สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง

อาจารย์ประจำภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรผลงานสำคัญ อาทิ โบราณคดีเมืองนครปฐม: การศึกษาอดีตของศูนย์กลางแห่งทวารวดี, ทวารวดี: ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล, ภาพวิถีชีวิต (อันพร่ามัว) ของชาวทวารวดีที่เมืองนครปฐมโบราณ

1045 views


ประวัติส่วนตัว/ประวัติการทำงาน
ประวัติการทำงาน
  • พ.ศ. 2548 พนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งอาจารย์ประจำภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร (วังท่าพระ) บรรจุเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม
  • พ.ศ. 2551 ลาศึกษาต่อระดับปริญญาเอก (ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2551 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554)
  • พ.ศ. 2554 กลับเข้าปฏิบัติราชการ วันที่ 20 พฤษภาคม
  • พ.ศ. 2555 ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม
  • พ.ศ. 2559 ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน
งานบริหาร
  • กรรมการที่ปรึกษาฝ่ายกิจการนักศึกษาคณะโบราณคดี ประจำปีการศึกษา 2550
  • ปี พ.ศ. 2554 – กันยายน พ.ศ. 2556 เลขานุการภาควิชาโบราณคดี
  • ปีการศึกษา 2554 – ปัจจุบัน กรรมการที่ปรึกษาฝ่ายกิจการนักศึกษาคณะโบราณคดี
  • ปีการศึกษา 2555 อาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการ นักศึกษาปริญญาตรีที่เข้าศึกษา
  • พ.ศ. 2557 รักษาราชการแทนหัวหน้าภาควิชาโบราณคดี ลำดับที่ 1
  • พ.ศ. 2558 หัวหน้าภาควิชาโบราณคดี ตั้งแต่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2557 – 1 พฤศจิกายน
  • พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน รักษาราชการแทนหัวหน้าภาควิชาโบราณคดี ลำดับที่ 1
วิชาที่สอนในคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

ระดับปริญญาตรี

  • โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ในประเทศไทยก่อนพุทธศตวรรษที่ 19
  • โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ในประเทศไทยโดยสังเขป
  • โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • อารยธรรมโลก

ระดับปริญญาโท-เอก

  • โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
  • โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ในประเทศใกล้เคียง 1
  • การใช้เอกสารโบราณประกอบวิชาโบราณคดี
  • สัมมนาโบราณคดสีมัยประวัติศาสตร์ในประเทศไทยก่อนพุทธศตวรรษที่ 19
การบริการทางวิชาการ
  • วิทยากรบรรยายพิเศษเรื่อง “ทับหลังศิลปะเขมร” ในวันอังคารที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2549 จัดโดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี ในโครงการอบรมพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่บุคลากรพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ ปี 2549
  • วิทยากรบรรยายเรื่อง “ร่างแนวทางการกำหนดเขตคุ้มครองสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมและมาตรการในพื้นที่เมืองชัยบุรี” ในการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของชุมชน ในการกำหนดเขต คุ้มครองสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม ในพื้นที่นำร่อง (เมืองชัยบุรี) จังหวัดพัทลุง ในวันเสาร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 จัดโดย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • วิทยากรบรรยายพิเศษในหัวข้อ “การใช้โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมล้านนา กับการท่องเที่ยวภาคเหนือ” ในวันเสาร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2550 จัดโดย วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง สำหรับรายวิชา ป.345 ประวัติศาสตร์ไทยเพื่อการท่องเที่ยว ตามหลักสูตรปริญญาตรี สาขาสหวิทยาการสังคมศาสตร์
  • วิทยากรบรรยายพิเศษในหัวข้อ “การใช้โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมล้านนา กับการท่องเที่ยวภาคเหนือ” ในวันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2550 จัดโดย วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง สำหรับรายวิชา ป.345 ประวัติศาสตร์ไทยเพื่อการท่องเที่ยว ตามหลักสูตรปริญญาตรี สาขาสหวิทยาการสังคมศาสตร์
  • คณะทำงานในการจัดทำเอกสาร “มาตรฐานการดูแลโบราณสถาน” เสนอต่อกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ปี พ.ศ. 2550
  • วิทยาการบรรยายหัวข้อ “ศึกษามนุษย์ ขุดค้นอดีต กับงานโบราณคดี”, ”กรุงเทพฯ ใน อดีตจากหลักฐานทางโบราณคดี” และ “การเตรียมตัวเป็นนักโบราณคดี” ในโครงการ เสวนาสรรสาระวัฒนธรรม (ปีที่ 9) ระหว่างวันที่ 26 - 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 จัดโดย คณะ โบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • วิทยากรบรรยายหัวข้อ “ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดนครปฐม” ใน โครงการอบรมความรู้เรื่อง “ศิลปวัฒนธรรมในจังหวัดนครปฐมและจังหวัดใกล้เคียง” เพื่อการ เรียน การสอนระดับมัธยมศึกษา วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553 ณ ห้องประชุมคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดโดย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • วิทยากรบรรยายหัวข้อ “โบราณคดีทวารวดี: ข้อมูลใหม่จากการขุดค้นเมืองนครปฐม และเมืองขีดขิน” ในโครงการ “วัฒนธรรมเสวนา” ครั้งที่ 7 วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 จัดโดย คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • วิทยากรบรรยายหัวข้อ “โบราณคดีเมืองสิงห์บุรี: สมัยทวารวดี” ในโครงการพัฒนา ศักยภาพของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการท่องเที่ยว วันที่ 23 – 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ณ ห้อง ประชุมวัดหน้าพระธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี จัดโดย สาขาวิชาการท่องเที่ยวและ การโรงแรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • วิทยากรบรรยายหัวข้อ “ประวัติศาสตร์ไทยเพื่อการท่องเที่ยว” โครงการอบรมมัคคุเทศก์ทั่วไป (ต่างประเทศ) รุ่นที่ 37/2554 วันที่ 16 ตุลาคม 2554 จัดโดย สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ประวัติการศึกษา

