บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกทั้งยังดำรงตำแหน่ง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ เชี่ยวชาญและสนใจในประเด็น ประวัติศาสตร์การเมืองไทยและรัฐธรรมนูญ ทฤษฎีวัฒนธรรมศึกษา (Cultural Studies) การเมืองวัฒนธรรม ทฤษฎีการเมือง แนวคิดวัฒนธรรมและศิลปะร่วมสมัย แนวคิดเชิงสร้างสรรค์

732 views


ประวัติส่วนตัว/ประวัติการทำงาน
  • รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • หัวหน้ากองบรรณาธิการ วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • Fellow ของ Salzburg Global Seminar (2022)
  • เคยดำรงตำแหน่งรองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และรองคณบดีฝ่ายวิชาการ ฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ (คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง) เป็นกรรมาธิการในสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, คณะอนุกรรมการวิเคราะห์สถานการณ์ กฎหมายและสังคม, คณะอนุกรรมการส่งเสริมความรู้เพื่อความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย, คณะอนุกรรมการสื่ออิเล็คทรอนิคส์ 2556 ร่วมรณรงค์ร่วมกับกลุ่มสันติประชาธรรมและสมัชชาปกป้องประชาธิปไตย (สปป.) 2556-2557 เคยเป็นกรรมาธิการในคณะอนุกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริง, คณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองและสมานฉันท์ 2553-2554
  • ภัณฑารักษ์ร่วม (2554) ใน ศาลาไทย THAI PAVILION, 53TH VENICE BIENNALE (2011), VENICE, ITALY
  • บัณฑิตเคยเป็นนักวิจัยอาคันตุกะ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมแห่งเอเชียและอาฟริกา (Research Institute for Languages and Cultures of Asia and Africa (ILCAA), Tokyo University of Foreign Studies,กันยายน-ธันวาคม 2558 และทุน US-ASEAN Visiting Scholar 2014, Fulbright Scholarship Program และ นักวิจัยอาคันตุกะ, Visiting Scholar, Thai Studies Program, Harvard University, พฤศจิกายน 2557-มีนาคม 2558
ประวัติการศึกษา

ปริญญาเอก : Ph.D.Political Science (University of Hawaii)
ปริญญาโท : ร.ม.การปกครอง (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
ปริญญาตรี : ศ.บ.การคลัง (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

ตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
หน่วยงานที่สังกัดปัจจุบันคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อีเมลpanditc@gmail.com
ประเด็นการศึกษาที่เชี่ยวชาญ/สนใจประวัติศาสตร์การเมืองไทยและรัฐธรรมนูญ, ทฤษฎีวัฒนธรรมศึกษา, การเมืองวัฒนธรรม, ทฤษฎีการเมือง, แนวคิดวัฒนธรรมและศิลปะร่วมสมัย, แนวคิดเชิงสร้างสรรค์, การบรรณาธิกรณ์และจัดการสิ่งพิมพ์วารสารวิชาการ, ภัณฑารักษ์อิสระ
ผลงานวิชาการที่สำคัญ

หนังสือ

  • บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ. 2565. การเมืองทัศนา:ว่าด้วยการเมือง อำนาจ ศิลปะและการมองเห็นสู่ความหมายทางวัฒนธรรม. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์สมมติ.
  • บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ (แปล). (2564). การลุกขึ้นสู้เพื่อประชาธิปไตย 18 พฤษภาคม. กรุงเทพฯ : คอมม่อนบุ๊คส์ โดยการสนับสนุนของมูลนิธิรำลึก 18 พฤษภาคม (May 18 Memorial Foundation, Republic of Korea).
  • บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ. (2563). ก่อนฤดูใบไม้ผลิจักมาถึง. กรุงเทพฯ : แผนสำเร็จ.
  • บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ. (2563). การเมืองไทยร่วมสมัย. พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
  • บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ. (2560). การเมืองไทยร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า, 2560.
  • บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ (แปล). (2558). 18 พฤษภาคม การลุกขึ้นสู้เพื่อประชาธิปไตยที่เมืองกวางจู. กรุงเทพฯ : May 18 Memorial Foundation (มูลนิธิรำลึก 18 พฤษภาคม).
  • บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ. (2558). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย: ความเป็นมาและสาระสำคัญ. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
  • บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ. (2549). รัฐธรรมนูญสถาปนา: ชีวิตและชะตากรรมของประชาธิปไตยในวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิภาษา.

