทยาในบริบททางสังคม,ศิริพร ณ ถลาง และสุกัญญา ภัทราชัย, บรรณาธิการ.กรุงเทพฯ : โครงการตำราคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2542). “แปงฮีตกินควาย : ประเพณีและชีวิต” บทความวิจัยเสนอในการประชุมวิชาการ

เรื่อง ภาษาและวัฒนธรรมของ 13 ชนเผ่าในแขวงเซกอง ประเทศ สปป. ลาว ณ สถาบันไทยศึกษา จุฬาฯ

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2544). 13 ชนเผ่าในลาวตอนใต้.3 เล่ม. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์.(2545). “พระอภัยไม่เคยเสวยเหล้า” บทความเสนอในการประชุมทางวิชาการ เรื่อง วรรณคดีมรดกของไทย, มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดเนื่องในโอกาสเกษียณอายุราชการของ ศาสตราจารย์ ดร. กุสุมา รักษมณี.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2549). พระอภัยมณี : การศึกษาในเชิงวรรณคดีวิจารณ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ศยาม.

สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์. (2549). “นิทานจ้วงและไทย : วิถีชีวิต วิถีวัฒนธรรม” ใน ใต้ฟ้าเมษายน หอมรสกวีท่ามกลางมวลบุปผาตระการตา : บันทึกเหตุการณ์ในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเสด็จฯเยือนมหาวิทยาลัยชนชาติกว่างซี. หรงเปิ่นเจี้น, บรรณาธิการ. ฝาง อิง, ฉิน ซิ่วหง, โหยว ฮุยฉ่าย และรุ่งเรือง วชิรลาภไพฑูรย์, ผู้แปล. กว่างซี, สาธารณรัฐประชาชนจีน : มหาวิทยาลัยชนชาติกว่างซี.

Bibliography(in English)

Suvanna Kriengkraipetch. (1988). “Folksong and Socio-cultural Change in Village Life” In Asian Review, 2, pp.111-131.

Suvanna Kriengkraipetch.(1989). “Thai folk beliefs about animals and plants and attitudes toward nature” In Culture and environment in Thailand: a symposium of the Siam Society.Siam Society (eds.). Bangkok: Siam Society under Royal Patronage.

Suvanna Kriengkraipetch. (1992).“Status of Thai women: past, present and future” In Report, first national assembly on women in development in the year of Thai women 1992, 1-2 March 1992, Imperial Hotel, Bangkok.Bangkok: National Commission on Women's Affairs, Office of the Permanent Secretary, Office of the Prime Minister.

Suvanna Kriengkraipetch and Larry E. Smith. (1992). Value Conflicts in Thai Society. Bangkok: Chulalongkorn University Social Research Institute.

Suvanna Kriengkraipetch. (1993). “Women/Warriors: Dual Images in Modern Thai Literature” In Significant Others: gender and culture in film and literature, East and West : selected conference papers. William Burgwinkle, Glenn Man and Valerie Wayne (eds.). Hawaii: University of Hawaii.

Suvanna Kriengkraipetch. (1995). “Characters in Thai Literary Works : 'Us' and 'The Others” in Thai

Literary Traditions : Classical and Regional Literature in Thailand. London : SOAS , University of

London.

Suvanna Kriengkraipetch. (1996).“ The Zhuang Singing Festival in Wuming” in Collection of papers on the relationship between the Zhuang and the Thai, PraneeKullavanijaya et al. Bangkok: Chulalongkorn University.



[1]สืบค้นจากข้อมูลของ สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, จาก https://www.car.chula.ac.th/, สืบค้นวันที่ 20 มกราคม 2562; หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, จาก https://library.tu.ac.th/, สืบค้นวันที่ 20 มกราคม 2562; ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, จาก https://www.sac.or.th/library/, สืบค้นวันที่ 20 มกราคม 2562.

ผลงานวิชาการ (PDF)ดาวน์โหลด
ผู้เผยแพร่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
รูปแบบลิขสิทธิ์สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons)
ผู้จัดทำศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)