2554 ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

2548 ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ประวัติศาสตร์ศิลปะ) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

2546 ศิลปศาสตรบัณฑิต (โบราณคดี) เกียรตินิยมอันดับ 1 คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

ตำแหน่งทางวิชาการรองศาสตราจารย์
หน่วยงานที่สังกัดปัจจุบันภาควิชาการโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
อีเมลs_khunsong13@hotmail.com
ประเด็นการศึกษาที่เชี่ยวชาญ/สนใจโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์, ประวัติศาสตร์ศิลปะ
ผลงานวิชาการที่สำคัญ
ประวัติการเสนอผลงานวิชาการ
งานวิจัย
  • คณะทำงานในโครงการบูรณะปรับปรุงภูมิทัศน์และคุ้มครองโบราณสถานลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา : การจัดแนวทางและมาตรการการกำหนดเขตคุ้มครองสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม เสนอต่อ
  • สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (พ.ศ. 2549)
  • งานวิจัยเรื่อง “ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างรัฐโอริสสากับประเทศไทย : ศึกษาจากหลักฐานทางโบราณคดี” เสนอต่อ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (พ.ศ. 2551) ภายใต้โครงการความร่วมมือทางวิชาการทางด้านสังคมศาสตร์ระหว่างไทย-อินเดีย NRCT-ICSSR) โดยได้รับทุนอุดหนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2549 จำนวน 21,000 บาท
  • งานวิจัยเรื่อง “พัฒนาการของเมืองอู่ทองจากหลักฐานทางโบราณคดี” เสนอต่อ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีงบประมาณ 2557 จำนวน 100,000 บาท

งานประชุมสัมมนา
  • เสนอบทความเรื่อง “Kishkindha : Moated site in central Thailand” ในการ สัมมนาเรื่อง “Circular earthworks sites and the culture of the people who occupied these sites” จัดโดย Royal Academy of Cambodia, International Relations Institute of Cambodia ระหว่างวันที่ 3 - 4 มีนาคม พ.ศ. 2550
  • เสนอบทความเรื่อง “Cave Temples in Thailand during 6th-11th Century A.D.” ในการสัมมนาเรื่อง “ความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทย-อินเดีย ครั้งที่ 3 (The 3rd Seminar on Indo-Thai Historical and Cultural Linkages) จัดโดย สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี เนื่องในโอกาสการฉลองความสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและอินเดีย ครบรอบ 60 ปี ระหว่างวันที่ 10 - 11 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย
  • เสนอบทความเรื่อง “ประติมากรรมศาสนาพราหมณ์ที่เมืองนครปฐมโบราณ” ในการ ประชุมทางวิชาการด้านโบราณคดี พิพิธภัณฑ์ศึกษา และการจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม เรื่อง “งานโบราณคดีใต้ร่มพระบารมีปกเกล้า” จัดโดย ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ระหว่างวันที่ 13 - 15 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  • เสนอบทความเรื่อง “Archaeological Excavation at Kishkindha: a Dvaravati city in Central Thailand” ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “12th International Conference European Association of Southeast Asian Scholars (EurASEAA12)” จัดโดย International Institute for Asian Studies (IIAS) ระหว่างวันที่ 1 - 5 กันยายน พ.ศ. 2551 ที่ มหาวิทยาลัยไลเดน ประเทศเนเธอร์แลนด์
  • เสนอบทความเรื่อง “วัฏจักรแห่งความทรงจำ: กรณีศึกษางานโบราณคดีเมืองนครปฐม” ในงานสัมมนา ความทรงจำ ปัจฉิมลิขิตของการลืม จัดโดย ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะ โบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ระหว่างวันที่ 1 – 2 เมษายน พ.ศ. 2553 ณ หอประชุม 305 มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • เสนอบทความเรื่อง “สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพกับโบราณคดี “ทวารวดี” ที่เมืองนครปฐม” ในการสัมมนาวิชาการเรื่อง “150 ปี สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพกับ พัฒนาการโบราณคดีไทย” จัดโดย ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วันที่ 21 มิถุนายน 2555 ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพมหานคร
  • เสนอบทความในฐานะองค์ปาฐก (Keynote speaker) เรื่อง “Infant Burial of PreDvaravati Period: New Data from 2015 Excavation at U-Thong, Central Thailand” ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ 2nd SEAMEO-SPAFA International Conference for Southeast Asian Archaeology วันที่ 31 พฤษภาคม 2559 ณ โรงแรมอมารี กรุงเทพมหานคร
  • เสนอบทความเรื่อง “Ancient City of U-Thong: Cultural Development and Its Importance” ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติเชิดชูเกียรติศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี ครั้งที่ 1 เรื่องโบราณคดีอาเซียนในศตวรรษที่ 21 จัดโดย ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัย ศิลปากร วันที่ 17 พฤศจิกายน 2559 ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพมหานคร

หนังสือ
  • วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร ต.บ้านเลน อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: เทศบาลตำบลบ้านเลน, 2550. (เรียบเรียงร่วมกับ นายยงยุทธ หมอยาดี โดยมี นายอเนก สีหามาตย์ เป็นบรรณาธิการ)
  • โบราณคดีเมืองนครปฐม: การศึกษาอดีตของศูนย์กลางแห่งทวารวดี. กรุงเทพฯ: ภาควิชา โบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2557.
  • เมืองโบราณอู่ทอง: บรรณนิทัศน์ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี. กรุงเทพฯ: ภาควิชา โบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2558.
  • ทวารวดี: ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล. กรุงเทพฯ: ภาควิชาโบราณคดี คณะ โบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2558.
  • โบราณคดีเมืองนครปฐม: การศึกษาอดีตของศูนย์กลางแห่งทวารวดี. พิมพ์ีครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2559.
  • เมืองโบราณอู่ทอง: ผลการขุดค้นทางโบราณคดีที่เนินพลับพลา ปี 2558. กรุงเทพฯ: ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2559.
  • เมืองโบราณอู่ทอง: รายงานสรุปผลการขุดศึกษาโบราณสถานที่เนินพลับพลาในปี 2560. กรุงเทพฯ: ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2560.