ตำรา

  • บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ. “หน่วยที่ 7 รัฐกับสังคม”. เอกสารการสอนชุดวิชาการเมืองเปรียบเทียบ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560.
  • บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ. “หน่วยที่ 3 แนวคิดทฤษฎีเศรษฐกิจเสรีนิยมจากมุมมองทางการเมือง”. เอกสารการสอนชุดวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557.
  • บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ. “หน่วยที่ 5 เผด็จการอำนาจนิยมเบ็ดเสร็จ”. เอกสารการสอนชุดวิชาอุดมการณ์ทางการเมืองและสังคม. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556. .

บทความวิจัยในวารสาร

  • Pandit Chanrochanakit. 2021. “Deformed Constitutionalism: Thai-style Judicialization and the Problem of Parliamentary Supremacy. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์. ปีที่ 12 ฉบับเพิ่มเติม 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2564).
  • Pandit Chanrochanakit. 2011. “Deforming Thai Politics: As Read through Thai Contemporary Art,” Third Text, Vol. 25, Issue 4, July, 2011, 419-429.

บทความวิจัยใน Monograph, Book Series

  • บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ. การสร้างความรับรู้ความเป็นไทยและการเมืองในศิลปะร่วมสมัยของไทย: ศิลปะกับการเมืองที่ไร้ฝ่ายก้าวหน้า. ใน ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร (บรรณาธิการ). กรุงเทพ: โครงการเมธีวิจัยอาวุโส วิจัยกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 2560.
  • บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ. “คืนการเมืองให้ศิลปะ”. ทฤษฎีกับการวิจารณ์ศิลปะ: ทัศนะของนักวิชาการไทย. รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ (บรรณาธิการ). กรุงเทพ: โครงการวิจัย เครือข่ายการวิจัยศิลปะ: การวิจัยและพัฒนา กองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 2560.

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

  • บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ และคณะ. (2563). โครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ 20 ปี ของสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชชน) (สพพ.). กรุงเทพ: คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  • บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ. (2562).“การสร้างความรับรู้ความเป็นไทยและการเมืองในศิลปะร่วมสมัยของไทย: ศิลปะกับการเมืองที่ไร้ฝ่ายก้าวหน้า. โครงการเมธีวิจัยอาวุโส ศ. ดร. ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
  • บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ. (2559). การเมืองของสถาบันการเมืองไทยในรอบทศวรรษ พ.ศ. 2549-2559: ทศวรรษของการผิดรูปของแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยม: ตุลาการภิวัฒน์แบบไทยและ ปัญหาเรื่องอำนาจสูงสุดของรัฐสภา. งานวิจัยโดยได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  • บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ. (2558). บทบาทของคณะกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริง: ศึกษาเปรียบเทียบในกลุ่มประเทศอาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลี. รายงานวิจัยสนับสนุนโดยมหาวิทยาลัยรามคำแหง.
  • บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ. (2557). การเมืองของสุนทรียศาสตร์ของจิตรกรรมฝาผนังโดยขรัวอินโข่งและภาวะสมัยใหม่ของศิลปะไทย. โครงการเมธีวิจัยอาวุโส ศ. ดร. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
  • บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ และคณะ. (2556). (ในนามคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง). รายงานวิจัยเรื่อง การศึกษาเพื่อแสวงหาคำตอบทางวิชาการในประเด็นแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550. รายงานวิจัยนำเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ. ) กระทรวงศึกษาธิการ.
  • บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ และคณะ. (2553). รายงานวิจัยเรื่องการสร้างกลไกเพื่อส่งเสริมสุขภาวะ ทางสังคมในการร่วมตัดสินใจของประชาชนในระดับท้องถิ่น. สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
  • บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ. (2549). ชีวประวัติธรรมนูญการปกครองและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2475-2520. โครงการเมธีวิจัยอาวุโส ศ. รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
  • บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ. (2548). พิพิธภัณฑาภิบาล: แนวทางการบริหารและจัดการพิพิธภัณฑ์และหอศิลปะร่วมสมัย. รายการวิจัยทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ 2548, 2548.
ผู้เผยแพร่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
รูปแบบลิขสิทธิ์สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons)
ผู้จัดทำศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)