อานันท์ นาคคง

เริ่มต้นชีวิตการเป็นอาจารย์สอนวิชาดนตรีที่คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2535 ต่อมาได้ไปสอนที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำที่คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รับผิดชอบวิชาด้านมานุษยดุริยางควิทยา ได้ทำหน้าที่ครูดนตรี สร้างแรงบันดาลใจให้ความรู้และบ่มเพาะบุคลากรทางด้านดนตรีให้กับประเทศไทยจำนวนมาก

1009 views


ประวัติส่วนตัว/ประวัติการทำงาน

พ.ศ. 2535 - 2544 อาจารย์ประจำ ภาควิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามเงื่อนไขสัญญาการรับทุนการศึกษาปริญญาขั้นสูง รับผิดชอบวิชา ทฤษฎีดนตรีไทย 1-2, ดนตรีโลก, ดนตรีพื้นบ้าน 1-2, วรรณคดีดนตรีไทย และ การสอนเครื่องดนตรีไทย

พ.ศ. 2544 - 2549 อาจารย์ประจำ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับผิดชอบวิชาดนตรีวิทยา, ดนตรีตะวันออก, ดนตรีโลก, การประพันธ์เพลงไทย และ ดนตรีประกอบการแสดง

พ.ศ. 2550 งานพัฒนาห้องสมุดดนตรีดิจิตอล หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและหอสมุดดนตรีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี

พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน อาจารย์ประจำ คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รับผิดชอบวิชา มานุษยวิทยาดนตรีเบื้องต้น, ดนตรีโลก, ดนตรีอาเซียน, ทฤษฎีและแนวคิดด้านมานุษยวิทยาดนตรี, การศึกษาภาคสนามทางมานุษยวิทยาดนตรี และดนตรีวิจารณ์

ประวัติการศึกษา

พ.ศ. 2530 ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทอง) สาขาดุริยางคศิลป์ไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2535 M.Phil in Ethnomusicology, School of Oriental and African Studies ณ University of London โดยได้รับทุนการศึกษาปริญญาขั้นสูง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หน่วยงานที่สังกัดปัจจุบันคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
อีเมลnarkkong_a@silpakorn.edu
ประเด็นการศึกษาที่เชี่ยวชาญ/สนใจEthnomusicology
ผลงานวิชาการที่สำคัญ

งานวิจัยและบทความทางวิชาการ

ปีพ.ศ. 2541

- General Observation on Traditional Music in Modern Thai Society, Cultures in ASEAN and the 21st Century, 1998 หน่วยงาน องค์การ: UniPress, The Centre of the Arts, National University of Singapore, บทบาท: นักวิจัย-ผู้เขียน

ปีพ.ศ. 2545

- งานวิจัยเรื่อง ชีวิตและผลงานของนักดนตรีและดุริยกวีคนสำคัญของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ หน่วยงาน/องค์การ: ทุนวิจัยจากสภาวิจัยแห่งชาติ, บทบาท: นักวิจัย

ปีพ.ศ. 2546

- The Central Region, The Tuning System of Folk Music in Thailand, Sonic Orders in ASEAN Music - A Field and Laboratory Study of Musical Cultures and Systems in Southeast Asia, 2003 หน่วยงาน/องค์การ: ทุนวิจัยอาเซียนSonic Order Project ประเทศสิงคโปร์ National University of Singapore, บรรณาธิการ Joe Peters [Singapore] : ASEAN Committee on Culture and Information, 2 volumes (xxiv, 723 pages) : illustrations, maps, music ; 24 cm + 10 audio discs บทบาท: นักวิจัย - ผู้เขียน

ปีพ.ศ. 2547

- บทความ “Xylophone Strikes Back: the Recovery of Thai Music in Context of Globalization” หน่วยงาน/องค์การ: International Conference on “Traditional Music in Globalization Context” Hanoi, Vietnam, 2004, บทบาท: ผู้เสนอผลงาน

ปีพ.ศ. 2548

- “Overview of Thai Music” SPAFA Seminar: between Tradition and Trend -Documenting Southeast Asian Music, 2005 บทบาท: ผู้รวบรวมข้อมูลด้านสารคดีดนตรีไทย