บทความ
  • “การประดับภาพกองทัพมารที่ฐานของพระพุทธรูปในศิลปะอยุธยา.” วารสารดำรง วิชาการ ปีที่ 3, ฉบับที่ 6 (ก.ค. – ธ.ค. 2547): หน้า 10 - 27.
  • “ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับพระพุทธรูปประดิษฐานในจระนำซุ้มที่ฐานเจดีย์เหลี่ยม เวียงกุมกาม.” วารสารดำรงวิชาการ ปีที่ 5, ฉบับที่ 2 (ก.ค. – ธ.ค. 2549): หน้า 31 - 45.
  • “ปรางค์แขกเมืองลพบุรี: ปราสาทแบบขอมที่เก่าที่สุดในภาคกลางของประเทศไทย.” วารสารเมืองโบราณ ปีที่ 32, ฉบับที่ 3 (ก.ค. – ก.ย. 2549): หน้า 102 - 113.
  • “บ้านวิชาเยนทร์: การขุดค้นทางโบราณคดีครั้งล่าสดุ.” วารสารเมืองโบราณ ปีที่ 32, ฉบับ ที่ 4 (ต.ค. – ธ.ค. 2549): หน้า 16 - 17.
  • “การสัมมนาเรื่องเมืองโบราณผังกลมที่กัมพูชา.” วารสารเมืองโบราณ ปีที่ 33, ฉบับที่ 3 (ก.ค. – ก.ย. 2550): หน้า 17 - 18.
  • “ความรู้เบื้องต้นทางโบราณคดีที่เมืองขีดขิน.” วารสารเมืองโบราณ ปีที่ 33, ฉบับที่ 4 (ต.ค. – ธ.ค. 2550): หน้า 21 - 23.
  • “ความสัมพันธ์ไทย-อินเดีย: ศึกษาจากถ้ำศาสนสถานระยะแรกในประเทศไทย.” วารสาร ดำรงวิชาการ ปีที่ 6, ฉบับที่ 2 (ก.ค. – ธ.ค. 2550): หน้า 40 - 60.
  • “โบราณคดีครัวเรือนในพื้นที่กระทรวงพาณิชย์(เดิม).” วารสารดำรงวิชาการ ปีที่ 7, ฉบับ ที่ 2 (ก.ค. – ธ.ค. 2551): หน้า 78 - 95.
  • “เก็บตกจากการประชุมด้านโบราณคดีที่เมืองไลเดน ประเทศเนเธอร์แลนด์.” วารสารเมือง โบราณ ปีที่ 35, ฉบับที่ 1 (ม.ค. – มี.ค. 2552): หน้า 16 - 17.
  • “ทับหลังของปรางค์แขกเมืองลพบุรีหายไปไหน?.” วารสารเมืองโบราณ ปีที่ 35, ฉบับที่ 2 (เม.ย. – มิ.ย. 2552): หน้า 118 - 123.
  • “L'art rupestre.” in Dvâravatî aux sources du bouddhisme en Thaïlande. Eds. Pierre Baptiste et Thierry Zéphir. Paris: Musee Guimet, 2009. p. 228 - 233.
  • “วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ: ภาพสะท้อนพัฒนาการของเมืองเก่าลพบุรี.” วารสารเมือง โบราณ ปีที่ 36, ฉบับที่ 3 (ก.ค. – ก.ย. 2553): หน้า 108 - 116.
  • “รัฐโอริสสา: ย่านเมืองท่าการค้าโบราณชายฝั่งทะเลตะวันออกของอินเดีย.” วารสารดำรง วิชาการ ปีที่ 9, ฉบับที่ 2 (ก.ค. – ธ.ค. 2553): หน้า 263 - 277.
  • “แหล่งโบราณคดีหอเอก เมืองนครปฐมโบราณ: ผลการขุดค้นและการจัดลำดับอายุสมัย.” วารสารเมืองโบราณ ปีที่ 37, ฉบับที่ 1 (ม.ค. – มี.ค. 2554): หน้า 143 - 153.
  • “พัฒนาการทางวัฒนธรรมของเมืองนครปฐมโบราณ: ข้อมูลใหม่จากการขุดค้นที่ตำบล ธรรมศาลา.” วารสารดำรงวิชาการ ปีที่ 10, ฉบับที่ 1 (ม.ค. – มิ.ย. 2554): หน้า 224 - 245.
  • “เมืองขีดขิน งานโบราณคดีในปี 2554.” วารสารเมืองโบราณ ปีที่ 38, ฉบับที่ 1 (ม.ค. – มี.ค. 2555): หน้า 151 - 161.
  • “Excavation of Pre-Dvaravati site at Hor-Ek in ancient Nakhon Pathom.” Journal of the Siam Society Vol.99 (2011): p.150 – 171.
  • “กระเบื้องดินเผาสมัยทวารวดี: ข้อมูลใหม่จากการขุดค้นที่เมืองนครปฐมโบราณ.” วารสาร หน้าจั่ว ฉบับที่ 9 (ก.ย. 2555 – ส.ค. 2556): หน้า 303 – 314.
  • “ภาพวิถีชีวิต (อันพร่ามัว) ของชาวทวารวดีที่เมืองนครปฐมโบราณ.” วารสารเมืองโบราณ ปีที่ 38, ฉบับที่ 4 (ต.ค. – ธ.ค. 2555): หน้า 78 - 89.
  • “ร่องรอยศาสนาพราหมณ์ ณ เมืองศูนย์กลางของวัฒนธรรมทวารวดี.” นิตยสารศิลปากร ปีที่ 56, ฉบับที่ 4 (ก.ค. – ส.ค. 2556): หน้า 56 – 67.
  • “การค้าระหว่างประเทศสมัยทวารวดี: มุมมองจากงานโบราณคดีเมืองนครปฐม.” วารสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร 34, 1 (2557): หน้า 9 – 29.
  • “นครปฐม: เมืองท่าอันประเสริฐสมัยทวารวดีและประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทาง ทะเล.” วารสารเมืองโบราณ ปีที่ 41, ฉบับที่ 4 (ต.ค. – ธ.ค. 2558): หน้า 37 - 52.
  • “Infant Burial of Pre-Dvaravati Period: New Data from 2015 Excavation at U-Thong, Central Thailand” in Advancing Southeast Asian Archaeology 2016: Selected Papers from the Second SEAMEO-SPAFA International Conference for Southeast Asian Archaeology, p. 1-11. ed. By Noel Hidalgo Tan. Bangkok: SEAMEOSPAFA Regional Center for Archaeology and Fine Arts, 2018.
ผู้เผยแพร่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
รูปแบบลิขสิทธิ์สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons)
ผู้จัดทำศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)