ปีพ.ศ. 2549

- จดหมายเหตุดนตรี 5 รัชกาล พุทธศักราช 2411-2549 ประวัติศาสตร์เหตุการณ์และบุคคลสำคัญทางดนตรีของไทยตั้งแต่เริ่มรัชสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พุทธศักราช 2411 จนถึงรัชกาลที่ 9 พุทธศักราช 2549 ความยาวทั้งสิ้น 1,300 หน้า ร่วมเขียนโดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล เสถียร ดวงจันทร์ทิพย์ อานันท์ นาคคง อัษฎาวุธ สาคริก สำนักพิมพ์เดือนตุลาคม หน่วยงาน/องค์การ: มูลนิธิสยามกัมมาจล และมูลนิธิหลวงประดิษฐ ไพเราะ, บทบาท: คณะผู้เรียบเรียง

ปีพ.ศ. 2553

- เส้นทางสายมานุษยวิทยาดนตรีในประเทศไทย, ผู้คน ดนตรี ชีวิต เล่ม 1 หนังสือรวมบทความและบทเสวนา การประชุมประจำปีทาง มานุษยวิทยา ครั้งที่ 8 หน่วยงาน/องการค์: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, บทบาท: นักวิจัย - ผู้เขียน

- สนามแห่งสุ้มเสียงกับการทำงานของนักมานุษยวิทยาพื้นถิ่น, ผู้คน ดนตรี ชีวิต เล่ม 2 หนังสือรวมบทความและบทเสวนา การประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยา ครั้งที่ 8 หน่วยงาน/องค์การ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, บทบาท: นักวิจัย - ผู้เขียน

ปีพ.ศ. 2554

- งานวิจัยเรื่อง“บทเพลงแตรวงชาวบ้านในสังคมไทย”โครงการวิจัยและสร้างสรรค์ประจำปีงบประมาณ2554 คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร หน่วยงาน/องค์การ: คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, บทบาท: นักวิจัย - ผู้เขียน

ปีพ.ศ. 2556

- การศึกษาวงดนตรีร่วมสมัยและผลงานดนตรีไทยร่วมสมัยในสังคมไทยปัจจุบันหน่วยงาน/องค์การ:สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย, บทบาท: นักวิจัย - ผู้เขียน

- บทความ “เครือญาติดนตรี วิถีอาเซียน” ตีพิมพ์ใน Bangkok Music Forum: ASEAN Overture เปิดประตูสู่อาเซียน สีสันของดนตรีในอุษาคเนย์” หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานครวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 หน่วยงาน/องค์การ: หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร, บทบาท: ผู้เขียน

- Background and development of the music and dances related to the Panji/Inao stories. Seminar and Performances of a Shared Heritage: The Panji/Inao Traditions in Southeast Asia. SEAMEO SPAFA. 2 March 2013

- ชุดงานวิจัยดนตรี ดุริยะแห่งรัตนโกสินทร์ มูลนิธิหอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ส่วนงานศึกษา บันทึกและจัดเก็บองค์ความรู้ สำหรับหอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 โครงการอัครดุริยะศิลปินราชสดุดี 84 พรรษา ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยทั้งสิ้น 14 หัวข้อย่อย และงานบันทึกเสียง-ภาพยนตร์ ระหว่างปี 2555-2557 บทบาท: นักวิจัย - ผู้เขียน

ปีพ.ศ. 2557

- บทความ Overview of Thai Music (2 ภาษา ภาษาอังกฤษและภาษาเกาหลี) ตีพิมพ์ในงานประชุมเชิงปฏิบัติการศิลปวัฒนธรรมนานาชาติ จัดโดยมูลนิธิศิลปการแสดงแห่งชาติเกาหลีใต้ กระทรวงวัฒนธรรมการกีฬา และการท่องเที่ยว หน่วยงาน/องค์การ: Korean Traditional Performing Arts Foundation, Ministry of Culture, Sports and Tourism. June 13-15, 2014, บทบาท: ผู้เขียน

- บทความ “ศตวรรษดุริยบรรณ วันวานไม่หวนคืน” ตีพิมพ์ในวารสารดุริยวาทิต ฉบับมกราคม-ธันวาคม 2557 มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา หน่วยงาน/องค์การ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, บทบาท: ผู้เขียน

- บทความ A Century of Duriyabaan (1914 - 2014), More Than Just the Forgotten Old Thai Music Store นำเสนอในงานประชุมวิชาการนานาชาติแห่งภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก The 18th International Conference of the Asia-Pacific Society for Ethnomusicology (APSE), January 7-9, 2014 หน่วยงาน/องค์การ: วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, บทบาท: ผู้เขียน

- บทความ Wai Kru Dontree: the Great Passage of Thai Traditional Music Education (2 ภาษา ภาษาอังกฤษและภาษาเกาหลี) ตีพิมพ์ในงานประชุมวิชาการดนตรีศึกษาเอเชีย Vision and Strategy to Strengthen the Educational Capability of Asian Tritional Art จัดโดย The Society of Study for Korean Music Education ณ Seoul Center for Inportant Intangible Cultual Asset. April, 2014, หน่วยงาน/องค์การ: The Society of Study for Korean Music Education, Seoul Center for Important Intangible Cultual Asset. บทบาท: ผู้เขียน

ปีพ.ศ. 2558

- งานวิจัย “ศตวรรษของดุริยบรรณกับบทบาทเด่นในการพัฒนาสังคมวัฒนธรรมดนตรีไทย” ทุนอุดหนุนการวิจัยวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ 2558 หน่วยงาน/องค์การ: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม, บทบาท: นักวิจัย - ผู้เขียน

- บทความ “Bamboo Music Culture in Thailand” และบทความ Royal Court Music and Laos and Myanmar งานประชุมวิชาการนานาชาติ ดนตรีราชสำนักและดนตรีไม้ไผ่แห่งเอเชีย หน่วยงาน/องค์การ: International Symposium “court Music and Bamboo Culture in Asia”, Kunitachi College of Music, Tokyo, Japan 20 - 21 November, 2015, บทบาท: นักวิจัย - ผู้เขียน

ปีพ.ศ. 2559

- บทความ The Forgotten Artist “Chang” (The Musical Instrument Creator) งานประชุมวิชาการนานาชาติ The 2nd Chula International Music Conference and Cultural Performance: The Panchromatic Music of the Asia Pacific Cultural Horizon “Asian Organology” ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 15-16 มกราคม 2559 หน่วยงาน/องค์การ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บทบาท: ผู้เขียน

- บทความ “การศึกษาดนตรีไทยร่วมสมัยและผลงานดนตรีไทยร่วมสมัยในปัจจุบัน” การประชุมวิชาการและ เสนอผลงานวิจัยและ สร้างสรรค์ระดับชาติและนานาชาติ ในงานศิลปากรวิจัยและสร้างสรรค์ ครั้งที่ 9 บูรณา การศาสตร์และศิลป์ จัดโดยมหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ณ มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม 17 กุมภาพันธ์ 2559 หน่วยงาน/องค์การ: คณะกรรมการการอุดมศึกษา, บทบาท: ผู้เขียน

- บทความ “Sounding Treasures: David Morton’s 1960s Thailand Field Recording of Significant Compositions by Luang Pradithphairoh (Sorn Silpabanleng)” งานประชุมวิชาการของสมาคมมานุษยวิทยาดนตรี The 50th Anniversary of the Society for Ethnomusicology. 4-6 March, 2016 ณ University of California, Los Angeles, USA หน่วยงาน/องค์การ: The 50th Anniversary of the Society for Ethnomusicology. 4-6 March, 2016 ณ University of California, Los Angeles, USA บทบาท: ผู้เขียน

ผู้เผยแพร่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
รูปแบบลิขสิทธิ์สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons)
คำสำคัญมานุษยวิทยาการดนตรี
ผู้จัดทำศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
ผู้ร่วมงานอื่นๆ

แหล่งที่มาข้อมูล

เว็บไซต์ https://www.anantn.com

เว็บไซต์ https://www.music.su.ac.th/team/อาจารย์-อานันท์-นาคคง.